เลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม คือเรื่องสำคัญที่ผู้ประกันตนทุกมาตรา รวมถึงนายจ้างไม่ควรมองข้าม เพื่อเป็นการปกป้องและคุ้มครองสิทธิประกันสังคมของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า ด้วยคัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ มาช่วยพัฒนาระบบประกันสังคมให้ดีและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

เลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม คืออะไร

การเลือกตั้งคณะกรรมการประกันสังคมครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย ที่ประชาชนผู้จ่ายเงินเข้าระบบประกันสังคมเป็นประจำต่อเนื่องทุกเดือน ทั้งผู้ประกันตนมาตรา 33, มาตรา 39 และมาตรา 40 รวมทั้งนายจ้าง จะได้เข้าคูหาเลือกตัวแทนที่จะมาจัดการเงินกองทุนนี้โดยตรงแบบ 1 สิทธิ 1 เสียง เพื่อเป็นตัวแทนในการดูแลสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตน และบริหารกองทุนประกันสังคมให้มีเสถียรภาพ อันจะนำไปสู่การยกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิตของนายจ้าง และผู้ประกันตนทุกมาตราให้ดียิ่งขึ้นในอนาคต

เลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม สำคัญอย่างไร

เพราะคณะกรรมการประกันสังคม จะเข้ามาจัดการและดูแล “กองทุนประกันสังคม” ซึ่งมีผลต่อสิทธิประโยชน์ที่ทุกคนพึงได้รับ โดยมีอำนาจหน้าที่ที่สำคัญ ดังนี้

  • มีอำนาจเสนอและพิจารณาความเห็นเกี่ยวกับนโยบายการประกันสังคม
  • วางระเบียบเกี่ยวกับการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินกองทุน รวมทั้งจัดหาผลประโยชน์ของกองทุน
  • พิจารณางบดุล + รายงานการรับจ่ายเงินของกองทุน
  • ให้คำปรึกษาและแนะนำแก่คณะกรรมการอื่นหรือสำนักงาน
  • และหน้าที่อื่นๆ ที่ต้องดูแลรับผิดชอบ

เลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม มีขั้นตอนอะไรบ้าง

สำหรับผู้ประกันตน และนายจ้าง ที่ต้องการเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม ต้องทำการลงทะเบียนเพื่อใช้สิทธิดังกล่าวก่อน ซึ่งทางสำนักงานประกันสังคมได้ประกาศเลื่อนระยะเวลาหมดเขตลงทะเบียนจากเดิมคือวันที่ 31 ต.ค. 2566 ออกไปอีก 10 วัน จนถึงวันที่ 10 พ.ย. 2566 เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่เพิ่งรับทราบประกาศการเลือกตั้งและยังไม่ได้ลงทะเบียน สามารถใช้สิทธิใช้เสียงของตนเองได้ โดยสามารถลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งผ่านช่องทาง ดังต่อไปนี้

...

  • ทางเว็บไซต์ www.sso.go.th ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
  • สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-12 สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา ตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น. (ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ)
  • พร้อมประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ในวันที่ 21 พ.ย. 2566

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร

นอกจากต้องเป็นผู้ประกันตนทั้ง 3 มาตรา หรือนายจ้างแล้ว ยังต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ ถึงจะมีสิทธิเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคมได้

ผู้ประกันตน

  • มีสัญชาติไทย
  • ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 เดือนก่อนเดือนที่มีการประกาศให้มีการเลือกตั้ง (มีนาคม-สิงหาคม 2566)
  • จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมไม่น้อยกว่า 3 เดือน (ภายใน 6 เดือนก่อนเดือนที่ประกาศเลือกตั้ง)

