รถไฟฟ้าสายสีแดง คือ รถไฟชานเมือง สร้างขึ้นเพื่อเพิ่มความสะดวกในการเดินทางไปยังปริมณฑล ทั้งนี้ รถไฟฟ้า BTS สายสีแดงเพิ่งเปิดให้ใช้บริการได้ไม่นาน ใครที่ยังสับสนว่าสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดงอยู่ที่ไหน เชื่อมต่อสถานีใด และราคาเท่าไรบ้าง ติดตามสรุปข้อมูลเข้าใจง่ายได้ในบทความ

รถไฟฟ้าสายสีแดงคืออะไร สร้างขึ้นมีจุดประสงค์อะไร

รถไฟฟ้าสายสีแดง สร้างขึ้นเพื่อทดแทนระบบรถไฟเดิมที่มีความล่าช้า ในขณะเดียวกันก็สร้างขึ้นเพื่อขยายขอบเขตการให้บริการในการเดินทางจากกรุงเทพฯ หรือพื้นที่ต่างๆ ไปยังชานเมืองได้สะดวกยิ่งขึ้น 

เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดงมีกี่เส้นทาง อะไรบ้าง

รถไฟฟ้าสีแดง ปัจจุบันแบ่งออกเป็นสีแดงเข้ม และสีแดงอ่อน ซึ่งมีเส้นทางและสถานี ดังนี้

รถไฟฟ้าสีแดงเข้ม

รถไฟฟ้าสีแดงเข้มเริ่มต้นที่สถานีกลางบางซื่อ วิ่งขึ้นทางทิศเหนือ ปลายทางรังสิต มี 14 สถานี ดังนี้

  • สถานีกลางบางซื่อ (สถานีเริ่มต้น)
  • สถานีจตุจักร
  • สถานีวัดเสมียนนารี
  • สถานีบางเขน
  • สถานีทุ่งสองห้อง
  • สถานีหลักสี่
  • สถานีการเคหะ
  • สถานีดอนเมือง
  • สถานีหลักหก
  • สถานีรังสิต
  • สถานีคลองหนึ่ง
  • สถานีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ รังสิต
  • สถานีเชียงราก
  • สถานีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต

อย่างไรก็ดี เส้นทางทิศเหนือ หากสร้างส่วนต่อขยายจากสถานีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต สำเร็จภายในปี 2569 ก็จะมีการขยายเส้นทางไปยัง จ.พระนครศรีอยุธยาเพิ่ม ได้แก่ 

  • สถานีนวนคร
  • สถานีเชียงรากน้อย
  • สถานีบางปะอิน
  • สถานีบ้านโพธิ์
  • สถานีอยุธยา  
  • สถานีบ้านม้า
  • สถานีมาบพระจันทร์
  • สถานีพระแก้ว
  • สถานีบ้านภาชี

...

ส่วนเส้นทางใต้ จะมีการสร้างส่วนขยายเพิ่มขึ้นจากสถานีกลางบางซื่อ ดังนี้

  • สถานีกลางบางซื่อ (สถานีเริ่มต้น)
  • สถานีสามเสน
  • สถานีแยกราชวิถี 
  • สถานียมราช
  • สถานียศเส
  • สถานีหัวลำโพง 
  • สถานีคลองสาน 
  • สถานีวงเวียนใหญ่ 
  • สถานีตลาดพลู 
  • สถานีวุฒากาศ 
  • สถานีจอมทอง
  • สถานีวัดไทร
  • สถานีวัดสิงห์
  • สถานีบางบอน
  • สถานีรางสะแก
  • สถานีรางโพธิ์
  • สถานีสามแยก
  • สถานีพรมแดน
  • สถานีทุ่งสีทอง
  • สถานีบางน้ำจืด
  • สถานีคอกควาย
  • สถานีเอกชัย
  • สถานีมหาชัย

อย่างไรก็ดี ยังมีการวางแผนดำเนินการเปิดเส้นทางใหม่จากมหาชัยไปยังปากท่อ ทั้งนี้ อาจจะต้องรอความพร้อมและกำหนดการชัดเจนที่ชัดเจนในอนาคต

รถไฟฟ้าสีแดงอ่อน

รถไฟฟ้าสีแดงเข้มเริ่มต้นที่สถานีกลางบางซื่อ วิ่งทางทิศตะวันตก ปลายทางตลิ่งชัน และทิศตะวันออก ปลายทางหัวหมาก มีทั้งหมด 31 สถานี เปิดให้บริการทางด้านทิศตะวันตกแล้ว 3 สถานี ดังนี้

  • สถานีกลางบางซื่อ (สถานีเริ่มต้น)
  • สถานีบางซ่อน (เปิดให้บริการแล้ว)
  • สถานีบางบำหรุ (เปิดให้บริการแล้ว)
  • สถานีตลิ่งชัน (เปิดให้บริการแล้ว)
  • สถานีบ้านฉิมพลี
  • สถานีกาญจนาภิเษก
  • สถานีศาลาธรรมสพน์
  • สถานีศาลายา

นอกจากนี้ จะมีการส่วนขยายเพิ่มที่สถานีตลิ่งชัน ไปตามเส้นทาง คือ สถานีตลิ่งชัน > สถานีสำนักงานเขตตลิ่งชัน > สถานีบางขุนนนท์ และสิ้นสุดที่สถานีศิริราช

