กุ้งเครย์ฟิช หรือล็อบสเตอร์น้ำจืด เคยเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงามที่ได้รับความนิยมในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จากนั้นได้มีการปล่อยลงสู่แม่น้ำในธรรมชาติจนกลายเป็นเอเลียนสปีชีส์ที่รุกรานสัตว์น้ำท้องถิ่นในหลายประเทศ แต่ในวันนี้กุ้งเครย์ฟิช ได้กลายมาเป็นอาหารราคาแพงของประเทศจีน ที่กำลังต่อยอดสู่ความยั่งยืนทางอาหารในปัจจุบัน

กุ้งเครย์ฟิช คืออะไร

กุ้งเครย์ฟิช หรือกุ้งล็อบสเตอร์น้ำจืด มีลักษณะก้ามขนาดใหญ่ ก้ามเรียบไม่มีหนาม ตัวผู้มีแถบสีแดงที่ปลายก้ามด้านนอก มีถิ่นกำเนิดในทวีปออสเตรเลีย นอกจากรูปร่างและสีสันสวยงามแล้ว อีกจุดเด่นหนึ่งคือมีรสชาติอร่อย ให้เนื้อสัมผัสที่คล้ายเนื้อปูผสมเนื้อกั้ง จึงแตกต่างจากกุ้งทั่วไป ทำให้กุ้งเครย์ฟิชถูกนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจในหลายๆ ประเทศ และกลายเป็นเมนูอาหารราคาแพงของประเทศจีน

ในประเทศไทยได้นําเข้ากุ้งเครย์ฟิชมาตั้งแต่ปี 2548 โดยเริ่มเลี้ยงเพื่อความสวยงามเท่านั้น ต่อมามีการทดลองเลี้ยงและเพาะพันธุ์ครั้งแรกโดยมูลนิธิโครงการหลวงดอยอินทนนท์ ร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงนํ้าจืดเชียงใหม่ กรมประมง หน่วยวิจัยประมงนํ้าจืดบนพื้นที่สูงอินทนนท์ ทําการศึกษาทดลองเลี้ยง ซึ่งได้ผลผลิตเป็นที่น่าพึงพอใจ และมีการนํากุ้งที่เป็นผลผลิตจากการเลี้ยงในรุ่นแรกเป็นวัตถุดิบ มาใช้ปรุงเป็นอาหารในงานพระราชทานเลี้ยงพระราชอาคันตุกะ ในวโรกาสงาน ฉลองสิริราชสมบัติ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2549

ในอดีตเราเคยนิยมเลี้ยงกุ้งเครย์ฟิชไว้เป็นสัตว์เลี้ยงสวยงามก่อนที่จะกลายเป็นสัตว์เศรษฐกิจ ภาพจาก iStock
ในอดีตเราเคยนิยมเลี้ยงกุ้งเครย์ฟิชไว้เป็นสัตว์เลี้ยงสวยงามก่อนที่จะกลายเป็นสัตว์เศรษฐกิจ ภาพจาก iStock

...

หลังจากนั้นมา หน่วยวิจัยประมงนํ้าจืดบนพื้นที่สูงอินทนนท์ก็ส่งเสริมให้เกษตรกรชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยง (ปกาเกอะญอ) ที่บ้านแม่กลางหลวง ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ เลี้ยงกุ้งเครย์ฟิชในนาข้าว และจากการเลี้ยงในนาข้าวของเกษตรกรที่บ้านแม่กลางหลวงดอยอินทนนท์ นํามาสู่การเลี้ยงและขยายพันธุ์กุ้งเครย์ฟิชเพื่อจําหน่ายเป็นเชิงการค้าได้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2550 เป็นต้นมา จึงแสดงถึงคุณภาพของเนื้อกุ้งชนิดนี้ว่าเป็นวัตถุดิบชั้นดี มีคุณภาพสูงที่ใช้ในการประกอบอาหาร จึงกลายเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่น่าลงทุนอยางมาก อีกทั้งสภาพนํ้าและภูมิอากาศที่เหมาะสมของประเทศไทยสามารถจะเพาะเองได้

