รวมรายละเอียด นโยบายพรรคเพื่อไทยสำหรับผู้สูงอายุ มีสิทธิ และสวัสดิการอะไรบ้าง 

เปิดนโยบาย และสวัสดิการของผู้สูงอายุ จากพรรคเพื่อไทยที่มี นาย เศรษฐา ทวีสิน เป็นว่าที่นายกรัฐมนตรีคนที่ 30 หลังจากการโหวตนายกฯ รอบ 3 มีมติเป็นเอกฉันท์ โดยนโยบายผู้สูงอายุเหล่านี้มีโอกาสที่จะนำมาใช้บริหารประเทศในอนาคต

พรรคเพื่อไทย มีนโยบายสำหรับผู้สูงอายุอยู่มากมายที่น่าสนใจในหลายด้าน เช่น สาธารณสุข การเกษตร เศรษฐกิจ ที่ดิน และสิทธิมนุษยชน เป็นต้น เป็นสิ่งที่น่าสนใจต่ออนาคตผู้สูงอายุในประเทศไทยเป็นอย่างมากว่าหลังจากที่พรรคเพื่อไทยดำเนินการจัดตั้งรัฐบาลแล้ว จะเดินหน้าพัฒนานโยบายเหล่านี้ต่อไปได้อย่างไร และส่งผลดีต่อชีวิตผู้สูงวัยมาก หรือน้อยแค่ไหน

(ซ้าย) แพทองธาร ชินวัตร และ (ขวา) เศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกฯ พรรคเพื่อไทย
(ซ้าย) แพทองธาร ชินวัตร และ (ขวา) เศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกฯ พรรคเพื่อไทย

...

นโยบายพรรคเพื่อไทยสำหรับผู้สูงอายุ

นโยบายสำหรับผู้สูงอายุ ด้านสาธารณสุข

เรื่องสุขภาพของผู้สูงอายุเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ควรเร่งพัฒนา และดูแลให้อย่างทั่วถึง เพราะผู้สูงอายุนั้นเป็นวัยที่เข้าออกโรงพยาบาลบ่อยกว่าวัยอื่นๆ รวมทั้งการจัดระบบสาธารณสุข ระบบการทำงาน ให้สะดวกสบาย และดูแลผู้สูงอายุอย่างทั่วถึงมากขึ้น

ยกระดับ 30 บาทรักษาทุกโรค 

  • บัตรประชาชนใบเดียวสามารถรักษาได้ทั่วไทย นัดคิวออนไลน์ ไม่ต้องรอคิวนาน ตรวจเลือดคลินิกใกล้บ้าน 
  • รักษา และจ่ายยาออนไลน์ ลดภาระของผู้ป่วย และบุคลากรทางการแพทย์ 
  • Mental Health สุขภาพจิตคนไทยจะไม่ถูกละเลย มีการให้คำปรึกษาจากจิตแพทย์ และนักจิตวิทยาคลินิก ทั้งที่โรงพยาบาลและผ่านระบบ Telemedicine ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ง่าย
  • ส่งเสริมให้มีสถานชีวาภิบาล ไร้กังวลสำหรับผู้ป่วยติดเตียงซึ่งดีต่อผู้สูงอายุ ร่วมมือทั้งภาครัฐ และเอกชน สนับสนุนงบประมาณโดย สปสช. 
  • กรุงเทพมหานคร มีโรงพยาบาลประจำเขตครบทั้ง 50 เขต สะดวกสบายต่อการติดต่อ และการเข้ารักษา

นโยบายสำหรับผู้สูงอายุ ด้านเศรษฐกิจ

เศรษฐกิจเป็นอีกเรื่องสำคัญต่อปากท้องคนไทยทั่วประเทศ รวมทั้งผู้สูงอายุที่หลังจากเกษียณอายุ ก็ยังต้องมีรายได้เพื่อใช้ชีวิตประจำวัน โดยพรรคเพื่อไทยมีแนวคิดในการ “เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ขยายโอกาส” ตั้งเป้าทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ GDP เติบโตเฉลี่ยอย่างต่ำปีละ 5% โดยพรรคเพื่อไทยใช้แนวคิด รดน้ำที่ราก เพื่อให้ต้นไม้งอกงามทั้งต้น ส่งผลต่อเศรษฐกิจต่อกลุ่มคนทุกวัย

