คําขวัญวันเด็ก 2568 นายกรัฐมนตรีได้มอบคำขวัญสั้นๆ เป็นข้อคิดเตือนสติ เพื่อเป็นแนวทางให้เด็กและเยาวชนไทยนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันกันได้ นอกจากนี้ในแต่ละพื้นที่ยังมีการจัดกิจกรรม มอบความรู้และความสนุกสนานให้เด็กๆ ได้เข้าร่วมอีกด้วย ซึ่งวันเด็กแห่งชาติปีนี้ตรงกับวันที่เท่าไร คําขวัญวันเด็ก 2568 คืออะไร อ่านคำขวัญตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน พร้อมประวัติได้ที่นี่
วันเด็กแห่งชาติวันที่เท่าไหร่ ตรงกับวันไหน
วันเด็กแห่งชาติ ตรงกับวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคมของทุกปี โดยวันเด็ก 2568 นี้ตรงกับวันเสาร์ที่ 11 มกราคม 2568 ในแต่ละพื้นที่ก็จะมีการจัดกิจกรรม เพื่อให้เด็กและเยาวชนไทยเข้ามามีส่วนร่วม เช่น การตักไข่ การประกวดวาดภาพเพื่อชิงทุนรางวัล เกมตอบปัญหาลุ้นรับรางวัล
ประวัติวันเด็กแห่งชาติสั้นๆ เข้าใจง่าย
วันเด็กแห่งชาติ (ภาษาอังกฤษ : National Children's Day) จัดครั้งแรกตรงกับวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม พ.ศ.2498 มีจุดประสงค์เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของเด็กและเยาวชน ในขณะเดียวกันก็ปลูกฝังให้เยาวชนรู้บทบาทหน้าที่ของตนและสังคม
ในประเทศไทยจัดงานวันเด็กครั้งแรกเมื่อวันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2498 ตามมติขององค์การสหประชาชาติ แต่เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวตรงกับฤดูฝน อีกทั้งวันจันทร์ยังตรงกับวันทำงานและวันเปิดเรียน จึงได้มีมติเปลี่ยนวันเด็กให้ตรงกับวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคมของทุกปีแทน
คําขวัญวันเด็ก 2568 คืออะไร
ปี พ.ศ.2499 จอมพลแปลก พิบูลสงคราม ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี และมีการมอบคำขวัญวันเด็กให้แก่เยาวชนเป็นครั้งแรก นับแต่นั้นจึงถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติให้นายกรัฐมนตรีมอบคำขวัญสืบต่อกันมา ซึ่งคําขวัญวันเด็กปีนี้ นายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร มอบคำขวัญไว้ว่า “ทุกโอกาส คือ การเรียนรู้ พร้อมปรับตัวสู่อนาคตที่เลือกเอง”
...
รวมคำขวัญวันเด็กทุกปีมีอะไรบ้าง
คำขวัญวันเด็กมักเป็นข้อความสั้นๆ ที่ให้ข้อคิด หรือคติสอนใจแก่เยาวชน ซึ่งคำขวัญวันเด็กตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีดังนี้
แปลก พิบูลสงคราม
- พ.ศ.2499 : จงบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและส่วนรวม
สฤษดิ์ ธนะรัชต์
- พ.ศ.2502 : ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความก้าวหน้า
- พ.ศ.2503 : ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความสะอาด
- พ.ศ.2504 : ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่อยู่ในระเบียบวินัย
- พ.ศ.2505 : ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่ประหยัด
- พ.ศ.2506 : ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่มีความขยันหมั่นเพียรมากที่สุด
ถนอม กิตติขจร
- พ.ศ.2508 : เด็กจะเจริญต้องรักเรียนเพียรทำดี
- พ.ศ.2509 : เด็กที่ดีต้องมีสัมมาคารวะ มานะ บากบั่น สมานสามัคคี
- พ.ศ.2510 : อนาคตของชาติจะสุกใส หากเด็กไทยแข็งแรง เรียนดี มีความประพฤติเรียบร้อย
- พ.ศ.2511 : ความเจริญและความมั่นคงของชาติไทยในอนาคต ขึ้นอยู่กับเด็กที่มีวินัย มีความเฉลียวฉลาด รักชาติยิ่ง
- พ.ศ.2512 : รู้เรียน รู้เล่น รู้สามัคคี เป็นความดีที่เด็กพึงจำ
- พ.ศ.2513 : เด็กประพฤติดีและศึกษาดี ทำให้มีอนาคตแจ่มใส
- พ.ศ.2514 : ยามเด็กจงหมั่นเรียนเพียรกระทำดี เติบใหญ่จะได้มีความสุขความเจริญ
- พ.ศ.2515 : เยาวชนฝึกตนดี มีความสามารถ
- พ.ศ.2516 : เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ
สัญญา ธรรมศักดิ์
- พ.ศ.2517 : สามัคคีคือพลัง
- พ.ศ.2518 : เด็กดีคือทายาทของชาติไทย ต้องร่วมใจร่วมพลังสร้างความสามัคคี
คึกฤทธิ์ ปราโมช
- พ.ศ.2519 : เด็กที่ต้องการเห็นอนาคตของชาติรุ่งเรือง จะต้องทำตัวให้ดีมีวินัยเสียแต่บัดนี้
ธานินทร์ กรัยวิเชียร
- พ.ศ.2520 : รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเยาวชนไทย
เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
- พ.ศ.2521 : เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติมั่นคง
- พ.ศ.2522 : เด็กไทยคือหัวใจของชาติ
- พ.ศ.2523 : อดทน ขยัน ประหยัด เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย
เปรม ติณสูลานนท์
- พ.ศ.2524 : เด็กไทยมีวินัย ใจสัตย์ซื่อ รู้ประหยัด เคร่งครัดคุณธรรม
- พ.ศ.2525 : ขยันศึกษา ใฝ่หาความรู้ เชิดชูชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย
- พ.ศ.2526 : รู้หน้าที่ ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด มีวินัย คุณธรรม
- พ.ศ.2527 : รักวัฒนธรรมไทย
- พ.ศ.2528 : สามัคคี นิยมไทย มีวินัย ใฝ่คุณธรรม
- พ.ศ.2529 : นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
- พ.ศ.2530 : นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
- พ.ศ.2531 : นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
ชาติชาย ชุณหะวัณ
- พ.ศ.2532 : รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
- พ.ศ.2533 : รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
- พ.ศ.2534 : รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่คุณธรรม นำชาติพัฒนา
อานันท์ ปันยารชุน
- พ.ศ.2535 : สามัคคี มีวินัย ใฝ่ศึกษา จรรยางาม
...
