วันที่ 10 ตุลาคมของทุกปีคือวันสุขภาพจิตโลก โดยองค์การอนามัยโลกและเครือข่ายผู้เกี่ยวข้องกำหนดให้มีขึ้นเพื่อตระหนักถึงปัญหาสุขภาพจิตทั่วโลก รวมไปถึงส่งเสริมป้องกันปัญหาสุขภาพจิต และสร้างช่องทางการเข้าถึงบริการสุขภาพจิตให้ครอบคลุมประชากรทั่วทุกมุมในโลก
เนื่องในวันสุขภาพจิตโลก ร็อกเกต มีเดีย แล็บ ร่วมกับ มูลนิธิแพธทูเฮลท์ (p2h) ทำการสำรวจข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพจิต ทั้งความเครียด วิตกกังวลในกลุ่มนักเรียนมัธยมศึกษา (ม.1-6) และ ปวช. (1-3) ผ่านทางแบบสอบถามออนไลน์ ระหว่างวันที่ 16-30 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา ผลการสำรวจมีดังนี้
จากผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 3,516 คน แบ่งเป็นเพศหญิง 1,935 คน หรือคิดเป็น 55.03% เพศชาย 1,323 คน หรือคิดเป็น 37.63% ตามด้วย LGBTQIA+ 184 คน หรือคิดเป็น 5.23% และไม่ต้องการระบุ 74 คน คิดเป็น 2.10% โดยผู้ตอบมีอายุระหว่าง 11-20 ปี
เมื่อแบ่งตามระดับการศึกษา แบ่งได้เป็นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 2,461 คน หรือคิดเป็น 69.99% ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 843 คน หรือคิดเป็น 23.98% และ ปวช.1-3 จำนวน 212 คน หรือคิดเป็น 6.03%
เมื่อถามว่า เครียดเรื่องอะไรมากที่สุดในช่วงที่ผ่านมา โดยมีตัวเลือก 12 ข้อ ให้เลือกได้เพียง 1 ข้อ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม ตอบว่า เป็นเรื่องการเรียนมากที่สุด จำนวน 1,809 คน คิดเป็น 51.45% ตามด้วยเรื่องรูปร่าง-หน้าตา-บุคลิก 349 คน คิดเป็น 9.93%, ครอบครัว 344 คน คิดเป็น 9.78%, การเงิน 343 คน คิดเป็น 9.76%, ความรัก 217 คน คิดเป็น 6.17%, เพื่อน 170 คน คิดเป็น 4.84%, ความเจ็บป่วย 83 คน คิดเป็น 2.36%, สังคม การเมือง 72 คน คิดเป็น 2.05%, การทำงาน 51 คน คิดเป็น 1.45%, ครู 43 คน คิดเป็น 1.22%, เพศสัมพันธ์ 22 คน คิดเป็น 0.63% และเรื่องเพศ/อัตลักษณ์ทางเพศ 13 คน คิดเป็น 0.37%
...
หากแบ่งตามระดับชั้น พบว่า เรื่องที่ผู้ตอบแบบสอบถามในระดับ ม.ต้น จำนวน 2,461 คน หรือคิดเป็น 69.99% ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด เครียดมากที่สุด คือ การเรียน 1,265 คน คิดเป็น 51.40% ตามด้วยรูปร่าง-หน้าตา-บุคลิก 269 คน คิดเป็น 10.93% และความรัก 165 คน คิดเป็น 6.70%
เรื่องที่ผู้ตอบแบบสอบถามในระดับ ม.ปลาย จำนวน 843 คน หรือคิดเป็น 23.98% ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด เครียดมากที่สุดคือ เรื่องการเรียน 479 คน คิดเป็น 56.82% ตามด้วย การเงิน 138 คน คิดเป็น 16.37% และรูปร่าง-หน้าตา-บุคลิก 59 คน คิดเป็น 7.00%
