สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) หรือ Hakuhodo Institute of Life and Living ASEAN ได้เปิดผลสำรวจฉบับพิเศษสำหรับภาพรวมครึ่งปีแรก เรื่อง การคาดการณ์พฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในประเทศไทย เผยให้เห็นถึงกระแสความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปตามเทรนด์ ด้วยมุมมอง และกระแสใหม่นี้ ทำให้ภาพรวมคะแนนความต้องการในการใช้จ่ายของคนไทยในครึ่งปีแรกมีค่าเฉลี่ยที่สูงขึ้นว่าปีที่ผ่านมา โดยอยู่ที่ 66 คะแนน ในขณะที่ช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 64 คะแนน

ผลสำรวจฉบับนี้ นับว่าเป็นผลสำรวจฉบับพิเศษที่รวบรวมผลรวมจากครึ่งปีแรก มาเมื่อเทียบกับผลสำรวจประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2566 นับว่ามีพฤติกรรมที่ดีขึ้นกว่าแต่ก่อน โดยเฉพาะในเทศกาลต่างๆ ที่คนไทยได้ใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ผ่านประสบการณ์ใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นเทศกาลตรุษจีน เทศกาลสงกรานต์ที่จัดงานอย่างยิ่งใหญ่ และล่าสุดกับการฉลอง Pride Month ที่จัดขึ้นทั่วประเทศในฐานะ Top Pride Friendly Destination สำหรับชาว LGBTQ+ ทั่วโลก ทั้งที่ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ พัทยา ภูเก็ต และเกาะสมุย โดยมีทั้งการเดินขบวนพาเหรด การแต่งตัวอย่างสร้างสรรค์ และการจัดนิทรรศการศิลปะ

กรรณ ทองศรี ผู้จัดการส่วนวางแผนกลยุทธ์ ได้เผยข้อมูลที่น่าสนใจสำหรับการทำผลสำรวจฉบับพิเศษนี้ว่า “สามารถชี้มุมมองของคนไทยผ่านสิ่งใหม่ๆ ที่ทำให้แนวโน้มหลายๆ อย่างของคนไทยมีการปรับเปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นเทศกาลต่างๆ ที่ประเทศไทยได้จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ เพื่อเพิ่มโอกาสในการท่องเที่ยว และการจับจ่ายเพื่อเติมความสุขของคนไทย รวมไปถึงข่าวสารบ้านเมืองที่เกิดขึ้นรายวัน มีส่วนช่วยกระตุ้นความสนใจให้กับคนไทยเป็นอย่างมาก” 

ลำดับแรก การเปิดประสบการณ์ที่มากกว่า ช่วยกระตุ้นคนไทยใช้จ่ายมากขึ้น โดยภาพรวมครึ่งแรกของปีนี้ กลับมามีสีสัน และคึกคักกว่าที่เคยด้วยโอกาสที่เปิดกว้างมากยิ่งขึ้น ทำให้คนไทยสามารถเอ็นจอยกับประสบการณ์ใหม่ๆ ได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น กางเกงช้าง ที่กลับมาฮิตติดกระแสจากการโปรโมตของรัฐบาล รวมไปถึงกระแส Art Toy ที่กำลังเป็นที่นิยมในวงกว้าง ยังรวมไปถึงประสบการณ์ความบันเทิงต่างๆ ทั้งจากศิลปินจากไทย เกาหลี และตะวันตก ที่มาจัดแสดงคอนเสิร์ตกันไว้เว้นแต่ละเดือน ส่งผลให้ภาพรวมค่าเฉลี่ยในการช็อปของคนไทยปรับตัวขึ้นมาเป็น 66 คะแนน ในขณะที่ช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 64 คะแนน

...

