การจ้องหน้าจอเป็นเวลานาน การติดโทรศัพท์ หรือ Digital Eye Strain (DES) เป็นพฤติกรรมที่อาจทำให้เกิดการใช้สายตามากเกินจำเป็น ส่งผมทำให้ปวดตา เสี่ยงมีปัญหาสายตา ซึ่งทำให้เรามีอาการตาล้า และมองเห็นภาพไม่ชัดได้ในอนาคต โดยทางรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ออกมาเปิดเผยว่า มีค่าดูแลสุขภาพสายตาของประชาชนเพิ่มขึ้นเป็นมูลค่ากว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ปัจจุบันเทรนด์ และพฤติกรรมการใช้ชีวิตได้เปลี่ยนไป มนุษย์มีการใช้อุปกรณ์ดิจิทัล เทคโนโลยี หรือโทรศัพท์มากขึ้น ซึ่งอาจเป็นหนึ่งสิ่งที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพได้เร็วโดยเฉพาะ ‘ปัญหาทางสายตา’
Digital Eye Strain หรือตัวย่อ DES คือ การจ้องหน้าจอเป็นเวลานาน การติดโทรศัพท์ การใช้สายตาไปกับเทคโนโลยีเป็นเวลานานมากขึ้น เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย เนื่องจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนยุคใหม่ โดยการใช้สายตากับอุปกรณ์เทคโนโลยีนานๆ อาจทำให้มีอาการตาล้า สายตาสั้นลง และมองเห็นภาพไม่ชัด
แสงสีฟ้าตัวร้ายบนหน้าจอของอุปกรณ์เหล่านี้แล้ว บางครั้งความเพลิดเพลินบนหน้าจอ อาจทำให้ผู้ที่ใช้ลืมการกะพริบตา ส่งผลให้ดวงตาแห้ง หรือเกิดการระคายเคืองตามมา มีงานวิจัยพบว่า เมื่อเราใช้อุปกรณ์ดิจิทัล อัตราการกะพริบตาจะลดลงมากถึง 70% แถมยังส่งต่อร่างกายในด้านอื่นๆ เช่น อาการปวดคอ ปวดหลัง ปวดหัว และส่งผลถึงขึ้นเป็นโรคไมเกรนได้
ข้อมูลจาก Deloitte และ AOA (American optometric association) กล่าวถึง ผลกระทบของการใช้เวลากับหน้าจอมากเกินไปในกลุ่มประชาชนชาวสหรัฐอเมริกา พบว่าอาการที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้เสียรายได้ในการดูแลรักษา หรือค่าใช้จ่ายต่างๆ จากอุปกรณ์การดูแลสายตา รวมเป็นเงิน 51 พันล้านดอลาร์สหรัฐ, สูญเสียความเป็นอยู่ที่ดี รวมถึงคุณภาพชีวิตเป็นมูลค่า 21 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และค่าใช้จ่ายในระบบจากประกันสุขภาพราว 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
...
ผู้คนทั่วโลกใช้เวลาอยู่บนหน้าจอเฉลี่ย 6.5 ชั่วโมงต่อวัน (ข้อมูลจาก Data Reportal 2023) ชาวอเมริกันมากกว่า 104 ล้านคนใช้เวลาดูหน้าจอเป็นเวลา 7 ชั่วโมงขึ้นไป โดย 70% เป็นพนักงานออฟฟิศทั้งหมด และ 42% กับอาชีพอื่นๆ โดย 30% ของทั้งหมดใช้สายตากับหน้าจอเพียงเพื่อความบันเทิงเพียงอย่างเดียว รวมทั้งยังมีชาวอเมริกากว่า 31% ที่อยู่กับหน้าจอแสงสีฟ้าเป็นเวลาอย่างน้อย 7 ชั่วโมง ยังไม่เคยไปพบแพทย์สายตาในปี 2566 ที่ผ่านมา
โดยหากไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สายตาจากเทคโนโลยี หรือ DES อาจส่งผลทางสุขภาพในด้านอื่นๆ ร่วมด้วยได้ เช่น ปัญหาสุขภาพการนอน และปัญหาสุขภาพทางจิต
วิธีแก้ไขปัญหา และป้องกันความเสี่ยง คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สายตากับเทคโนโลยี, สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันสายตา (แว่นตา) ที่เหมาะสม รวมทั้งการหยอดตาก็สามารถช่วยได้
การตรวจสายตาเป็นประจำในทุกๆ ปี พร้อมทั้งตรวจเช็กสุขภาพอื่นๆ ร่วมด้วย เพื่อป้องกันความเสี่ยงเหล่านี้เพิ่มเติม ทั้งหมดสามารถลดค่าใช้จ่ายทางด้านสุขภาพกาย และสุขภาพจิต ตีเป็นมูลค่าเฉลี่ยปีละ 1,920 เหรียญสหรัฐ (68,540 บาท) ต่อคน
ข้อมูล : worldeconomicforum