ศูนย์การแพทย์จีโมนิกส์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ได้รับการรับรองเป็นผู้ให้บริการด้านเวชศาสตร์จีโนมแห่งแรกในประเทศไทย จากกระทรวงสาธารณสุข พร้อมชูการตรวจยีนเชิงป้องกัน เพื่อสุขภาพดีแบบยั่งยืน

การแพทย์จีโนมิกส์ (Genomic Medicine) หรือ เวชศาสตร์จีโนม หนึ่งในความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่น่าสนใจ ได้ใกล้เข้ามาพลิกโฉมการรักษา ป้องกันโรคที่แม่นยำ เพื่อสุขภาพที่ยั่งยืนในอนาคตของประเทศไทยแล้ว

โดยการแพทย์จีโนมิกส์เป็นการศึกษายีน จากนักวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมากกว่า 2 หมื่นยีนของมนุษย์ ที่ชื่อว่า จีโนม ซึ่งสามารถทำให้รับรู้ได้ถึงสิ่งที่ร่างกายสามารถส่งต่อถึงรุ่นลูกและหลาน เช่น สีผิว เส้นผม ความแข็งแรง และสมรรถภาพ

นอกจากนี้ยังสามารถบ่งชี้ถึงการเกิดโรค และความผิดปกติทางร่างกาย เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคทางพันธุกรรม และอีกมากมาย ดังนั้นการนำเทคโนโลยีจีโนมิกส์มาใช้ เพื่ออ่านค่า ประมวลผลข้อมูลของความแม่นยำ ความแตกต่างที่ก่อให้เกิดโรค เพื่อป้องกันโรคร้ายแรงที่เกิดขึ้นในอนาคต และเป็นเทคโนโลยีที่ตรวจสอบเพียงครั้งเดียว ก็สามารถเก็บนำไปเป็นข้อมูลใช้ได้ในอนาคตและตลอดไปทั่วโลก

...

นพ.ชนินทร์ ลิ่มวงศ์ แพทย์เฉพาะทางด้านเวชพันธุศาสตร์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า "ความสำคัญของการบริบาลทางการแพทย์ด้วยการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ซึ่งสามารถตรวจวิเคราะห์ถอดรหัสยีนได้อย่างแม่นยำ เพื่อบ่งบอกแนวทางการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย โดยเฉพาะการรักษาโรคซับซ้อน และเพื่อประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรคบางชนิดที่สามารถส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงโรคอื่นๆ ที่มีสาเหตุจากพันธุกรรม และถ่ายทอดทางพันธุกรรม ในปัจจุบันมีการตรวจรหัสพันธุกรรมเชิงลึก โดยการถอดรหัสพันธุกรรมของยีนทั้งหมดในมนุษย์ (Whole Exome Sequencing) ที่ช่วยค้นหายีนในโรคทางพันธุกรรมที่ไม่สามารถคาดเดาได้ ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคหายาก"

นพ.ชนินทร์ ลิ่มวงศ์ แพทย์เฉพาะทางด้านเวชพันธุศาสตร์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
นพ.ชนินทร์ ลิ่มวงศ์ แพทย์เฉพาะทางด้านเวชพันธุศาสตร์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

"การตรวจยีนของคู่สมรสที่วางแผนการตั้งครรภ์ ก็สามารถจะช่วยคัดกรองและป้องกันความเสี่ยงของการเกิดโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่อาจส่งผลกระทบต่อบุตรได้ ทางศูนย์การแพทย์จีโมนิกส์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ มีการตรวจยีนแฝงที่สามารถช่วยเรื่องการวางแผนการมีบุตร ไม่ว่าจะเป็นการตรวจหาความผิดปกติของยีนคู่สมรสที่สามารถส่งต่อโรคไปยังบุตร การตรวจหาความผิดปกติของยีนก่อเกิดโรคในทารก การตรวจหาโรคทางพันธุกรรมในทารกที่ยังอยู่ในครรภ์มารดา รวมถึงการตรวจหาความผิดปกติของยีนในตัวอ่อนก่อนฝังเข้าสู่โพรงมดลูก ในกรณีที่ผสมตัวอ่อนด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ เช่น การทำเด็กหลอดแก้ว"

นอกจากนี้เทคโนโลยีการตรวจยีนนี้ยังแสดงถึงความผิดปกติทางเภสัชพันธุศาสตร์อีกด้วย เช่น การแพ้ยา การตอบสนองต่อตัวยา รวมไปถึงปริมาณยาที่เหมาะสมของผู้ป่วยในแต่ละรายได้อีกด้วย

ศ.ดร.ภก. ชลภัทร สุขเกษม ที่ปรึกษาด้านเภสัชพันธุศาสตร์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
ศ.ดร.ภก. ชลภัทร สุขเกษม ที่ปรึกษาด้านเภสัชพันธุศาสตร์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

...