ส่วนต่อมา คือ บรรยากาศสดใส แต่ใจยังสุขไม่สุด ภาพรวมคะแนนความสุขคนไทยทรงตัวไม่เพิ่ม และไม่ลด โดยในครึ่งปีแรกนี้ ความสุขของคนไทยยังคงทรงตัว ด้วยปัจจัยหลายอย่างที่เข้ามาช่วยฟื้นฟูจิตใจของคนไทย แต่ก็ยังมีปัจจัยแฝงที่ทำให้คนไทยมีความสุขได้อย่างไม่เต็มที่ ไม่ว่าจะเป็น ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและสังคม ข่าวสารบ้านเมืองที่เกิดขึ้นรายวัน ยังนับว่าเป็นความท้าทายหลักของคนไทย โดยเฉพาะค่าครองชีพที่สูงขึ้นและอากาศที่ร้อนจากปรากฏการณ์เอลนีโญทั้งหมดนี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสุขของคนไทย

นอกจากนี้ความต่างวัย ต่างใจ ต่างจ่าย ทำให้งานเทศกาล เป็นโอกาสจับจ่ายสำคัญสำหรับตัวเอง และครอบครัว กว่าครึ่งของคนไทยใช้ช่วงเวลาเทศกาลเป็นโอกาสและเหตุผลพิเศษในการใช้จ่าย และที่น่าสนใจคือ 29% เน้นใช้จ่ายเพื่อ Self-Love และยังมีอีกจำนวนไม่น้อยที่เลือกใช้จ่ายเพื่อ Family-Love และเมื่อแยกเป็นภาพรวมความต้องการใช้จ่ายตามช่วงอายุจะเห็นได้ดังนี้

  • วัย 40-49 ปี เน้นใช้จ่ายช่วงเทศกาลตามธรรมเนียมประเพณีรวมไปถึงการใช้จ่ายเพื่อคนใน ครอบครัว 
  • วัย 20-29 ปี มีแนวโน้มหยุดพักการใช้จ่ายเพื่อรอจังหวะที่เหมาะสมหรือช่วงเวลาแห่งโปรโมชัน

จากกระแส และเทรนด์ใหม่ที่กำลังเป็นที่น่าจับตามอง ธีรเมศร์ นิติจรรยาวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ ได้ให้คำแนะนำกับเพื่อนำไปปรับใช้ให้เข้ากับความต้องการของผู้บริโภคไว้ 3 ข้อ ดังนี้

BrandFest : Celebrate the values that brand believes in. 

เทศกาลต่างๆ นับว่าเป็นโอกาสสำคัญในการจับจ่าย ด้วยโอกาสนี้แบรนด์สามารถสร้างโอกาสในการขายได้ด้วยการสร้างเทศกาลประจำแบรนด์ขึ้นมา เพื่อสร้างภาพที่น่าจดจำ และเปิดประสบการณ์ใหม่ เพื่อสะท้อนค่านิยม และความเชื่อของแบรนด์

Emphasize Thainess : Set brand’s communication mood & tone with Thai identity. 

การเชื่อมโยงแบรนด์กับคนไทยด้วยความเป็นไทย โดยแบรนด์สามารถเพิ่มคาแรกเตอร์แบบไทยๆ ให้กับตัวตนของแบรนด์ได้ เช่น ความเป็นมิตร ความใจดี และอารมณ์ดี หรือการเปิดกว้างในการรับสิ่งใหม่ๆ เช่น การทำ Realtime Marketing Implication เติมลูกเล่นเพิ่มสีสันในการพูดคุยกับแฟนเพจด้วยศัพท์ใหม่ที่ฮิตติดกระแส

New wave of Mutelu : Adopt Mutelu to be one of brand’s signature. 

มูเตลู เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่อยู่คู่กับคนไทยมานาน โดยเฉพาะเมื่อคนไทยยังต้องเจอกับความไม่แน่นอนในสังคม ดังนั้นแบรนด์สามารถใช้โอกาสนี้ในการก้าวไปสู่การเป็นที่พึ่งทางใจให้กับคนไทย ผ่านการเชื่อมโยงเรื่องมูๆ ให้มาเป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์แบบถาวร เช่น ทริปไหว้ แวะ เที่ยว เสริมความปัง รับนักษัตรใหม่