การอดหลับอดนอนเป็นประจำ หรือนอนน้อยกว่า 7-8 ชั่วโมงต่อวัน สามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้หลายด้านทั้งร่างกายและจิตใจ และอาจทำให้เกิดโรคร้ายที่อาจตามมาได้ในภายหลัง
นอนไม่พอ หรือการอดหลับอดนอน เป็นอีกหนึ่งในภาวะที่ร่างกายได้รับการพักผ่อนจากการนอนหลับน้อยกว่าที่ควรจะเป็น โดยทั่วไปแล้วการนอนหลับนั้น ผู้ใหญ่ควรนอนให้ได้ประมาณ 7-8 ชั่วโมงต่อคืน หากนอนน้อยกว่านี้เป็นประจำ จะส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจได้
แน่นอนว่าปัจจุบัน ผู้คนมักประสบปัญหาการอดหลับอดนอนเพิ่มขึ้น เนื่องจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต การทำงาน โรคประจำตัว หรือการใช้ยาบางประเภท รวมถึงการรับประทานเครื่องดื่มคาเฟอีนในปริมาณที่มากเกินไป
ภาวะอดหลับอดนอนหรือนอนไม่พอเป็นประจำ เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะจะทำให้ร่างกายเกิดภาวะที่เรียกว่า "หนี้การนอนหลับ" (Sleep debt) ซึ่งหมายถึงการสะสมของการขาดการนอนหลับ ส่งผลให้ร่างกายและสมองทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ และเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพต่างๆ
พักผ่อนไม่เพียงพอ ภัยอันตรายที่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย
โดยส่งผลกระทบต่อร่างกายได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เสี่ยงต่อการติดเชื้อและเจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น และที่น่ากลัวอย่างยิ่ง คือ โรคหัวใจและหลอดเลือด ที่การอดนอนสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และหลอดเลือดสมองที่มีคนประสบกับโรคนี้เพิ่มขึ้นเป็นอันดับที่ 2 ของโลก ณ ปัจจุบัน
ทั้งหมดยังไม่รวมถึงโรคเบาหวาน โรคอ้วน ที่เกิดขึ้นได้บ่อยๆ ทั้งนี้ยังรวมถึงระบบฮอร์โมนผิดปกติ ที่ส่งผลต่อการผลิตฮอร์โมนเพศ ทำให้ความต้องการทางเพศลดลง มีความอ่อนเพลียเรื้อรัง และอีกสาเหตุของการแก่ก่อนวัย
...
พักผ่อนไม่เพียงพอที่มีผลกระทบต่อจิตใจ
การพักผ่อนไม่เพียงพอ นอกจากจะทำให้สุขภาพร่างกายเสื่อมถอยแล้ว ยังทำให้สติ สมาธิ และความจำนั้นลดลง ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน รวมถึงทำให้อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย เครียด และวิตกกังวลได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยทั้งหมดเป็นสาเหตุของโรคซึมเศร้าที่เกิดขึ้นในสังคมโลก ณ ปัจจุบัน การอดนอนสะสมเป็นเวลานาน จะยิ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพมากขึ้น
วิธีแก้ไขอาการนอนไม่หลับ
เบื้องต้นอาจเป็นการนอนชดเชยในวันหยุด ที่สามารถช่วยบรรเทาอาการได้บ้าง แต่ไม่สามารถทดแทนการนอนหลับที่มีคุณภาพได้ทั้งหมด
โดยการนอนหลับให้มีคุณภาพนั้น และควรที่จะหาเวลาในการนอนหลับให้เพียงพอประมาณ 7-8 ชั่วโมงต่อคืน โดยการเข้านอนและตื่นนอนให้เป็นเวลา หากรู้สึกเคยชินและนอนไม่หลับให้ทดลองสร้างบรรยากาศในห้องนอนให้เหมาะสมกับการนอนหลับ และหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนระหว่างวัน และแอลกอฮอล์ก่อนนอน อย่างไรก็ตามการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอมีส่วนช่วยได้เป็นอย่างมาก และถ้าหากมีปัญหาเกี่ยวกับการนอนที่ไม่สามารถแก้ไขได้ให้ควรปรึกษาแพทย์ในลำดับถัดไป