คำว่า Work life balance ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่กลายเป็นกระแสมาแรงจากการที่ CEO แบรนด์ดังขวัญใจคนรุ่นใหม่ อย่าง รวิศ หาญอุตสาหะ CEO แบรนด์ศรีจันทร์ โพสต์ถึงการทำงานในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ที่คนทำงานแบบ Work life balance จะอยู่ยาก แต่การ Work hard to survive ทำงานหนักถึงจะอยู่รอด ส่งผลให้เกิดเสียงแตกออกเป็นสองฝ่าย ที่มีทั้งคนเห็นด้วยและเห็นต่าง ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการ Work life balance ให้อยู่รอด จะเป็นไปได้ไหม และต้องทำอย่างไร

ทีมไลฟ์สไตล์ไทยรัฐออนไลน์ได้มีโอกาสพูดคุยกับ คุณดวงพร พรหมอ่อน กรรมการผู้จัดการ Jobsdb by SEEK เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว ว่าการจะ Work life balance ให้อยู่รอดในยุคเศรษฐกิจฝืดเคือง คนทำงานจะต้องปรับตัวอย่างไรเพื่อให้ตอบโจทย์องค์กร และได้ใช้ชีวิตที่ดีไปพร้อมกัน

คุณดวงพร พรหมอ่อน กรรมการผู้จัดการ Jobsdb by SEEK
คุณดวงพร พรหมอ่อน กรรมการผู้จัดการ Jobsdb by SEEK

...

“Work life balance เป็นแนวคิดที่คนทำงานมองว่าคนเราไม่ควรทำงานหนักจนตัวตาย แต่ก็ไม่ได้หมายถึงการทำงานแค่อาทิตย์ละ 2-3 วัน ซึ่งการ Work life balance ให้อยู่รอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ คนทำงานต้องตอบโจทย์องค์กรให้ได้ ด้วยการวางแผนว่าจะ Work life balance อย่างไร”

เพราะการ Work life Balance ที่สามารถอยู่รอดได้ในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้และเป็นที่ต้องการขององค์กร คือคนที่วางแผนการทำงานเป็น โดยทำงานภายในระยะเวลากำหนด พร้อมทั้งผลิตผลงานอย่างมีประสิทธิภาพตามที่องค์กรวางเป้าหมายไว้ ทำให้มีเวลาไปดูแลครอบครัว ดูแลตัวเอง ได้อย่างที่ใจต้องการ ซึ่งเรียกว่าการทำงานแบบ “Work smart”

ภาพจาก iStock
ภาพจาก iStock

“คนที่มี Work life balance แล้ววางแผนได้ดีก็มี นั่นคือการ Work smart เพราะ Work life balance ไม่เท่ากับการทำงานอาทิตย์ละ 2-3 วัน เพราะบริษัทจ้างให้เรามาทำงานอาทิตย์ละ 5-6 วัน ไม่ได้หมายความว่าไปที่ทำงานแล้วทำงานจนหมดวันไปแต่ไม่มีผลงาน แบบนี้ก็ไม่ใช่ Work smart แต่ต้องกลับมามองตัวเองว่า เราไปที่ทำงานมีการวางแผนทำงานยังไง ไปถึงแล้วเดินไปเดินมา หมดไปแล้วครึ่งวัน ออกไปกินข้าว กลับมาทำงานนิดหน่อยแล้วยังไม่เสร็จ ต้องทำงานต่อจนดึกแล้วค่อยกลับบ้าน แบบนี้ไม่เรียกว่า Work hard และไม่ใช่ Work smart ด้วย ดังนั้นจึงต้องตีความให้ดี ถ้าเราอยากมี Work life balance ที่ดี เราต้อง Work smart”

การนำเทคโนโลยี เช่น AI มาช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงาน จะทำให้เราทำงานได้เร็วขึ้น และนำไปสู่การ Work smart เพื่อสร้าง Work life balance ได้ (ภาพจาก iStock)
การนำเทคโนโลยี เช่น AI มาช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงาน จะทำให้เราทำงานได้เร็วขึ้น และนำไปสู่การ Work smart เพื่อสร้าง Work life balance ได้ (ภาพจาก iStock)

นอกจากนี้การนำเทคโนโลยี เช่น AI เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกให้การทำงานรวดเร็วขึ้น และเกิดผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามเป้าหมายที่องค์กรต้องการ รวมทั้งการเพิ่มพูนทักษะ (Upskill) ที่ขาดหายไปเพื่อช่วยให้การทำงานแล้วเกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุดสำหรับองค์กร ก็เป็นหนึ่งในวิธีการทำงานแบบ Work smart ด้วยเช่นกัน

...

ดังนั้นการ Work smart ที่ดี ต้องเริ่มตั้งแต่วางแผนการทำงานในแต่ละวัน จัดลำดับความสำคัญของงาน เพื่อใช้เวลาสร้างสรรค์งานได้อย่างมีประสิทธิภาพภายในเวลาที่กำหนดแต่ละวัน พร้อมทั้งนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยบริหารจัดการและอำนวยความสะดวกการทำงานให้รวดเร็วขึ้น รวมทั้งการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ เพื่อใช้สร้างสรรค์ผลงานให้ดีขึ้น ก็จะช่วยให้เราสามารถ Work life balance ชีวิตได้ตามไปด้วย

การ Work smart ด้วยการวางแผนจัดตารางเวลาทำงานและสร้างผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพภายในเวลาที่กำหนด ทำให้เรามีเวลาให้กับครอบครัวและตัวเองากขึ้น (ภาพจาก iStock)
การ Work smart ด้วยการวางแผนจัดตารางเวลาทำงานและสร้างผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพภายในเวลาที่กำหนด ทำให้เรามีเวลาให้กับครอบครัวและตัวเองากขึ้น (ภาพจาก iStock)

...