“ปัจจุบันมีการนำนวัตกรรมการตรวจยีนเพื่อเลือกใช้ยาเฉพาะบุคคล” หรือที่เรียกว่า “เภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยำ (Pharmacogenomics and Precision Medicine)” มาใช้เพื่อการดูแลผู้ป่วย และผู้มารับบริการ เพื่อลดความเสี่ยงในการแพ้ยา รวมถึงเพื่อให้แพทย์สามารถจ่ายยาได้ในปริมาณที่เหมาะสม และเกิดประสิทธิภาพสูงสุดกับผู้ป่วยแต่ละบุคคล” 

“โดยโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ได้นำนวัตกรรมการตรวจยีนเพื่อการปรับขนาดยาเฉพาะบุคคลมาใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยในกลุ่มโรคต่างๆ ด้วยการดำเนินงานภายในห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสากลในระดับสากล ที่มีจุดเด่นในการตรวจวิเคราะห์ยีนที่ครอบคลุมทุกกลุ่มประชากร ในกลุ่มผู้ป่วยทุกเชื้อชาติ และสามารถแปลผลได้อย่างถูกต้องแม่นยำตามมาตรฐานคุณภาพความปลอดภัยและมอบความมั่นใจสูงสุดให้กับผู้ป่วย” ศ.ดร.ภก. ชลภัทร สุขเกษม ที่ปรึกษาด้านเภสัชพันธุศาสตร์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าว

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ยังเป็นแหล่งฝึกอบรมเภสัชกรเฉพาะทางด้านเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยำ รวมถึงเป็นสถาบันร่วมในการเสริมสร้างและสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์เฉพาะทางที่มีความเชี่ยวชาญในด้านเวชพันธุศาสตร์ที่หลากหลาย เช่น แพทย์ นักเทคนิคการแพทย์ และผู้ให้คำปรึกษาด้านพันธุกรรม (Genetic Counselor)

...

ไม่เพียงเท่านั้น ศูนย์เวชศาสตร์จีโนมของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ยังมีการศึกษาวิจัยทางเภสัชพันธุศาสตร์เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ เพื่อพัฒนาระบบการให้บริการด้านเภสัชพันธุศาสตร์อย่างต่อเนื่อง และยังสามารถต่อยอดไปใช้ในการแพทย์เชิงป้องกันในผู้มารับบริการที่มีสุขภาพดี เพื่อให้ผู้มารับบริการมีข้อมูลพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองต่อยาติดตัว และสามารถเชื่อมโยงกับระบบบริการสุขภาพแบบองค์รวมได้ นอกจากนี้ยังดำเนินการขยายการเข้าถึงการตรวจโดยระบบ Home Healthcare และร้านยาใกล้บ้าน ให้ได้รับการรักษาด้วยยาที่มีความปลอดภัยสูงสุดและเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนไทย

เทคโนโลยีนี้จากศูนย์การแพทย์จีโมนิกส์จึงสำคัญอย่างมากต่อการกำหนดโรครายบุคคล เพื่อให้เราได้รับรู้ถึงความเสี่ยงล่วงหน้า และหาแนวทางป้องกัน รวมถึงเป็นข้อมูลให้ผู้ที่รับบริการได้เลือกรักษาตามความเหมาะสม โดยใช้ข้อมูลของยีนเป็นตัวกำหนดในการเลือกภาพลักษณ์สุขภาพในระหว่างที่เติบโตขึ้น

เทคโนโลยีนี้นับเป็นความก้าวหน้าที่ผลิกโฉมการแพทย์ทั่วโลก และคุณภาพชีวิตของประชากร โดยสามารถนำการตรวจยีนนี้มาวางแผนการใช้ชีวิต การป้องกันโรค หลีกเลี่ยงสาเหตุที่เกิดโรค นอกจากนี้ยังสามารถนำผลการตรวจมาวินิจฉัยโรคเฉพาะเจาะจงบุคคลมากยิ่งขึ้น เพื่อกำหนดแนวทางการรักษา เพื่อความแข็งแรง และอายุขัยที่ยืนยาว โดยมีคุณภาพมากขึ้น

ปัจจุบันโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ คือ โรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกของประเทศไทยที่ได้รับการรองรับให้เป็นผู้บริการด้านเวชศาสตร์จีโนมจากกระทรวงสาธารณสุข เพื่อค้นหาความเสี่ยงต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง และโรคหัวใจ รวมไปถึงวินิจฉัยด้วยเภสัชพันธุศาสตร์การแพทย์ที่แม่นยำ ป้องกันโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมในรุ่นถัดไป เพื่อต่อยอดและป้องกัน โดยเทคโนโลยีที่ถอดรหัสพันธุกรรมแบบคู่ขนาน มีห้องปฏิบัติงานของตนเอง ทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการรับรอง เพื่อต่อยอดเป็นสถาบันด้านวิชาการแพทย์จีโมนิกส์ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ

...

ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับการรักษาได้ที่ ศูนย์เวชศาสตร์จีโนมบำรุงราษฎร์ (Bumrungrad Genomic Medicine Center) โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ชั้น 3 อาคาร B (โรงพยาบาล) เวลาทำการ 08.00-18.00 น.

ภาพ : istock