คนไทย ไม่จนอีกต่อไป ทุกครอบครัวมีรายได้ ไม่น้อยกว่า 20,000 บาท ต่อเดือน

  • ลดช่องว่างรายได้คนไทยในทุกระดับ ให้ทุกคนมีรายได้เพียงพอ
  • สำรวจในทุกครัวเรือนทั่วทั้งประเทศเพื่อตรวจสอบรายได้และศักยภาพของประชาชนเพื่อให้ครอบครัวได้รับการดูแลอย่างทั่วถึงพร้อมไปกับการสร้างรายได้ผ่านมาตรการต่างๆ ที่สำคัญคือ นโยบาย 1 ครอบครัว 1 ศักยภาพ 
  • หากรายได้ของครัวเรือนต่ำกว่า 20,000 บาท ต่อเดือนก็จะได้รับการเติมให้ครบ 20,000 บาท จนกว่าครอบครัวจะมีรายได้เพียงพอ 
  • ผู้จะรับสิทธิ์ต้องลงทะเบียนผ่านระบบบนแพลตฟอร์ม Learn to Earn เพื่อเสริมทักษะ และหางาน 
  • มีการลงทะเบียน และอัปเดตข้อมูลทุก 6 เดือนเพื่อดึงคนเข้าระบบ ไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง และทำให้รัฐสามารถเข้าช่วยเหลือได้อย่างแม่นยำมากขึ้น

นโยบายสำหรับผู้สูงอายุ ด้านเกษตรกร

ปัญหาหนี้สินของเกษตรไทยยังคงน่าเป็นห่วง ซึ่งโดยกลุ่มผู้ประกอบอาชีพนี้มีอยู่ 40% และมีประชากรผู้สูงวัยอยู่มาก ซึ่งรายได้นั้นเพียงประมาณ 8% ของ GDP เหตุจากการแก้ปัญหาในภาคเกษตรไม่ถูกจุด จึงทำให้เกษตรกรไทยอยู่ในวงเวียนวัฏจักรของความยากจน 

เพิ่มรายได้เกษตร รายได้ของเกษตรกรจะเพิ่มเป็น 3 เท่า ภายในปี 2570  จากรายได้เฉลี่ย 10,000 บาท ต่อไร่ต่อปี เพิ่มเป็น 30,000 บาท ต่อไร่ต่อปี ด้วยการพักหนี้เกษตรกร 3 ปี ทั้งต้น ทั้งดอกทันที เพื่อลดภาระในการทำมาหากินของพี่น้องเกษตรกร มุ่งสร้างรายได้ให้พี่น้องเกษตรกรเพิ่มขึ้น 3 เท่าภายใน 4 ปีด้วยหลัก “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” 

  • สร้างทางเลือกให้เกษตรกรเพื่อผลิตสิ่งที่ตลาดต้องการ เปิดตลาดใหม่เพิ่มโอกาสในการส่งออกสินค้าให้เกษตร 
  • ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่สร้างความแม่นยำในการเพาะปลูกเพื่อเพิ่มจำนวนและคุณภาพของผลผลิต
  • ใช้นวัตกรรม Blockchain เพื่อประกันราคาสินค้าเกษตรล่วงหน้า สร้างความเป็นธรรมให้เกษตรกรด้วยการให้ราคาผลผลิตที่เกษตรกรควรได้รับ 
  • การผ่าตัดภาคเกษตรเริ่มที่การ “เพิ่มอุปสงค์และปรับอุปทานภาคการเกษตร” นำนวัตกรรมมาสนับสนุน การเพิ่มผลิตภาพ การลดต้นทุน การแปรรูปสู่มูลค่าที่เพิ่มสูงขึ้น ตามแนวทาง 6 ประการ คือ ดินนำน้ำดี, มีสายพันธุ์, ยืนยันราคา, จัดหาแหล่งทุน, หนุนนำนวัตกรรม และจัดทำกรรมสิทธิ์ที่ดิน

...