ความยั่งยืนทางอาหารคืออะไร

ความยั่งยืนทางอาหาร ประกอบด้วยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคน ทุกช่วงเวลา และทุกกิจกรรมที่เชื่อมโยงกันในการสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้กับการผลิต การรวบรวม การแปรรูป การกระจาย การบริโภค และการกำจัดผลิตภัณฑ์อาหารที่มาจากภาคการเกษตร ภาคป่าไม้ หรือภาคประมง และรวมถึงบางส่วนของเศรษฐกิจ สังคม และสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ที่มีความเกี่ยวข้องกับระบบอาหาร

ระบบอาหารประกอบด้วยระบบย่อย (เช่น ระบบการเกษตร ระบบการจัดการของเสีย ระบบปัจจัยการผลิต ฯลฯ) และปฏิสัมพันธ์กับระบบสำคัญอื่นๆ (เช่น ระบบพลังงาน ระบบการค้า ระบบสุขภาพ ฯลฯ) ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างในระบบอาหารอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบอื่น เช่น นโยบายส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพที่มากขึ้นในระบบพลังงานจะมีผลกระทบอย่างมากต่อระบบอาหาร

กุ้งเครย์ฟิชมีรสชาติอร่อยและมีเนื้อสัมผัสที่แตกต่างจากกุ้งทั่วไป จึงเป็นที่นิยมในหลายๆ ประเทศทั่วโลก ภาพจาก iStock
กุ้งเครย์ฟิชมีรสชาติอร่อยและมีเนื้อสัมผัสที่แตกต่างจากกุ้งทั่วไป จึงเป็นที่นิยมในหลายๆ ประเทศทั่วโลก ภาพจาก iStock

ดังนั้นความยั่งยืนทางอาหาร คือระบบอาหารที่ส่งต่อความมั่นคงด้านอาหารและสร้างภาวะโภชนาการแก่ทุกคนและคนรุ่นต่อๆ ไป โดยคำนึงถึงมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม นั่นหมายความว่า

  1. ต้องมีกำไรตลอด (ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ)
  2. ต้องมีประโยชน์ในวงกว้างสำหรับสังคม (ความยั่งยืนทางสังคม)
  3. ต้องมีผลกระทบเชิงบวกหรือเป็นกลางต่อสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ (ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม)

ระบบอาหารยั่งยืนเป็นหัวใจสำคัญของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals หรือ SDGs) ที่ถูกนำมาใช้ในปี 2558 โดยเป้าหมายที่สำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืนคือการเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในด้านการเกษตรและระบบอาหารเพื่อยุติความหิวโหย และบรรลุความมั่นคงด้านอาหารและปรับปรุงโภชนาการให้ได้ภายในปี 2573

ดังนั้น ระบบอาหารทั่วโลกจำเป็นจะต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและคำนึงถึงกลุ่มคนที่ยากจนและด้อยโอกาส สิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน และการส่งมอบอาหารที่ดีต่อสุขภาพและมีคุณค่าทางโภชนาการสำหรับทุกคน นี่เป็นความท้าทายเชิงระบบที่มีความซับซ้อนที่ต้องการการทำงานที่เชื่อมโยงกันทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับโลก

Singapore Crawfish คือใคร

Singapore Crawfish เป็นบริษัทเชิงพาณิชย์ที่เพาะเลี้ยงเครย์ฟิชด้วยความยั่งยืน ฟาร์มแรกของบริษัทได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2561 ที่ประเทศสิงค์โปร์ ที่ประสบผลสำเร็จในการเพาะเลี้ยงกุ้งเครย์ฟิชชุดแรก ซึ่งในปัจจุบัน Singapore Crawfish ได้เติบโตเป็นบริษัทเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชั้นนำในภูมิภาค โดยมีความยั่งยืนเป็นหลักการในการดำเนินธุรกิจ

Singapore Crawfish มีกระบวนการผลิตที่มีความรับผิดชอบและยั่งยืนเพื่อเป็นผู้นำในการจัดหากุ้งเครย์ฟิชและส่งเสริมให้กุ้งเครย์ฟิช เติบโตเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญในวัฒนธรรมอาหารทั่วทวีปเอเชีย โดยเป็นฟาร์มกุ้งเครย์ฟิชแห่งเดียวในสิงคโปร์ และมีการดำเนินงานอยู่ในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย กัมพูชา และสหรัฐอเมริกา โดยเน้นการสร้างพันธมิตรกับเกษตรกรในประเทศที่กำลังพัฒนาในการเพาะเลี้ยงกุ้งเครย์ฟิชอย่างยั่งยืน

...