เรื่องที่ผู้ตอบแบบสอบถามในระดับ ปวช. จำนวน 212 คน หรือคิดเป็น 6.03% ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด เครียดมากที่สุดคือ การเรียน 65 คน คิดเป็น 30.66% ตามด้วยการเงิน 52 คน คิดเป็น 24.53% และรูปร่าง-หน้าตา-บุคลิก 21 คน คิดเป็น 9.91%
จากข้อมูลจะเห็นได้ว่า นักเรียน ม.ปลาย และนักเรียน ปวช. มี 3 อันดับแรกที่เหมือนกัน คือ ในขณะที่นักเรียน ม.ต้น นั้น ไม่มีเรื่องการเงิน แต่ในอันดับสองเป็นเรื่องครอบครัว ซึ่งอาจเป็นเพราะว่านักเรียน ม.ต้น อาจจะยังไม่ต้องรับผิดชอบในเรื่องการเงินนั่นเอง
หากแบ่งตามเพศ จะพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่ระบุว่าเป็นเพศหญิง ตอบว่า เครียดเรื่องการเรียนมากที่สุด 979 คน คิดเป็น 50.59% ตามด้วยครอบครัว 238 คน คิดเป็น 12.30% และรูปร่าง-หน้าตา-บุคลิก 215 คน คิดเป็น 11.11%
ผู้ตอบแบบสอบถามที่ระบุว่าเป็นเพศชายตอบว่า เครียดเรื่องการเรียนมากที่สุด 732 คน คิดเป็น 55.33% ตามด้วยการเงิน 160 คน คิดเป็น 12.09% และรูปร่าง-หน้าตา-บุคลิก 98 คน คิดเป็น 7.41%
ผู้ตอบแบบสอบถามที่ระบุว่าเป็น LGBTQIA+ ตอบว่า เครียดเรื่องการเรียนมากที่สุด 67 คน คิดเป็น 36.41% ตามด้วย รูปร่าง-หน้าตา-บุคลิก 29 คน คิดเป็น 15.76% และครอบครัว 24 คน คิดเป็น 13.04%
ผู้ตอบแบบสอบถามที่ไม่ต้องการระบุเพศ ตอบว่า เครียดเรื่องการเรียนมากที่สุด 31 คน คิดเป็น 41.89% ตามด้วยการเงิน 11 คน คิดเป็น 14.86% และครอบครัว 10 คน คิดเป็น 13.51%
กลัวเกรดไม่ดี ทำให้นักเรียนเครียดมากที่สุด
เมื่อเลือกตอบว่าเรื่องที่เครียดที่สุดคือเรื่องใดแล้ว ผู้ตอบแบบสอบถามแต่ละคนจะถูกให้ตอบเฉพาะคำถามที่เกี่ยวกับเรื่องที่ตัวเองเครียดที่สุด
...
เมื่อถามต่อว่า ประเด็นด้านการเรียนที่เครียดมากที่สุดคืออะไร โดยให้เลือกได้เพียง 1 ข้อ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ 727 คน คิดเป็น 40.19% ตอบว่า กลัวเกรดไม่ดี ตามด้วย กลัวสอบตก 241 คน คิดเป็น 13.32%, กลัวสอบเข้าเรียนต่อไม่ได้ 203 คน คิดเป็น 11.22%, กลัวเรียนไม่จบ 192 คน คิดเป็น 10.61%, งานที่ต้องส่งมากเกินไป 168 คน คิดเป็น 9.29%, ไม่เข้าใจบทเรียน 113 คน คิดเป็น 6.25%, กังวลว่าจะไม่ได้เรียนต่อในระดับที่อยากเรียน 92 คน คิดเป็น 5.09%, เรียนหนักเกินไป ชั่วโมงเรียนมากเกินไป 45 คน คิดเป็น 2.49%, ไม่ได้เรียนในสายที่อยากเรียน แต่เรียนตามใจผู้ปกครอง 14 คน คิดเป็น 0.77%, อุปกรณ์การเรียนไม่พร้อม 8 คน คิดเป็น 0.44% และไม่ได้เรียนพิเศษ 6 คน คิดเป็น 0.33%
ผู้ปกครองเข้มงวดเกินไป สร้างความเครียดให้นักเรียนทุกระดับชั้น
เมื่อถามว่า ประเด็นครอบครัวที่เครียดมากที่สุดคืออะไร โดยให้เลือกได้เพียง 1 ข้อ ผู้ตอบแบบสอบถาม
...