เพิ่มโอกาสให้เกษตรกรมีทางเลือกใหม่ และมีขนาดของความต้องการสินค้าเกษตรชนิดต่างๆ มากขึ้น

  • ส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพร เพื่อนำไปสู่การแปรรูป และการสกัดสารสำคัญ ซึ่งมีประโยชน์สูง และมีมูลค่าสูง 
  • ส่งเสริมการเลี้ยงโค จากปริมาณความต้องการจากต่างประเทศในแถบเอเชียตะวันออกปีละกว่า 1 ล้านตัว และประเทศในแถบตะวันออกกลางปีละประมาณ 3 ล้านตัว และมีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี รวมทั้งปศุสัตว์อื่นได้แก่ แพะ แกะ ไก่งวง ฯลฯ และประมงน้ำจืดด้วย ซึ่งย่อมสร้างรายได้ต่อเนื่องไปยังเกษตรกรผู้ปลูกพืชอาหารสัตว์ เป็นวงกว้าง 
  • ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีการเกษตรแม่นยำ (Precision Agriculture) และปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อยกระดับการเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิต จนสามารถเปลี่ยนเกษตรดั้งเดิมเป็นการเกษตรก้าวหน้า

นโยบายสำหรับผู้สูงอายุ ด้านกรรมสิทธิ์ที่ดิน

ผู้สูงอายุบางท่านที่อยู่ในพื้นที่มาเป็นระยะเวลานาน ซึ่งส่วนใหญ่จะมีปัญหาการถูกเอารัด เอาเปรียบจากในพื้นที่ทำกิน ทางพรรคเพื่อไทยจึงมีนโยบายจัดทำกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อเร่งรัดการพิสูจน์สิทธิ์ให้ได้มาซึ่งโฉนด อย่างถูกต้อง และเป็นธรรมรวมทั้งยังจัดพื้นที่สาธารณะ หรือพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้งานเพื่อเพิ่มผลประโยชน์ให้แก่ประชาชนในภาคพื้นที่นั้นๆ ต่อสุขภาพประชาชน และผู้สูงวัยในพื้นที่ทุกคน โดยมีนโยบายการจัดการที่เกี่ยวข้องอยู่ 4 ข้อหลัก

  • เจตนารมณ์ของพรรคเพื่อไทยคือ ประชาชนทุกคนต้องมีที่ดินเป็นของตนเองเกษตรกรทุกครัวเรือนจะมี  ที่ดินทำกินอย่างพอเพียง โดยดำเนินการให้มีการออกโฉนด ให้กับประชาชน 50 ล้านไร่ โดยแปลงที่ดินที่มีความขัดแย้งไปเป็นพื้นที่ วนเกษตร ต้นไม้ทุกต้นมีราคา
  • ยุติความขัดแย้ง กับราษฎรรายเล็กรายน้อย ที่ถูกกล่าวหา เรื่องที่ดินที่อยู่อาศัย และที่ดินทำกิน เพื่อนำมาซึ่งความร่วมมือของราษฎร กับภาครัฐ 
  • เร่งรัดการพิสูจน์สิทธิ์ เพื่อให้ได้มาซึ่งโฉนด อย่างถูกต้องและเป็นธรรม ด้วยการใช้หลักฐานภาพถ่ายจากดาวเทียม และหลักฐานอื่นซึ่งเป็นที่ยอมรับของผู้เกี่ยวข้อง
  • นำที่ดินที่รัฐไม่ได้ใช้ประโยชน์เพิ่มผลประโยชน์ให้พี่น้องประชาชนด้วยการจัดที่ดินทำกินอันจะก่อประโยชน์ต่อทั้งเศรษฐกิจ และความสมดุลของระบบนิเวศเพิ่มปริมาณและคุณภาพของพื้นที่สีเขียวให้มีความอุดมสมบูรณ์และเพียงพอต่อความปลอดภัยทางด้านภูมิอากาศและความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน

...

มีนโยบายอีกมากมายจากทางพรรคเพื่อไทยที่มีความเกี่ยวเนื่องกับประชาชนทุกคน รวมไปถึงผู้สูงอายุ ที่ได้รับสิทธิ และมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมในทุกภาคส่วน

ข้อมูล : ptp (พรรคเพื่อไทย)

ภาพ : วัชรชัย คล้ายพงษ์