ความมั่นใจในตัวเอง (Self confidence) มักจะมาควบคู่กับการเห็นคุณค่าในตนเอง (Self esteem) คือการยอมรับจุดเด่นของตนเอง มีความภาคภูมิใจ และแสดงออกอย่างเหมาะสม สิ่งเหล่านี้มาจากหลายปัจจัยด้วยกัน ซึ่งหล่อหลอมมาตั้งแต่วัยเด็กจนกระทั่งเติบโตเป็นผู้ใหญ่ และส่งผลต่อการใช้ชีวิตในปัจจุบัน

ผลสำรวจจากดัชนีชี้วัดความมั่นใจในตนเองของคนไทย “Self-Confidence Index” เพื่อเจาะลึกพฤติกรรมเชิงลึกของผู้บริโภคในด้านความมั่นใจ ที่เมิร์ซ เอสเธติกส์ ประเทศไทย จัดทำขึ้น โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัชราภรณ์ บุญญศิริวัฒน์ อาจารย์ประจำแขนงวิชาจิตวิทยาสังคม คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาเป็นที่ปรึกษาดูแลการวิจัยในภาพรวม พบว่าผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มประชาชนทั่วไป 1,000 ราย อายุ 18-55 ปี เผยว่าคนไทยมีระดับความมั่นใจในตนเองเฉลี่ยอยู่ที่ 84% และทุกๆ เจเนอเรชันมีระดับความมั่นใจในตนเองที่แตกต่างกันออกไปดังนี้

Gen X อายุ 42-55 ปี มีดัชนีความมั่นใจที่ 88%

เป็นช่วงวัยที่เกิดความมั่นคงทั้งทางอาชีพ ประสบการณ์ และอารมณ์ จึงมีความมั่นใจในตนเองสูงสุด และมีพฤติกรรมการดูแลตัวเองตามช่วงอายุ ใช้ชีวิตแบบปล่อยวาง แต่จะรู้สึกเติมเต็มมากยิ่งขึ้น เมื่อรักษารูปร่างและหน้าตาให้มีความอ่อนเยาว์กว่าวัย

Gen X เป็นช่วงวัยที่มีความมั่นใจในตนเองมากกว่าช่วงวัยอื่นๆ เนื่องจากมีความมั่นคงทั้งด้านการใช้ชีวิตและอารมณ์สูง ภาพจาก iStock
Gen X เป็นช่วงวัยที่มีความมั่นใจในตนเองมากกว่าช่วงวัยอื่นๆ เนื่องจากมีความมั่นคงทั้งด้านการใช้ชีวิตและอารมณ์สูง ภาพจาก iStock

...

Gen Y อายุ 26-41 ปี มีดัชนีความมั่นใจ 82%

เติบโตในช่วงเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยี และได้ผ่านประสบการณ์ในสังคมมาระยะหนึ่งแล้ว เริ่มค้นพบความต้องการและเป้าหมายที่แท้จริงของตนเองว่าอยากดูดีในรูปแบบไหน ทำให้ Gen Y เน้นการดูแลตัวเองแบบ “Prejuvenation” เพื่อคงความอ่อนเยาว์

Gen Z อายุ 18-25 ปี มีดัชนีความมั่นใจ 85%

เป็นช่วงวัยที่ได้รับอิทธิพลจากคนดังในโลกโซเชียลมีเดีย จึงมีความตื่นตัวอย่างมากกับความรู้เกี่ยวกับความงามและการดูแลผิวด้วยตนเอง ทำให้มีคะแนนความมั่นใจด้านหน้าตาและรูปร่างน้อยกว่าเจนอื่นๆ

จากการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อความมั่นใจในตนเองของคนไทยมีทั้งหมด 6 ด้าน ได้แก่

  1. ด้านรูปลักษณ์ภายนอก (appearance) 27.7%
  2. ด้านสังคมรอบตัว (social) 18.9%
  3. ด้านทัศนคติ (attitude & mindset) 18.7%
  4. ด้านการงานและการเรียน (work & study) 14.8%
  5. ด้านสุขภาพ (health) 13.9%
  6. ด้านการเงิน (income) 9.0%

เมื่อเทียบความมั่นใจในตนเองของคนไทย ซึ่งมีค่าเฉลี่ย 84% พบว่าระดับความมั่นใจในแต่ละด้านอยู่ที่

  1. ด้านทัศนคติ (attitude & mindset) 90%
  2. ด้านสังคมรอบตัว (social) 87%
  3. ด้านการงานและการเรียน (work & study) 85%
  4. ด้านสุขภาพ (health) 84%
  5. ด้านรูปลักษณ์ภายนอก (appearance) 82%
  6. ด้านการเงิน (income) 76%

จากผลสำรวจจะเห็นได้ว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อความมั่นใจในตนเองมากที่สุดของคนไทย คือ ด้านรูปลักษณ์ภายนอก (appearance) ในขณะที่ระดับคะแนนความมั่นใจในด้านรูปลักษณ์ภายนอกกลับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 82%

อย่างไรก็ตาม คนไทยส่วนใหญ่ต้องการที่จะเป็นตัวของตัวเอง แต่ยังอยากเสริมเติมแต่งเพิ่มความดูดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ ซึ่งสอดคล้องกับพฤติกรรมโซเชียลมีเดียของคนไทย ที่นิยมใช้แอปพลิเคชันในการปรับแต่งรูปให้ออกมา “เป็นตัวเองที่ดูดีขึ้น” เพื่อเสริมความมั่นใจในการใช้ชีวิต

ช่องว่างของระดับคะแนนความมั่นใจจึงเปิดโอกาสให้บริษัทฯ เดินหน้าผลักดันธุรกิจหัตถการความงาม โดยเชื่อว่าการเข้ารับบริการเสริมความงามจะเพิ่มความมั่นใจให้คนไทยอย่างยั่งยืน สะท้อนจากอินไซต์ของผลสำรวจที่พบว่าคนไทยมีคะแนนความมั่นใจในตนเองเฉลี่ยสูงถึง 91% ภายหลังจากเข้ารับบริการหัตถการความงาม และคนไทยส่วนใหญ่ยอมรับว่า การทำหัตถการความงาม เป็นหนึ่งในทางเลือกที่สำคัญ สำหรับเสริมความมั่นใจให้ตัวเองได้ เพราะเป็นการแก้ไขปัญหาและบรรเทาความกังวลต่างๆ ที่มีต่อผิวพรรณและรูปร่างตนเองได้ในเวลาอันสั้น ช่วยให้ตนเองโฟกัสชีวิตตัวเองในด้านอื่นๆ ได้อย่างสบายใจ

ทั้งนี้ Self-Confidence Index จะเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับเมิร์ซในการเจาะลึกพฤติกรรมของผู้บริโภคในไทยได้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น นำมาสู่แคมเปญการสื่อสารที่จะเพิ่มความมั่นใจคนไทยไปอีกหนึ่งขั้นในอนาคต