ชวน หลีกภัย
- พ.ศ.2536 : ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
- พ.ศ.2537 : ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
- พ.ศ.2538 : สืบสานวัฒนธรรมไทย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
บรรหาร ศิลปอาชา
- พ.ศ.2539 : มุ่งหาความรู้ เชิดชูความเป็นไทย หลีกไกลยาเสพติด
ชวลิต ยงใจยุทธ
- พ.ศ.2540 : รู้คุณค่าวัฒนธรรมไทย ตั้งใจใฝ่ศึกษา ไม่พึ่งพายาเสพติด
ชวน หลีกภัย
- พ.ศ.2541 : ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย
- พ.ศ.2542 : ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย
- พ.ศ.2543 : มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย
- พ.ศ.2544 : มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย
ทักษิณ ชินวัตร
- พ.ศ.2545 : เรียนให้สนุก เล่นให้มีความรู้ สู่อนาคตที่สดใส
- พ.ศ.2546 : เรียนรู้ตลอดชีวิต คิดอย่างสร้างสรรค์ ก้าวทันเทคโนโลยี
- พ.ศ.2547 : รักชาติ รักพ่อแม่ รักเรียน รักสิ่งดีๆ อนาคตดีแน่นอน
- พ.ศ.2548 : เด็กรุ่นใหม่ ต้องขยันอ่าน ขยันเรียน กล้าคิด กล้าพูด
- พ.ศ.2549 : อยากฉลาด ต้องขยันอ่าน ขยันคิด
สุรยุทธ์ จุลานนท์
- พ.ศ.2550 : มีคุณธรรมนำใจ ใช้ชีวิตพอเพียง หลีกเลี่ยงอบายมุข
- พ.ศ.2551 :สามัคคี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เชิดชูคุณธรรม
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
- พ.ศ.2552 : ฉลาดคิด จิตบริสุทธิ์ จุดประกายฝัน ผูกพันรักสามัคคี
- พ.ศ.2553 : คิดสร้างสรรค์ ขยันใฝ่รู้ เชิดชูคุณธรรม
- พ.ศ.2554 : รอบคอบ รู้คิด มีจิตสาธารณะ
...
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
- พ.ศ.2555 : สามัคคี มีความรู้ คู่ปัญญา คงรักษาความเป็นไทย ใส่ใจเทคโนโลยี
- พ.ศ.2556 : รักษาวินัย ใฝ่เรียนรู้ เพิ่มพูนปัญญา นำพาไทยสู่อาเซียน
- พ.ศ.2557 : กตัญญู รู้หน้าที่ เป็นเด็กดี มีวินัย สร้างไทย ให้มั่นคง
ประยุทธ์ จันทร์โอชา
- พ.ศ.2558 : ความรู้ คู่คุณธรรม นำสู่อนาคต
- พ.ศ.2559 : เด็กดี หมั่นเพียร เรียนรู้ สู่อนาคต
- พ.ศ.2560 : เด็กไทย ใส่ใจศึกษา พาชาติมั่นคง
- พ.ศ.2561 : รู้คิด รู้เท่าทัน สร้างสรรค์เทคโนโลยี
- พ.ศ.2562 : เด็ก เยาวชน จิตอาสา ร่วมพัฒนาชาติ
- พ.ศ.2563 : เด็กไทยยุคใหม่ รู้รักสามัคคี รู้หน้าที่พลเมืองไทย
- พ.ศ.2564 : เด็กไทยวิถีใหม่ รวมไทยสร้างชาติ ด้วยภักดีมีคุณธรรม
- พ.ศ.2565 : รู้คิด รอบคอบ รับผิดชอบต่อสังคม
- พ.ศ.2566 : รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่ความดี
เศรษฐา ทวีสิน
- พ.ศ.2567 : มองโลกกว้าง คิดสร้างสรรค์ เคารพความแตกต่าง ร่วมกันสร้างประชาธิปไตย...
แพทองธาร ชินวัตร
- คำขวัญวันเด็กแห่งชาติ 2568 : ทุกโอกาสคือการเรียนรู้ พร้อมปรับตัวสู่อนาคตที่เลือกเอง
นอกจากคําขวัญวันเด็ก 2568 จะเห็นได้ว่าคำขวัญในแต่ละปีมักจะสอดแทรกข้อคิดเตือนใจให้เด็กๆ และเยาวชนเสมอ ทั้งนี้ก็เพื่อให้ตระหนักถึงหน้าที่และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม อีกทั้งยังสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย