อาฟเตอร์ช็อก (ภาษาอังกฤษ : Aftershock) หรือ "แผ่นดินไหวตาม" สถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นหลังจากแผ่นดินไหวกรุงเทพล่าสุดเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 จากความรุนแรงขนาด 8.2 ที่ระดับความลึก 10 กิโลเมตร โดยจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ที่ประเทศเมียนมา ซึ่งได้เกิดอาฟเตอร์ช็อกตามมาอีกหลายระลอก บทความนี้มาทำความรู้จักอาฟเตอร์ช็อกให้มากขึ้น เพื่อเตรียมตัวรับมือได้อย่างไม่หวาดวิตก

ทำความรู้จัก "อาฟเตอร์ช็อก" (Aftershock) คืออะไร 

อาฟเตอร์ช็อก (Aftershock) คือ การสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นตามมาหลังจากเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวหลัก โดยจะเกิดขึ้นในพื้นที่เดียวกันหรือใกล้กับจุดศูนย์กลางที่มีเหตุแผ่นดินไหวนั่นเอง 

บางคนอาจเรียกอาฟเตอร์ช็อกว่าเป็นแผ่นดินไหวเล็ก เนื่องจากการสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นจะมีระดับความรุนแรงลดน้อยลงจากแผ่นดินไหวครั้งแรก แต่อาฟเตอร์ช็อกครั้งแรกๆ ก็อาจสั่นสะเทือนให้รับรู้ได้ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่บนอาคารสูง ก่อนจะค่อยๆ ลดระดับความรุนแรงลง

อาฟเตอร์ช็อก (Aftershock) คืออะไร ทำไมต้องเฝ้าระวังหลังแผ่นดินไหว

...

อาฟเตอร์ช็อก (Aftershock) เกิดจากสาเหตุใด

อาฟเตอร์ช็อกแผ่นดินไหว เกิดจากการที่ชั้นหินขนาดใหญ่ใต้เปลือกโลกเคลื่อนตัวจนทำให้เกิดแผ่นดินไหว หลังจากนั้นเปลือกโลกจะค่อยๆ ปรับสมดุลใหม่ด้วยการดึงดูดเข้าหากันโดยธรรมชาติ ซึ่งแรงเคลื่อนนี้จะทำให้เกิดอาฟเตอร์ช็อกตามมา

อาฟเตอร์ช็อก (Aftershock) จะเกิดหลังแผ่นดินไหวกี่นาที

สำหรับการเกิดเหตุแผ่นดินไหวที่กรุงเทพครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 28 มีนาคมที่ผ่านมานั้น ซึ่งเป็นผลกระทบแรงสั่นสะเทือนจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ขนาด 8.2 ความลึก 10 กิโลเมตร ที่เกิดขึ้นเมื่อเวลา 13.20 น. ศูนย์กลางบริเวณเมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมา ได้เกิด "อาฟเตอร์ช็อก" (Aftershock) ครั้งที่ 1 ขนาด 7.1 ตามมาภายในเวลาเพียง 12 นาที

ทั้งนี้ อาฟเตอร์ช็อกสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ภายในไม่กี่นาทีหลังเกิดแผ่นดินไหวหลักครั้งแรก หรืออาจจะเกิดขึ้นภายใน 30 นาที หรือภายในไม่กี่ชั่วโมง โดยเฉพาะใน 48 ชั่วโมงแรกหลังเกิดแผ่นดินไหวหลัก มักจะมีแนวโน้มเกิดอาฟเตอร์ช็อกถี่ที่สุด ก่อนจะค่อยๆ ลดจำนวนความถี่ลง ซึ่งอาจกินระยะเวลานาน 1-2 สัปดาห์ หรือยาวนานถึง 1 เดือนเลยก็ได้ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของแผ่นดินไหวหลัก

อาฟเตอร์ช็อก (Aftershock) คืออะไร ทำไมต้องเฝ้าระวังหลังแผ่นดินไหว

จากข้อมูลของกองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ระบุถึงอาฟเตอร์ช็อกที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 หลังเหตุแผ่นดินไหวหลักขนาด 8.2 ความลึก 10 กิโลเมตร ศูนย์กลางประเทศเมียนมา ดังนี้

