ความเป็นจริงที่ซับซ้อน เรื่องราวเกี่ยวกับวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์อันหลากหลายของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถูกนำมาถ่ายทอดสู่สายตาชาวโลกให้ตะลึง ผ่านผลงานศิลปะกว่า 40 ชิ้น จาก 15 ศิลปินทัพหน้าของอาเซียน ที่ผนึกกำลังกันไปโชว์ไกลถึงเมืองเวนิส เพื่อร่วมสร้างสีสันให้งาน “มหกรรมศิลปะนานาชาติ เวนิส เบียนนาเล่ ครั้งที่ 60” (The 60 th Inter national Art Exhibition, La Biennale di Venezia) ณ Palazzo Smith Mangilli Valmarana ประเทศอิตาลี ตั้งแต่วันนี้ ถึง 24 พฤศจิกายน 2024

งานนี้เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่าง “มูลนิธิ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่” ภายใต้การนำของ “ศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ โปษยานนท์” และ “บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)” พร้อมเครือข่ายพันธมิตรทุกภาคส่วน เพื่อนำเสนอผลงานของศิลปินจากเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ ที่ได้สำรวจเรื่องราวการย้ายถิ่น, การพลัดถิ่น และการล่าอาณานิคมข้ามทะเล ผ่านนิทรรศการ “The Spirits of Maritime Crossing : วิญญาณข้ามมหาสมุทร” ออกสู่สายตาชาวโลก ในงาน “มหกรรมศิลปะนานาชาติ เวนิส เบียนนาเล่ ครั้งที่ 60” (The 60th International Art Exhibition, La Biennale di Venezia)

...

ภายในนิทรรศการ “The Spirits of Maritime Crossing” ประกอบด้วยสื่อหลากหลายประเภท ทั้งภาพวาด, ประติมากรรม, สื่อผสม และวิดีโอจัดวาง โดยศิลปิน 15 คน จากกัมพูชา, อินโดนีเซีย, ลาว, เมียนมา, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, เวียดนาม และประเทศไทย ร่วมนำเสนอความเป็นจริงที่ซับซ้อนชวนพิศวงทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของภูมิภาคอาเซียน ควบคู่ไปกับคำบอกเล่าของชาวตะวันตกและเมืองเวนิสที่มีอัตลักษณ์แตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง

...

ในฐานะประธานอำนวยการ และผู้อำนวยการศิลป์ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ และภัณฑารักษ์นิทรรศการครั้งนี้ “ศ.ดร.อภินันท์” บอกเล่าว่า เรามีความยินดีที่ได้นำเสนอผลการสำรวจของศิลปินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แก่ผู้ชมนานาประเทศในซีกโลกเหนือ ก่อนที่งาน เบียนนาเล่ของกรุงเทพฯ จะโหมโรงขึ้นในเดือนตุลาคม 2024 และถือเป็นเกียรติที่ภาพ ยนตร์สั้นเรื่องใหม่นำแสดงโดย “มารีนา อบราโมวิช” ศิลปินชื่อก้องโลก ผู้ชนะรางวัลโกลเด้น ไลออน จากเทศกาลเวนิส เบียนนาเล่ ปี 1997 ได้ร่วมอยู่ในนิทรรศการครั้งนี้ด้วย โดยเนื้อหาภาพยนตร์และนิทรรศการเป็นเรื่องราว การเดินทางทางทะเล, การย้ายถิ่น และการพลัดถิ่น สัมพันธ์โดยตรงกับนิทรรศการหลัก

...

...

สำหรับรายชื่อ 15 ศิลปินจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีตั้งแต่ศิลปินชื่อดังไปจนถึงศิลปินหน้าใหม่มากพรสวรรค์ นำโดย “มารีนา อบราโมวิช” (เซอร์เบีย-สหรัฐอเมริกา), “พิเชษฐ กลั่นชื่น” (ไทย), “ปรียากีธา ดีอา” (สิงคโปร์), “จิตติ เกษมกิจวัฒนา” (ไทย), “นักรบ มูลมานัส” (ไทย), “จอมเปท คุสวิดานันโต” (อินโดนีเซีย), “บุญโปน โพทิสาน” (ลาว),“อัลวิน รีอามิลโล” (ฟิลิปปินส์), “คไว สัมนาง” (กัมพูชา), “โม สัท” (เมียนมา-เนเธอร์แลนด์), “จักกาย ศิริบุตร” (ไทย), “เจือง กง ตึง” (เวียดนาม), “นที อุตฤทธิ์” (ไทย), “กวิตา วัฒนะชยังกูร” (ไทย) และ “หยี่ อิ-ลาน” (มาเลเซีย)

ถือเป็นการเดินทางจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปยังเวนิส ผ่านประสบการณ์ทางวัฒนธรรมและการพลัดถิ่นในมุมมองของผู้อยู่ห่างไกลทั้งกายและใจจากบ้านเกิดของตน ข้อสังเกตที่น่าสนใจคือแม้ศิลปินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีความคล้ายคลึงกันหลายประการ แต่ขณะเดียวกันก็มีความแตกต่างในด้านชาติพันธุ์, ศาสนา และภาษาด้วย ก่อให้เกิดมรดกทางวัฒนธรรมแบบลูกผสม ซึ่งปรากฏให้เห็นในลักษณะของผู้ลี้ภัย, ผู้อพยพ และคนไร้สัญชาติ

ร่วมติดตามข่าวสาร และตารางกิจกรรมของเทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ (Bangkok Art Biennale) ได้ทาง Facebook และ Instagram : Bkkartbiennale

อ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่