ส่วนเส้นทางส่วนขยายทางทิศตะวันออกนั้นยังไม่เปิดให้บริการ แต่กำลังอยู่ในขั้นตอนการวางแผนและเตรียมดำเนินการ ดังนี้

  • สถานีกลางบางซื่อ (สถานีเริ่มต้น)
  • สถานีแยกราชวิถี 
  • สถานีพญาไท 
  • สถานีมักกะสัน 
  • สถานีรามคำแหง
  • สถานีหัวหมาก 

เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดง เชื่อมต่อ BTS หรือ MRT อะไรบ้าง

เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม และสีแดงอ่อน เชื่อมต่อกับสถานีสำคัญ ได้แก่ 

รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม

  • สถานีบางซื่อ เชื่อมต่อกับสายสีน้ำเงิน สายท่าอากาศยาน สายสีแดงอ่อน รวมถึงยังเชื่อมต่อกับสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ สามารถเดินทางต่อด้วยรถไฟได้ทั่วประเทศไทยได้อย่างสะดวก
  • สถานีบางเขน เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล
  • สถานีหลักสี่ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีชมพู
  • สถานีดอนเมือง เชื่อมต่อกับสายท่าอากาศยาน

รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน

  • สถานีบางซื่อ เชื่อมต่อกับสายสีน้ำเงิน สายท่าอากาศยาน สายสีแดงอ่อน รวมถึงยังเชื่อมต่อกับสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ 
  • สถานีบางซ่อน เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสีม่วง

...

เปิดข้อมูล "สถานีกรุงเทพอภิวัฒน์" สถานีเริ่มต้นรถไฟฟ้าสายสีแดง

สถานีกรุงเทพอภิวัฒน์เป็นสถานีเริ่มต้นที่ให้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดง มีทั้หงมด 4 ชั้น ประกอบด้วย

  • ชั้นใต้ดินเป็นพื้นที่จอดรถ รองรับรถได้สูงสุด 1,700 คัน
  • ชั้นพื้นดินเป็นพื้นที่สำหรับจำน่ายตั๋ว ร้านค้า ห้องควบคุม และโถงพักคอย
  • ชั้นที่ 2 เป็นชั้นชานชาลารถไฟทางไกล รูปแบบชานชาลาตรงกลาง จำนวน 12 ชานชาลา
  • ชั้นที่ 3 เป็นชั้นชานชาลารถไฟชานเมือง รูปแบบชานชาลาตรงกลาง จำนวน 12 ชานชาลา ในระยะแรกเปิดใช้เพียง 4 ชานชาลา

อย่างไรก็ดี ประตูทางเข้า-ออกรถไฟฟ้าสายสีแดง เชื่อมต่อหลายสถานที่ ได้แก่

  • ประตู 1-4 ฝั่งตะวันออก : ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง, ถนนกำแพงเพชร 6, สถานีขนส่ง บขส. หมอชิต, ตลาด อ.ต.ก., ตลาดนัดจตุจักร และทางพิเศษศรีรัช (ทางด่วน)
  • ประตู 1-4 ฝั่งตะวันตก : SCG สำนักงานใหญ่, สถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ, ถนนกำแพงเพชร 2, ถนนเทอดดำริ, MRT บางซื่อ และป้ายรถประจำทาง

ทั้งนี้ ทางเชื่อมภายในอาคารบริเวณห้องจำหน่ายตั๋ว 2 จะเชื่อมต่อกับ MRT บางซื่อ

...

แจกแผนที่รถไฟฟ้าสายสีแดง

หากใครที่ยังสับสนกับเส้นทางการเดินทาง หรือส่วนขยายของรถไฟฟ้าสายสีแดง แนะนำให้บันทึกแผนที่เก็บไว้ สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่ 

ขอบคุณภาพจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ขอบคุณภาพจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย

ค่าบริการรถไฟฟ้าสายสีแดงเท่าไรบ้าง

อัตราค่าโดยสารของรถไฟฟ้าสายสีแดงคิดตามระยะทาง โดยราคาเริ่มต้นที่ 12-42 บาท ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติปรับมาตรการสูงสุด 20 บาท ตลอดสาย ตามนโยบายรัฐบาล เพื่อช่วยลดค่าครองชีพจนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2567

รถไฟฟ้าสายสีแดงเริ่มให้บริการกี่โมง

รถไฟฟ้าสายสีแดงเริ่มต้นจากสถานีกลางบางซื่อ ให้บริการตั้งแต่เวลา 05.30 น. ส่วนขบวนสุดท้ายจะสิ้นสุดการให้บริการตอน 00.00 น. หากเริ่มจากสถานีกลางบางซื่อ วิ่งขึ้นเหนือ ปลายทางรังสิตจะใช้เวลา 23 นาที แต่หากวิ่งทิศตะวันตกปลายทางตลิ่งชันจะใช้เวลา 16 นาที

...

แม้ว่าในปัจจุบันรถไฟฟ้าสายสีแดงยังเปิดให้บริการไม่ครบทุกเส้นทาง แต่ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกการเดินทางที่สะดวกสบาย ตอบโจทย์ผู้ที่ไม่มีรถยนต์ส่วนตัว หรือผู้ที่ต้องการหลีกเลี่ยงการจราจรติดขัด อีกทั้งหากในอนาคตเปิดเส้นทางส่วนขยายแล้วก็จะทำให้การเดินทางสะดวกสบายได้ยิ่งขึ้น