นายจ้าง

  • มีสัญชาติไทย
  • ขึ้นทะเบียนเป็นนายจ้างติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 เดือน ก่อนเดือนที่มีประกาศให้มีการเลือกตั้ง (มีนาคม-สิงหาคม 2566)
  • จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมไม่น้อยกว่า 3 เดือน (ภายใน 6 เดือนก่อนเดือนที่ประกาศเลือกตั้ง)
  • กรณีนายจ้างเป็นนิติบุคคลผู้จะใช้สิทธิต้องอยู่ในฐานะผู้มีอำนาจ/กรณีเป็นผู้มีอำนาจในนิติบุคคลมากกว่า 1 นิติบุคคลต้องเลือกใช้สิทธิได้เพียงแห่งเดียว

เลือกตั้งบอร์ดประกันสังคมวันไหน และไปเลือกได้ที่ไหนบ้าง

สำหรับวันเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม จะมีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 ธันวาคม 2566 เวลา 08.00-16.00 น. โดยแต่ละพื้นที่จะมีจำนวนหน่วยเลือกตั้งแตกต่างกันไป

จำนวนหน่วยเลือกตั้งในพื้นที่ภาคกลาง

  • กรุงเทพมหานคร มี 14 หน่วยเลือกตั้ง ประกอบไปด้วย เขตคลองเตย เขตคันนายาว เขตดินแดง เขตธนบุรี เขตบางขุนเทียน เขตบางเขน เขตบางแค เขตบางรัก เขตปทุมวัน เขตพระนคร เขตมีนบุรี เขตยานนาวา เขตสวนหลวง และเขตหลักสี่
  • จังหวัดสมุทรปราการ มีหกหน่วยเลือกตั้ง ประกอบไปด้วย อำเภอบางบ่อ อำเภอบางพลี อำเภอบางเสาธง อำเภอพระประแดง อำเภอพระสมุทรเจดีย์ และอำเภอเมืองสมุทรปราการ
  • จังหวัดสมุทรสาคร มีสองหน่วยเลือกตั้ง คือ อำเภอกระทุ่มแบน และอำเภอเมืองสมุทรสาคร
  • จังหวัดนนทบุรี มีสองหน่วยเลือกตั้ง ประกอบไปด้วย อำเภอบางบัวทอง และอำเภอเมืองนนทบุรี
  • ขณะที่จังหวัดอื่นๆ อย่างจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท นครสวรรค์ ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สมุทรสงคราม สระบุรี สิงห์บุรี และอ่างทอง ต่างมีหน่วยเลือกตั้งเดียวในแต่ละจังหวัด โดยจะตั้งอยู่ภายในเขตอำเภอเมืองเท่านั้น

จำนวนหน่วยเลือกตั้งในพื้นที่ภาคตะวันออก

  • จังหวัดชลบุรี มีสามหน่วยเลือกตั้ง ประกอบไปด้วย อำเภอบางละมุง อำเภอศรีราชา และอำเภอเมืองชลบุรี
  • จังหวัดระยอง มีสามหน่วยเลือกตั้ง ประกอบไปด้วย อำเภอนิคมพัฒนา อำเภอปลวกแดง และอำเภอเมืองระยอง
  • จังหวัดปราจีนบุรี มีสามหน่วยเลือกตั้ง ประกอบไปด้วย อำเภอกบินทร์บุรี อำเภอศรีมหาโพธิ และอำเภอเมืองปราจีนบุรี
  • จังหวัดฉะเชิงเทรา มีสองหน่วยเลือกตั้ง ประกอบไปด้วย อำเภอบางปะกง และอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา
  • จังหวัดตราด มีสองหน่วยเลือกตั้ง ประกอบไปด้วย อำเภอเกาะช้าง และอำเภอเมืองตราด
  • ขณะที่จังหวัดอื่นๆ อย่างจังหวัดจันทบุรี นครนายก และสระแก้ว ต่างมีหน่วยเลือกตั้งเดียวในแต่ละจังหวัด โดยจะตั้งอยู่ภายในเขตอำเภอเมืองเท่านั้น

...