“เราแทบจะไม่ต้องทำงานล่วงเวลาเลยถ้าหากเราวางแผนการทำงานเป็น การทำงาน 8 ชั่วโมง สามารถทำงานให้ดีได้ ไม่ว่าจะอยู่ที่ออฟฟิศ หรืออยู่ที่บ้าน ก็ทำได้หมด ดังนั้นถ้าจะอยู่รอดคือการ Work smart เพื่อให้เรามี Work life balance ถ้าเราวางแผนเป็น จัดเวลาได้ ทำงานในเวลาที่กำหนดและสามารถเกิดผลงานให้องค์กรได้ นี่คือการใช้เวลาอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลด้วย จึงจะตอบโจทย์องค์กรและเราได้ Work life balance ไปด้วย ก็เป็นการทำงานที่ทำให้เราสามารถอยู่รอดได้”

คนทำงานที่องค์กรต้องการในภาวะเศรษฐกิจฝืดเคือง

ในฐานะบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านการคัดสรรพนักงานให้กับองค์กรต่างๆ คุณดวงพรบอกว่า สิ่งที่องค์กรทั่วไปมองหาในตัวพนักงานในยุคนี้ก็คือ คนที่อยากพัฒนาตัวเองตลอดเวลา (Growth mindset), มีทัศนคติที่ดี, มีความมุ่งมั่นในการทำงาน, สามารถทำงานเป็นทีมได้แล้ว และที่สำคัญคือต้องเป็นคนที่สร้างผลงานให้ตอบโจทย์องค์กรได้ด้วย

แต่สิ่งเหล่านี้ก็อาจจะสวนทางกับคนหางานหลายคนที่ตอนนี้อยากได้การทำงานแค่ 2-3 วันต่ออาทิตย์ ซึ่งอาจจะหมายถึงการทำงานแบบไฮบริด คือทำงานที่ทำงานครึ่งหนึ่งและอีกครึ่งหนึ่งคือทำงานที่บ้านก็ได้ แต่ไม่ว่าจะทำงานที่ไหน สิ่งที่บริษัทต้องการคือคนที่มีผลงานให้กับบริษัทอย่างต่อเนื่อง

ภาพจาก iStock
ภาพจาก iStock

...

“ส่วนการ Work hard to survive คิดว่าควรบิดอีกนิดหนึ่งเป็นการ Work smart ให้สามารถอยู่รอดโดยตอบโจทย์องค์กรได้จะดีกว่า ถ้าทำแบบนี้ได้เราจะเป็นที่ต้องการ หากโฟกัสที่ Work life balance แต่ไม่ดูว่าเรามีผลงานให้บริษัทหรือเปล่า จะเป็นการโฟกัสผิดจุดแล้ว เพราะเราต้องทำประโยชน์ให้กับบริษัทได้ด้วย”

พนักงานและองค์กรต้องปรับตัวอย่างไรเพื่อให้อยู่รอดและมีความสุขไปพร้อมกัน

คุณดวงพร มองว่า การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดในเศรษฐกิจแบบนี้ ทางที่ดีที่สุดคือ “การสื่อสารที่ชัดเจน” ระหว่างองค์กรและพนักงาน ว่าตอนนี้มีความคาดหมายอะไร และวางเป้าหมายไว้อย่างไรบ้าง เพื่อให้พนักงานมีการวางแผนทำงานได้อย่าง Work smart และมี Work life balance ไปพร้อมกัน

“ด้านพนักงานเองเมื่อรู้แล้วว่าองค์กรอยากได้อะไรก็ควรไปวางแผนให้ดี แล้วทำได้ตามเป้า และสามารถจัดการเวลาของตัวเองได้ สิ่งที่เราจะได้ก็คือการ Work smart โดยเอาเทคโนโลยีมาใช้ให้เราทำงานสะดวกขึ้น เร็วขึ้น และโฟกัสได้มากขึ้น เพื่อที่เราจะได้มีเวลาไปดูแลสุขภาพตัวเอง ดูแลครอบครัว และมีแรงกลับมาทำงานได้”

ภาพจาก iStock
ภาพจาก iStock

ขณะเดียวกัน ปัจจุบันหลายองค์กรก็มีการดูแลพนักงานทั้งร่างกายและจิตใจ มากกว่าแค่การมีประกันสังคม หรือประกันสุขภาพเท่านั้น แต่มีการดูแลสิทธิประโยชน์ของพนักงาน รวมทั้งช่วยสนับสนุนการดูแลสุขภาพของพนักงานให้แข็งแรงและสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

รวมถึงการสนับสนุนให้พนักงานสามารถ Work smart ได้ นั่นคือการช่วยเพิ่มพูนทักษะ (upskill / reskil) ที่จำเป็นกับการทำงานให้พนักงาน รวมถึงการนำเอาเทคโนโลยีมาช่วยอำนวยความสะดวกให้พนักงานสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้พนักงานมีเวลาให้กับครอบครัวและตัวเองได้

เพราะฉะนั้นการจะปรับตัวให้อยู่รอดในยุคนี้ได้ ในมุมมองทางด้าน HR ไม่ใช่การ Work hard to survive แต่เป็นการ Work smart ด้วยการวางแผนทำงานและจัดสรรเวลาเพื่อสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพภายในระยะเวลาทำงานที่กำหนด เพื่อให้เกิด Work life balance ที่มีเวลาไปดูแลตัวเองและครอบครัวได้อย่างมีความสุข.