ครั้งที่ 1 เวลา 13.32 น. ขนาด 7.1 

ครั้งที่ 2 เวลา 13.45 น. ขนาด 5.5

ครั้งที่ 3 เวลา 14.24 น. ขนาด 4.0

ครั้งที่ 4 เวลา 14.37 น. ขนาด 5.2

ครั้งที่ 5 เวลา 14.42 น. ขนาด 3.9

ครั้งที่ 6 เวลา 14.50 น. ขนาด 3.5

ครั้งที่ 7 เวลา 14.57 น. ขนาด 4.7

ครั้งที่ 8 เวลา 15.21 น. ขนาด 4.0

ครั้งที่ 9 เวลา 15.45 น. ขนาด 3.7

ครั้งที่ 10 เวลา 15.52 น. ขนาด 3.8

ครั้งที่ 11 เวลา 16.06 น. ขนาด 4.2

ครั้งที่ 12 เวลา 16.11 น. ขนาด 3.8

ครั้งที่ 13 เวลา 16.26 น. ขนาด 4.3

ครั้งที่ 14 เวลา 16.30 น. ขนาด 4.5

ครั้งที่ 15 เวลา 16.55 น. ขนาด 4.9

ครั้งที่ 16 เวลา 17.28 น. ขนาด 3.1

ครั้งที่ 17 เวลา 17.30 น. ขนาด 4.1

ครั้งที่ 18 เวลา 17.50 น. ขนาด 3.0

ครั้งที่ 19 เวลา 17.59 น. ขนาด 4.0

ครั้งที่ 20 เวลา 18.10 น. ขนาด 3.3

ครั้งที่ 21 เวลา 18.16 น. ขนาด 3.7

ครั้งที่ 22 เวลา 18.30 น. ขนาด 4.2

ครั้งที่ 23 เวลา 18.57 น. ขนาด 2.9

ครั้งที่ 24 เวลา 19.02 น. ขนาด 4.1

ครั้งที่ 25 เวลา 19.09 น. ขนาด 2.4

ครั้งที่ 26 เวลา 19.13 น. ขนาด 2.9

ครั้งที่ 27 เวลา 19.22 น. ขนาด 5.5

ครั้งที่ 28 เวลา 19.33 น. ขนาด 4.0

ครั้งที่ 29 เวลา 19.36 น. ขนาด 3.8

ครั้งที่ 30 เวลา 19.51 น. ขนาด 4.0

ครั้งที่ 31 เวลา 19.52 น. ขนาด 4.6

ครั้งที่ 32 เวลา 20.11 น. ขนาด 2.7

...

ครั้งที่ 33 เวลา 20.17 น. ขนาด 2.5

ครั้งที่ 34 เวลา 20.18 น. ขนาด 3.4

ครั้งที่ 35 เวลา 20.26 น. ขนาด 2.8

ครั้งที่ 36 เวลา 20.49 น. ขนาด 2.6

ครั้งที่ 37 เวลา 20.56 น. ขนาด 3.1

ครั้งที่ 38 เวลา 21.11 น. ขนาด 2.8

ครั้งที่ 39 เวลา 21.20 น. ขนาด 2.7

ครั้งที่ 40 เวลา 21.24 น. ขนาด 2.4

ครั้งที่ 41 เวลา 21.29 น. ขนาด 2.1

ครั้งที่ 42 เวลา 21.36 น. ขนาด 2.3

ครั้งที่ 43 เวลา 21.43 น. ขนาด 2.2

ครั้งที่ 44 เวลา 21.49 น. ขนาด 4.4

อาฟเตอร์ช็อกแผ่นดินไหว จะเกิดขึ้นเมื่อใด และอันตรายรุนแรงกว่าเดิมไหม

การเกิดอาฟเตอร์ช็อกหลังแผ่นดินไหว ไม่สามารถบอกล่วงหน้าได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด แต่มักจะเกิดขึ้นหลังเหตุแผ่นดินไหวหลักภายในเวลาไม่กี่นาที โดยอาจมีแรงสั่นสะเทือนรุนแรงในการเกิดอาฟเตอร์ช็อกขึ้นครั้งแรก ก่อนจะค่อยๆ ลดระดับความรุนแรงและลดจำนวนความถี่ในการเกิดอาฟเตอร์ช็อกครั้งต่อๆ ไป 

ทั้งนี้ แม้อาฟเตอร์ช็อกครั้งหลังๆ ไม่ได้รุนแรงมาก และอาจไม่สามารถรับรู้แรงสั่นสะเทือนได้ในระดับวงกว้าง แต่ก็ควรเตรียมความพร้อมรับมืออยู่เสมอ ควรอยู่ภายนอกอาคาร ไม่ยืนใกล้เสาไฟและต้นไม้ 

อาฟเตอร์ช็อก (Aftershock) คืออะไร ทำไมต้องเฝ้าระวังหลังแผ่นดินไหว

...

เช็กข้อมูล "อาฟเตอร์ช็อกแผ่นดินไหว" ได้จากไหน

ประชาชนสามารถตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับอาฟเตอร์ช็อก และสถานการณ์แผ่นดินไหวล่าสุดวันนี้ ได้จากหน่วยงานรัฐที่เชื่อถือได้ ดังนี้

  • กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา : earthquake.tmd.go.th หรือ เพจเฟซบุ๊ก กรมอุตุนิยมวิทยา
  • ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (NDWC) : ndwc.disaster.go.th/ndwc
  • กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (DDPM) : www.disaster.go.th หรือโทรสายด่วน 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง

ทั้งนี้ แนะนำให้ติดตามข้อมูลข่าวสารจากแหล่งที่เชื่อถือได้ และควรปฏิบัติตามคำแนะนำจากหน่วยงานราชการอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยในช่วงที่อาจเกิดอาฟเตอร์ช็อกแผ่นดินไหวตามมาในช่วงระยะนี้

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม