การพัฒนาเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อสังคมในช่วงที่ผ่านมาอย่างน้อย 2 ระลอกใหญ่ ที่เริ่มระลอกแรกในยุคการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของผู้คนผ่านผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต มาจนถึงในยุคปัจจุบันกับอิทธิพลของโซเชียลมีเดียที่มาพร้อมกับอัลกอริทึม (Algorithm) ที่กำหนดทิศทางการรับข่าวสาร จนส่งผลต่อชีวิตผู้คนจำนวนมาก และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การมาอย่างรวดเร็วของปัญญาประดิษฐ์ (AI) หรือ Artificial Intelligence ทำให้ “จอห์น รัตนเวโรจน์” ประธานสมาคมเครือข่ายเพื่อการเรียนรู้เท่าทันดิจิทัลเทคโนโลยี หรือ The Digital Technology Knowledge Network Association (D-TECH) มองว่าถึงเวลาต้องเร่งขับเคลื่อนให้สังคมตระหนักรู้ และร่วมกันเพื่อสร้างความแข็งแรงให้สังคมอย่างยั่งยืน
“ที่ผ่านมาไม่เคยมีปรากฏการณ์ที่มีจำนวนคนใช้โซเชียลมีเดียจำนวนมาก โดยอัลกอริทึม และ AI ดึงข้อมูลในอินเทอร์เน็ตมาตอบสนองความต้องการมนุษย์มากมาย ซึ่งเราไม่ได้ต่อต้านเทคโนโลยี และเราต้องใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ โดยที่เราไม่ได้เป็นทาสของเทคโนโลยี"
"เราจะเห็นว่า เทคโนโลยีมีจุดบอดที่เรามองไม่เห็น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการฉ้อโกงออนไลน์ เรื่องของสุขภาพเด็ก และเยาวชน การลวงให้คลิกลิงก์ต่างๆ จนส่งผลต่อสุขภาวะของมนุษย์เรา ดังนั้นเราต้องสร้างคนคุณภาพทางดิจิทัลให้มากที่สุด และต้องร่วมกับเครือข่ายต่างๆ ในการทำงานร่วมกัน ทั้งภาคเอกชน ภาครัฐ และประชาสังคม ด้วยความเข้าใจในหลากหลายมิติ ซึ่งที่ผ่านมามีหลายคนช่วยกันทำสิ่งเหล่านี้ แต่ต่างคนต่างเดินจนมีลักษณะเดินคู่ขนานกันคนละลู่ แต่หากเดินในลู่เดียวกัน การขับเคลื่อนก็จะทำได้ดีกว่า"
"ดังนั้นในวันที่ 10 ตุลาคม 2567 นี้ นับเป็นเวลาของการเริ่มต้นของภาคีต่างๆ ที่มีหมุดหมายเดียวกันในการขับเคลื่อน เพื่อให้ 3-5 ปีนับจากนี้ เกิดผลดีต่อระบบเศรษฐกิจดิจิทัล และความเป็นอยู่ที่ดี (Well Being) ของคนไทย เช่น การใช้เทคโนโลยีที่ยังคงมีสัมพันธภาพ ความผูกพันภายในครอบครัว และที่สำคัญคือการสร้างความเป็นมนุษยธรรมภายใต้โลกของเทคโนโลยี โดยที่ไม่ต้องกังวลเรื่องของดิสรัปชั่น แต่ทำให้เป็นการเปลี่ยนผ่านที่สามารถสร้างสมดุลกับความต้องการได้อย่างพอดี”
...
งานนี้สมาคมเครือข่ายเพื่อการเรียนรู้เท่าทันดิจิทัลเทคโนโลยี หรือ The Digital Technology Knowledge Network Association (D-TECH) จึงร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES), สำนักงานคณะกรรมการ
ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.), สำนักงานสถิติแห่งชาติ และหน่วยงานพันธมิตรอีกกว่า 10 หน่วยงาน ร่วมกันผลักดันโครงการ Digital Vaccine เพื่อสร้างพลเมืองดิจิทัลที่มีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานสากล ภายใต้แนวคิด “Thai Digital Citizen Alliance”
“เราต้องเพิ่มปริมาณพลเมืองดิจิทัล เห็นคุณค่าของการอยู่ร่วมกัน ซึ่งความเป็นพลเมืองดิจิทัล เรามองไปถึง Global Netizen ที่ไม่ว่าวัยใด มาหาคำตอบร่วมกัน ดูแลกันและกันให้ได้ คนในมุมหนึ่งของโลก สามารถช่วยเหลือดูแลคนยากจนในอีกมุมของโลกได้ ในวันที่ 10 เดือน 10 นี้ จึงขอปักหมุดพลเมืองดิจิทัล หรือ Global Netizen ในแผนที่โลก”
Digital Vaccine: วัคซีนเพื่อพลเมืองดิจิทัล
สำหรับในแผนการดำเนินโครงการ Digital Vaccine เริ่มต้นจากการสร้างวัคซีนที่สามารถป้องกัน พร้อมทั้งสื่อสารเข้าถึงประชาชนให้เห็นถึงภัยต่าง ๆ เปรียบเสมือนวัคซีนป้องกันให้รู้เท่าทันภัยจากโลกดิจิทัล โดยการสร้างการเรียนรู้การใช้เทคโนโลยี
และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ไม่ใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลในทางที่ผิด และรู้เท่าทันถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นกับตนเอง และสังคมโดยรวม เป็นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่มีประโยชน์และสร้างสรรค์ สำหรับการเตรียมความพร้อมในการเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีคุณภาพ ด้วยพันธกิจ 3E+ ของสมาคม D-TECH ดังนี้
Education: การสร้างพื้นฐานความรู้ในการเป็นพลเมืองดิจิทัล มาตรฐานไทยสู่สากล
Economy: การดูแล และขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ความมั่นคงภายในครอบครัว
Environment: การตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนของธรรมชาติ
ซึ่งในปี 2567 โครงการ Digital Vaccine ภายใต้การดูแลของสมาคม D-TECH ได้รับการจัดตั้งเป็น Digital
...
Vaccine Powered by DQ ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลที่ได้รับการยอมรับและเป็นสมาคมเดียวในประเทศไทยที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง หลังได้รับการจัดตั้งเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 โดยนำมาตรฐานดังกล่าว ในการพัฒนาเนื้อหา เพื่อนำมาปรับใช้ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ มุ่งเน้นการพัฒนาสมรรถนะทางดิจิทัล
และสร้างความตระหนักรู้ โดยสมาคม D-TECH และหน่วยงานพันธมิตร ต่างมีเป้าหมายในการพัฒนา สมรรถนะทางด้านดิจิทัลของคนไทยให้ได้มาตรฐานไทยสู่สากล
สำหรับจุดเด่นของ Digital Vaccine Powered by DQ มีดังนี้
- มาตรฐานสากล: อิงตามมาตรฐาน DQ Global Standard เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 และแนวทางปฏิบัติ OECD และ IEEE Standard Association
- ครอบคลุม: ครอบคลุมทักษะดิจิทัลที่หลากหลาย ตั้งแต่ทักษะพื้นฐานไปจนถึงทักษะที่ซับซ้อน
- ความยั่งยืน: มุ่งเน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับเป้าหมาย SDGs
- พัฒนาและปรับปรุงให้ทันสมัย: สามารถปรับเปลี่ยนเนื้อหาและรูปแบบให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย และทันกับสถานการณ์ในบริบทที่แตกต่าง ตามวุฒิภาวะประชาชน 4 ระดับ
สมาคม D-TECH ขอเชิญชวนทุกภาคส่วนร่วมมือกันในการขับเคลื่อน โครงการ Digital Vaccine เพื่อสร้างพลเมืองดิจิทัลไทยให้มีจำนวนมากที่สุดและเร็วที่สุด โดยมีเป้าหมายที่จะให้คนไทยมีความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย โดยหน่วยงานที่สามารถเข้าร่วมได้หลากหลาย ดังนี้
- หน่วยงานภาครัฐ ช่วยสนับสนุนนโยบายและงบประมาณ นำร่อง ร่วมพัฒนาหลักสูตรและเนื้อหาการเรียนรู้ เทียบเคียงวัตถุประสงค์ของหน่วยงานเป็นมาตรฐานไทยสู่สากล
- ภาคเอกชน สนับสนุนทรัพยากรบุคคล เทคโนโลยี และความรู้
- สถาบันการศึกษา บูรณาการหลักสูตร หรือเข้าร่วมกิจกรรม Digital Vaccine
- องค์กรภาคประชาสังคม สร้างความตระหนักรู้และส่งเสริมการเข้าถึงเทคโนโลยี
- ประชาชน เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ และพัฒนาตนเองให้เป็นพลเมืองดิจิทัล สู่มาตรฐานสากล (Global Netizen)
...
ข้อมูลเพิ่มเติม ติดตามได้ที่เว็บไซต์สมาคม D-TECH และเว็บไซต์โครงการ Digital Vaccine