โรคร้ายที่ผู้สูงอายุควรระวัง สามารถพบได้บ่อยในช่วงฤดูร้อน อาจส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาวได้

ช่วงฤดูร้อนของประเทศไทยที่มีอุณหภูมิที่สูงขึ้นในเวลานี้ ด้วยสภาพอากาศที่ร้อนจัดทำให้เชื้อโรคและแบคทีเรียมีโอกาสเติบโตได้สูง รวมทั้งความร้อนอาจทำให้ระบบในร่างกายแปรปรวนได้ ผู้สูงอายุ (บุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป) จึงเป็นช่วงวัยที่ควรระวังเป็นพิเศษ

ความร้อนจึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ง่าย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นวัยที่มีภูมิต้านทานน้อยกว่าวัยอื่นๆ ผู้สูงอายุหรือผู้ดูแล ควรหมั่นสังเกตอาการ เพราะหากเจ็บไข้ได้ป่วยแล้ว มักจะส่งผลในระยะยาวต่อร่างกาย อีกทั้งยังใช้เวลารักษาที่ยาวนานกว่าช่วงวัยอื่นๆ

โรคในผู้สูงอายุที่ควรระมัดระวังในช่วง "ฤดูร้อน"

โรคลมแดด (ฮีตสโตรก)

หนึ่งโรคยอดฮิตในช่วงฤดูร้อน สาเหตุมาจากการอยู่ในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิสูงนานจนเกินไป ทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงกว่าปกติ และไม่สามารถที่จะขับอุณหภูมิออกจากร่างกายได้ ซึ่งอันตรายมากๆ ในผู้สูงอายุ เนื่องจากโรคลมแดดนั้นส่งผลกระทบโดยตรงไปถึงอวัยวะภายใน เช่น กล้ามเนื้อ หัวใจ สมอง ทำให้เมื่อเป็นโรคลมแดดแล้ว อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานอื่นๆ ในระบบร่างกาย ให้มีความผิดปกติจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ 

  • วิธีป้องกัน : ไม่ควรออกแดด หรือทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นระยะเวลานาน ในเวลาที่อากาศร้อนจัด และสวมใส่เสื้อผ้าที่โปร่งสบาย ไม่รัดมากจนเกินไป รวมทั้งดื่มน้ำให้เพียงพอ
ภาพ : istock
ภาพ : istock

...

ท้องเสีย อาหารเป็นพิษ

สาเหตุหลักมาจากแบคทีเรียและเชื้อไวรัสที่เจริญเติบโตได้ง่ายในช่วงที่อากาศร้อน ต้นเหตุมาจากอาหารที่วางไว้นานๆ โดยไม่ได้เก็บรักษา เพราะอาหารที่เจอกับอากาศและอุณหภูมิที่สูงนั้น ทำให้แบคทีเรียและไวรัสที่ลอยอยู่ในอากาศ สามารถเติบโตได้ง่ายขึ้น จึงมักจะเสียได้ง่ายกว่าปกติ จนผู้รับประทานไม่ได้ระมัดระวัง จึงเกิดอาการท้องเสีย และอาหารเป็นพิษ โดยส่งผลโดยตรงต่อลำไส้และกระเพาะอาหาร ยิ่งผู้สูงอายุจะฟื้นตัวได้ยากกว่าวัยทั่วๆ ไป และทำให้ร่างกายอ่อนเพลียมากกว่ากลุ่มวัยอื่นๆ เป็นสองเท่า 

  • วิธีป้องกัน : ควรกินอาหารปรุงสุกทันที ใช้ช้อนกลาง รวมทั้งหมั่นล้างมือก่อนรับประทานอาหร และไม่ทานอาหารที่ค้างคืนหรือทิ้งไว้เป็นระยะเวลานาน ในสภาพอากาศร้อน
ภาพ : istock
ภาพ : istock

หน้ามืด วูบ หมดสติ

อาการนี้เกิดจากการสูญเสียน้ำตาลในเลือดมากจนเกินไป ซึ่งแดดก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เหงื่อออก และเกิดการขับน้ำตาลในเลือดออกจากร่างกาย รวมทั้งสภาพอากาศร้อน เป็นสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงต่ออาการหน้ามืด วูบ หมดสติอย่างมาก ผลมาจากความอบอ้าว แออัด หายใจลำบาก จากสภาพอากาศ โดยผู้สูงอายุมักจะมีปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย จนทำให้เกิดอาการเหล่านี้ได้ง่าย เช่น โรคความดันเลือดสูง โรคหัวใจ และโรคเบาหวาน 

  • วิธีป้องกัน : ไม่ควรออกแดดนาน หากมีโรคประจำตัว ควรดื่มน้ำและพักผ่อนให้เพียงพอต่อการใช้ชีวิตประจำในแต่ละวัน หากมีโรคประจำตัว ควรมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด
ภาพ : istock
ภาพ : istock

โรคผิวหนัง ผื่นแดง

อีกหนึ่งโรคที่ควรระวัง เนื่องจากผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีสภาพผิวที่บอบบาง อาจเกิดอาการไหม้ แห้ง และผื่นแดงจากความร้อน และแสงแดดได้ง่าย ซึ่งหากออกแดดนานๆ ทำให้เกิดผลกระทบร้ายแรงถึงขั้นเป็นมะเร็งผิวหนังตามมาได้

  • วิธีป้องกัน : ควรมีการปกป้องผิวหากต้องออกแดด เช่น การทาครีมบำรุงผิว ครีมกันแดด เพื่อช่วยลดปัญหาจากโรคผิวหนัง หรือหากจำเป็นที่ต้องออกแดด ควรใส่เสื้อผ้า หมวก ที่สามารถปกป้องผิวจากแดด และไม่ควรตากแดดนานเกินความจำเป็น และดื่มน้ำเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นในผิว ก็เป็นหนึ่งสิ่งที่สำคัญ
ภาพ : istock
ภาพ : istock

...

ไข้หวัดแดด

การได้รับเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียที่อยู่และเติบโตในอากาศร้อน จากระบบทางเดินหายใจโดยตรง เพราะอากาศที่ร้อนขึ้น ทำให้เราต้องหายใจเข้า-ออกมากขึ้น เพื่อรับอากาศเข้าไปมากกว่าปกติ โดยเชื้อไวรัสและแบคทีเรียเหล่านี้ จะทำให้ร่างกายไม่สามารถปรับอุณหภูมิได้ตามปกติ จะมีอาการคล้ายๆ กับไข้หวัดปกติ มีไข้สูง น้ำมูก ไอ จาม สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่มักจะพบบ่อยในผู้สูงอายุและเด็ก เนื่องมาจากภูมิต้านทานที่มีน้อยกว่าวัยอื่นๆ 

  • วิธีป้องกัน : การพักผ่อนเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากสามารถทำให้ภูมิต้านทานในตัวผู้สูงอายุแข็งแรงขึ้น และควรหลีกเลี่ยงการออกแดดหรือพบปะผู้คนในสถานที่ที่แออัด พร้อมทั้งทานวิตามินซีและดื่มน้ำให้เพียงพอ