ตอบว่าผู้ปกครองเข้มงวดกดดันมากเกินไปมากที่สุด 151 คน คิดเป็น 43.90% รองลงมา ผู้ปกครองไม่สนับสนุนในสิ่งที่เราอยากเป็น/อยากทำ 34 คน คิดเป็น 9.88% ตามด้วยผู้ปกครองทะเลาะ ตบ-ตีกัน 33 คน คิดเป็น 9.59% ผู้ปกครองใช้ความรุนแรงกับนักเรียน 24 คน คิดเป็น 6.98% และผู้ปกครองแยกทางกัน/มีครอบครัวใหม่/นอกใจ 24 คน คิดเป็น 6.98% ตามด้วย ผู้ปกครองละเมิดความเป็นส่วนตัว เช่น เข้าห้องส่วนตัวโดยไม่ขอ ดูโทรศัพท์ 17 คน คิดเป็น 4.94% ผู้ปกครองไม่สนใจ ไม่มีเวลาให้ 13 คน คิดเป็น 3.78% มีผู้ปกครองเจ็บป่วย หรือพิการ 10 คน คิดเป็น 2.91% ผู้ปกครองเสียชีวิต 7 คน คิดเป็น 2.03% ถูกล่วงละเมิดทางเพศจากคนในครอบครัว 3 คน คิดเป็น 0.87% ผู้ปกครองไม่ยอมรับในอัตลักษณ์ทางเพศ 2 คน คิดเป็น 0.58%
จะเห็นได้ว่านอกจากประเด็นความเครียดจากครอบครัว ที่เกิดจากการที่ผู้ปกครองปฏิบัติต่อตัวนักเรียนแล้ว ความเครียดที่เกิดขึ้นยังมาจากปัญหาของผู้ปกครองเองที่ส่งผลให้ลูกหรือตัวนักเรียนเกิดความเครียดอีกด้วย
บทสรุปสุขภาพจิตของเด็กไทย
จากแบบสำรวจในครั้งนี้ แม้จะพบว่าเรื่องการเรียนเป็นประเด็นที่ทำให้เด็กนักเรียนเกิดความเครียด วิตกกังวลมากที่สุด เนื่องด้วยเพราะเป็นสิ่งที่ในวัยนี้ต้องรับผิดชอบ แต่ก็พบว่ามีเพียง 51.45% หรือประมาณเพียงกึ่งหนึ่งเท่านั้น แต่อีกกึ่งหนึ่งนั้นมาจากสภาพสังคมโดยรอบที่มีอิทธิพลต่อความคิดและการใช้ชีวิตของคนวัยเรียนด้วยเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรูปร่าง-หน้าตา-บุคลิก, ครอบครัว, การเงิน, ความรัก, เพื่อน ไปจนถึงเรื่องสังคมการเมือง ที่มีผู้ตอบมากกว่าประเด็นเรื่องครู การทำงาน หรือเพศสัมพันธ์เสียอีก
...
และถึงแม้ว่าความเครียดวิตกกังวลส่วนใหญ่จะอยู่ในระดับที่ไม่ส่งผลกระทบกับชีวิตประจำวันมากที่สุด คิดเป็น 54.58% แต่ก็พบว่านักเรียนในวัยมัธยมทั้ง ม.ต้น ม.ปลาย และปวช. นั้นประสบปัญหาความเครียด วิตกกังวลจนส่งผลกระทบต่อร่างกาย อารมณ์ จิตใจ และการใช้ชีวิตเกือบกึ่งหนึ่งเลยทีเดียว โดยเฉพาะผู้ที่ตอบแบบสอบถามว่าความเครียด วิตกกังวลที่เกิดขึ้นส่งผลจนอยากจะฆ่าตัวตาย, เคยลงมือทำร้ายตัวเองหรือผู้อื่น หรือมีความคิดอยากทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น ซึ่งมีสูงถึง 7.43% และกลับพบว่ามาจากสาเหตุเรื่อง ‘ครอบครัว’ เป็นหลัก
นอกจากนั้นยังพบว่า เด็กในวัยเรียนที่มีความเครียดวิตกกังวลส่วนใหญ่ที่อยากได้การสนับสนุน หรือความช่วยเหลือเพื่อช่วยจัดการกับความเครียดตั้งแต่ครูแนะแนวที่สามารถให้คำปรึกษาได้ทุกเรื่อง, นักจิตวิทยาประจำโรงเรียน, ช่องทางให้คำปรึกษาในรูปแบบออนไลน์จากผู้เชี่ยวชาญ, การเข้าถึงนักจิตวิทยาในสถานพยาบาลได้โดยง่าย ไปจนถึงสายด่วนให้คำปรึกษา 24 ชั่วโมง ซึ่งจะพบว่าในปัจจุบันแม้จะมีระบบการใช้ความช่วยเหลือทางด้านสุขภาพจิตในรูปแบบเหล่านี้อยู่แล้ว แต่ก็ยังไม่ครอบคลุมทั่วถึงทั้งในด้านปริมาณ การเข้าถึงได้โดยง่าย สะดวกและรวดเร็ว
ภาพจาก iStock