Datuk Desmond Chow ผู้ก่อตั้ง Singapore Crawfish นำนวัตกรรมมาใช้เพื่อการเพาะเลี้ยงกุ้งเครย์ฟิชอย่างยั่งยืนพร้อมทั้งลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ภาพจาก Singapore Crawfish
Datuk Desmond Chow ผู้ก่อตั้ง Singapore Crawfish นำนวัตกรรมมาใช้เพื่อการเพาะเลี้ยงกุ้งเครย์ฟิชอย่างยั่งยืนพร้อมทั้งลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ภาพจาก Singapore Crawfish

พันธกิจของ Singapore Crawfish คือการช่วยลดความยากจนทางอาหารในโลก โดยใช้กุ้งเครย์ฟิชเป็นแหล่งโปรตีนที่มีประโยชน์และเข้าถึงได้ง่าย ตั้งแต่เริ่มต้นในปี 2561 Singapore Crawfish ค้นหานวัตกรรมในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากวิธีเลี้ยงกุ้งเครย์ฟิชแบบดั้งเดิมมาตลอด และต้องการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมด้วยการผลิตที่มีประสิทธิภาพ ยั่งยืน และมีกำไร เพื่อเพิ่มความมั่นคงทางอาหารในโลก

...

เหตุใดการเลี้ยงกุ้งเครย์ฟิชแบบยั่งยืนจึงมีความสำคัญ

การเพาะเลี้ยงกุ้งเครย์ฟิชที่มีความยั่งยืนถือเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาความมั่นคงทางอาหาร การอนุรักษ์ระบบนิเวศ และการสนับสนุนเศรษฐกิจท้องถิ่น ซึ่งในขณะเดียวกันยังลดผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติอีกด้วย

การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม :

การเพาะเลี้ยงกุ้งเครย์ฟิชในลักษณะที่ยั่งยืนส่วนใหญ่นั้นจะมีการปฏิบัติตามหลักการที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้เหลือน้อยที่สุด ซึ่งรวมถึงการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ การลดการทำลายที่อยู่อาศัยของสัตว์ และการจัดการทรัพยากรอย่างระมัดระวัง ยิ่งไปกว่านั้น การหลีกเลี่ยงการประมงเกินขีดจำกัดและการทำลายระบบนิเวศ สามารถช่วยรักษาความหลากหลายทางชีวภาพและสุขภาพของแหล่งน้ำในบริเวณรอบๆ ได้

ผลกระทบทางเศรษฐกิจ :

การเพาะเลี้ยงกุ้งเครย์ฟิชอย่างยั่งยืนสามารถส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่นได้โดยการสร้างงานและรายได้ให้กับชุมชน นอกจากนี้ยังช่วยรองรับทั้งความต้องการกุ้งเครย์ฟิชในทั้งระดับท้องถิ่นและระดับโลกอีกด้วย

เมนูซุปข้นกุ้งเครย์ฟิชเสิร์ฟกับแป้งพาย
เมนูซุปข้นกุ้งเครย์ฟิชเสิร์ฟกับแป้งพาย

...

ความมั่นคงทางอาหาร :

ด้วยจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นของโลกและความเครียดจากปริมาณปลาตามธรรมชาติ กุ้งเครย์ฟิชที่เลี้ยงแบบยั่งยืนสามารถช่วยตอบสนองความต้องการโปรตีนจากอาหารทะเลโดยไม่ต้องพึ่งพาการจับตามธรรมชาติได้เป็นอย่างดีเนื่องจากการจับตามธรรมชาติจะทำให้ไม่ยั่งยืนในระยะยาว

การลดผลกระทบต่อประชากรสัตว์ป่า :