จำนวนหน่วยเลือกตั้งในพื้นที่ภาคตะวันตก

  • จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีสามหน่วยเลือกตั้ง ประกอบไปด้วย อำเภอบางสะพาน อำเภอปราณบุรี อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์
  • จังหวัดนครปฐม มีสองหน่วยเลือกตั้ง ประกอบไปด้วย อำเภอสามพราน และอำเภอเมืองนครปฐม
  • ขณะที่จังหวัดอื่นๆ อย่างจังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี เพชรบุรี และราชบุรี ต่างมีหน่วยเลือกตั้งเดียวในแต่ละจังหวัด โดยจะตั้งอยู่ภายในเขตอำเภอเมืองเท่านั้น

จำนวนหน่วยเลือกตั้งในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • จังหวัดขอนแก่น มีสองหน่วยเลือกตั้ง ประกอบไปด้วย อำเภอชุมแพ และอำเภอเมืองขอนแก่น
  • จังหวัดนครราชสีมา มีสามหน่วยเลือกตั้ง ประกอบไปด้วย อำเภอโนนสูง อำเภอปากช่อง และอำเภอเมืองนครราชสีมา
  • ขณะที่จังหวัดอื่นๆ อย่างจังหวัดกาฬสินธุ์ ชัยภูมิ นครพนม บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ ต่างมีหน่วยเลือกตั้งเดียวในแต่ละจังหวัด โดยจะตั้งอยู่ภายในเขตอำเภอเมืองเท่านั้น

จำนวนหน่วยเลือกตั้งในพื้นที่ภาคเหนือ

  • จังหวัดเชียงใหม่ มีสองหน่วยเลือกตั้ง ประกอบไปด้วย อำเภอฝาง และอำเภอเมืองเชียงใหม่
  • จังหวัดลำปาง มีสองหน่วยเลือกตั้ง ประกอบไปด้วย อำเภอเถิน และอำเภอเมืองลำปาง
  • จังหวัดน่าน มีสองหน่วยเลือกตั้ง ประกอบไปด้วย อำเภอปัว และอำเภอเมืองน่าน
  • จังหวัดตาก มีสองหน่วยเลือกตั้ง ประกอบไปด้วย อำเภอแม่สอด และอำเภอเมืองตาก
  • ขณะที่จังหวัดอื่นๆ อย่างจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย ลำพูน พะเยา แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ และพิจิตร ต่างมีหน่วยเลือกตั้งเดียวในแต่ละจังหวัด โดยจะตั้งอยู่ภายในเขตอำเภอเมืองเท่านั้น

...

จำนวนหน่วยเลือกตั้งในพื้นที่ภาคใต้

  • จังหวัดชุมพร มีสองหน่วยเลือกตั้ง ประกอบไปด้วย อำเภอหลังสวน และอำเภอเมืองชุมพร
  • จังหวัดนครศรีธรรมราช มีสองหน่วยเลือกตั้ง ประกอบไปด้วย อำเภอทุ่งสง และอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
  • จังหวัดสงขลา มีสองหน่วยเลือกตั้ง ประกอบไปด้วย อำเภอหาดใหญ่ และอำเภอเมืองสงขลา
  • จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีสองหน่วยเลือกตั้ง ประกอบไปด้วย อำเภอเกาะสมุย และอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี
  • ขณะที่จังหวัดอื่นๆ อย่างจังหวัดกระบี่ ตรัง นราธิวาส ปัตตานี พังงา พัทลุง ภูเก็ต ยะลา ระนอง และสตูล ต่างมีหน่วยเลือกตั้งเดียวในแต่ละจังหวัด โดยจะตั้งอยู่ภายในเขตอำเภอเมืองเท่านั้น

ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งจะต้องนำบัตรประจำตัวประชาชน หรือใบขับขี่ ไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ หรือนำบัตรอื่นที่มีรูปถ่ายและเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก หรือบัตรที่หมดอายุแล้ว ก็สามารถนำไปใช้แสดงตนได้ แต่สำหรับฝ่ายนายจ้างต้องมีหนังสือการจดทะเบียนนิติบุคคลที่มีการรับรองไม่เกินหกเดือนมาแสดงด้วย

ข้อมูลอ้างอิง : สำนักงานประกันสังคม, iLaw