การส่งเสริมแนวทางการทำฟาร์มแบบยั่งยืน จะช่วยรักษาจำนวน และลดผลกระทบต่อประชากรกุ้งเครย์ฟิชธรรมชาติ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาสมดุลอันละเอียดอ่อนของระบบนิเวศ

อาหารทะเลในซอสไวน์ขาว เสิร์ฟพร้อมกุ้งเครย์ฟิชย่างกระทะ
อาหารทะเลในซอสไวน์ขาว เสิร์ฟพร้อมกุ้งเครย์ฟิชย่างกระทะ

การปรับปรุงคุณภาพน้ำ :

ระบบการเลี้ยงกุ้งเครย์ฟิชที่มีการจัดการอย่างเหมาะสมมักจะต้องมีวิธีการรักษาคุณภาพน้ำที่ดีควบคู่ไปด้วย ซึ่งระบบเหล่านี้จะมีการกรองและจัดการของเสียอย่างเหมาะสม ทำให้เกิดผลดีกับระบบนิเวศในน้ำ

สิ่งที่ทำให้ Singapore Crawfish แตกต่าง

Singapore Crawfish บุกเบิกด้านโซลูชันการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน โดยมีวิธีที่ช่วยแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกรดังต่อไปนี้

เทคนิคการปลูกพืชเชิงผสมผสาน :

ด้วยการบูรณาการการเพาะเลี้ยงกุ้งเครย์ฟิชและปลา เข้ากับนาข้าวแบบดั้งเดิมได้อย่างราบรื่น ซึ่งแนวทางนี้จะช่วยเพิ่มให้เกิดการใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประโยชน์สูงสุด ลดการพึ่งพายาฆ่าแมลง และกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชข้าว พร้อมทั้งยินดีที่จะซื้อกุ้งเครย์ฟิชที่เกษตรกรเลี้ยงกลับคืนด้วย ดังนั้นเกษตรกรจึงไม่จำเป็นต้องกังวลเรื่องการหาแหล่งขายกุ้งเครย์ฟิช

ระบบการคลอดอัตโนมัติ (Auto Birthing System - ABS) :

ระบบโมดูลาร์ (Modular System) แบบใหม่นี้จะช่วยกําหนดการผลิตกุ้งเครย์ฟิชใหม่ โดยเป็นวิธีที่ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย ประหยัดพื้นที่ และง่ายต่อการบํารุงรักษา ซึ่งระบบ ABS ถือเป็นเทคโนโลยีที่อยู่ระหว่างการจดสิทธิบัตร สามารถปรับปรุงอัตราการรอดชีวิตของกุ้งเครย์ฟิชได้อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งนับเป็นโอกาสสำคัญในการเปลี่ยนแปลงแนวทางปฏิบัติการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทั่วโลก

กุ้งเครย์ฟิชซอสกระเทียม-รากผักชี
กุ้งเครย์ฟิชซอสกระเทียม-รากผักชี

ระบบน้ำหมุนเวียนในตู้คอนเทนเนอร์ (Container Recirculating Aquaculture System - CRAS) :

เป็นนวัตกรรม "plug and play" ที่ออกแบบมาเพื่อแก้ไขข้อจำกัดของระบบเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำหมุนเวียนแบบดั้งเดิม (RAS) ซึ่ง CRAS ไม่เพียงแต่ลดภาระค่าใช้จ่ายที่สูง และก้าวข้ามอุปสรรคทางการเคลื่อนย้าย และแก้ปัญหาในการบำรุงรักษาที่เกี่ยวเนื่องกับ RAS แบบเดิมเท่านั้น แต่ยังใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในร่มและกลางแจ้งอีกด้วย

แนวคิด WeWork :

แนวคิดเกิดขึ้นเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรรุ่นใหม่ที่ต้องการเข้าถึงอุตสาหกรรมโดยใช้พื้นที่ทำงานร่วมกัน ให้สามารถใช้ที่ดินที่มีประสิทธิภาพโดยการรวมธุรกิจเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำหลายแห่งไว้ในพื้นที่เดียวกันซึ่งจะช่วยลดการใช้ที่ดินอย่างสิ้นเปลืองและเพิ่มการใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดในเวลาเดียวกัน

ข้อมูลอ้างอิง : สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (สทสย.)