นักเรียน นักศึกษา ที่เรียนเนื้อหาเกี่ยวกับการสร้างวงจรไฟฟ้า จะต้องรู้จักกับ “กฎของโอห์ม” ซึ่งเป็นวิธีการคำนวณการสร้างแผงวงจรไฟฟ้าเบื้องต้น เป็นพื้นฐานความรู้ของการประดิษฐ์เครื่องใช้ไฟฟ้า วันนี้ไทยรัฐออนไลน์จะพามารู้จักกับกฎของโอห์ม เพื่อให้น้องๆ ได้นำไปติวสอบกัน

กฎของโอห์ม (Ohm’s Law) คืออะไร มีไว้เพื่ออะไร

กฎของโอห์ม (Ohm’s Law) V = Voltage (V), I =  Current (A), R = Resistance (Ω)
กฎของโอห์ม (Ohm’s Law) V = Voltage (V), I = Current (A), R = Resistance (Ω)

Ohm’s Law เป็นกฎเกี่ยวกับการสร้างกระแสไฟฟ้า ยกย่องตามนักฟิสิกส์ชาวเยอรมันชื่อ Georg Simon Ohm ได้ อธิบายการสร้างกระแสไฟฟ้าด้วยตัวแปร 3 ตัว คือ แรงดันไฟฟ้า ความต่างศักย์ และความต้านทาน

...

กฎของโอห์ม คือ สมการที่ว่าด้วย “ในวงจรไฟฟ้าใดๆ กระแสไฟฟ้าแปรผันตรงกับแรงดันไฟฟ้า และแปรผกผันกับค่าความต้านทานของวงจร”

ในทางฟิสิกส์กฎของโอห์มมีไว้เพื่ออะไร

กฎของโอห์ม (Ohm’s Law) มีไว้เพื่อสร้างกระแสไฟฟ้า ซึ่งใช้อธิบายด้วยตัวแปร 3 ตัว หลักการจำคือ วี เท่ากับ ไอ อาร์ (V = IR)

กฎของโอห์ม (Ohm’s Law) V = Voltage (V), I =  Current (A), R = Resistance (Ω)
กฎของโอห์ม (Ohm’s Law) V = Voltage (V), I = Current (A), R = Resistance (Ω)

V = IR

V = Voltage (V)
I =  Current (A)
R = Resistance (Ω)


V คือ ความต่างศักย์ไฟฟ้า V = Voltage (V)
V คือความต่างศักย์ไฟฟ้า มีหน่วยเป็น โวลต์ สัญลักษณ์หน่วยทางวิทยาศาสตร์คือตัว V

I คือ กระแสไฟฟ้า I =  Current (A)
I คือกระแสไฟฟ้าในวงจร มีหน่วยเป็น แอมแปร์ สัญลักษณ์หน่วยทางวิทยาศาสตร์คือตัว A

R คือ ความต้านทาน R = Resistance (Ω)
R คือความต้านทานในวงจร มีหน่วยเป็น โอห์ม สัญลักษณ์หน่วยทางวิทยาศาสตร์คือตัว Ω

โจทย์เรื่อง “กฎของโอห์ม” ที่ใช้บ่อยๆ มักใช้หากระแสไฟฟ้าในวงจรอนุกรม และวงจรแบบขนาด ดังนี้

วงจรไฟฟ้าแบบอนุกรม

วงจรไฟฟ้าแบบอนุกรม (Series Circuit) คือ วงจรไฟฟ้าที่มีตัวต้านทานมากกว่า 1 ตัว ต่อเรียงแบบอนุกรมกับแหล่งจ่ายไฟ 

คุณสมบัติของวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรม คือ

1. ค่าความต้านทานรวมทั้งหมด (Rt) ของวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรม มีค่าเท่ากับผลรวมของความต้านทานทุกตัว

Rt = R1 + R2 + R3 + Rn

2. กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านตัวต้านทานทุกตัวมีค่าเท่ากัน

It = I1 = I2 = I3 = In

3. ผลรวมของแรงดันตกคร่อมความต้านทานแต่ละตัวจะเท่ากับแรงดันที่จ่ายให้กับวงจร

Vt = V1 + V2 + V3 + Vn

4. แรงดันไฟฟ้าที่ตกคร่อมตัวต้านทานแต่ละตัวในวงจรจะแตกต่างกันไป ความต้านทานตัวใดมีค่ามากจะมีแรงดันตกคร่อมมาก

วงจรไฟฟ้าแบบขนาน

วงจรไฟฟ้าแบบขนาน (Parallel Circuit) คือการต่อกระแสไฟฟ้าที่มีการแยกไหลออกได้หลายทาง และช่วงสุดท้ายไหลมารวมกัน 

คุณสมบัติของการต่อวงจรไฟฟ้าแบบขนาด

...

1. กระแสไฟฟ้าที่ไหลออกผ่านหลอดไฟฟ้าแต่ละหลอดไม่เท่ากัน แต่ถ้าหลอดมีความต้านทานไม่เท่ากัน แต่กระแสไฟฟ้ารวมขะเท่ากับผลบวกของกระแสไฟฟ้าที่ผ่านแต่ละหลอด

Iรวม = I1 +I2 +I3 +..

2. ความต้านทานรวมจะน้อยลงและน้อยกว่าความต้านทานที่น้ยอที่สุดในวงจร ความต้านทานรวมจะมีค่าเท่ากับ

1/Rรวม = 1/r1+1/R2+1/R3+..

3. ความต่างศักย์รวมจะมีค่าเท่ากับความต่างศักย์ของหลอดไฟฟ้าแต่ละหลอด

Vรวม = V1+V2+V3+..

แนวข้อสอบที่เกี่ยวข้องกับการใช้กฎของโอห์ม มักถามเกี่ยวกับอะไร

นักศึกษาที่เรียนเกี่ยวกับกฎของโอห์ม ต้องรู้แนวข้อสอบต่อไปนี้

1. เขียนเกี่ยวกับคำนิยามกฎของโอห์มได้
2. เขียนสมการกฎของโอห์มได้
3. อธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง กระแสไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้า และความต้านทานได้
4. คำนวณค่ากระแสไฟฟ้าได้
5. คำนวณค่าแรงดันไฟฟ้าได้
6. คำนวณค่าความต้านทานไฟฟ้าได้
7. อธิบายความหมายของวงจรอนุกรมได้
8. อธิบายความหมายของวงจรขนานได้
9. คำนวณค่าการแบ่งกระแสไฟฟ้าได้
10. อธิบายคุณสมบัติของวงจรแบ่งแรงดันและแบ่งกระแสไฟฟ้าได้

กฎของโอห์มถือว่าเป็นพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ที่อธิบายการสร้างกระแสไฟฟ้า เป็นจุดเริ่มต้นของการออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้าตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน คำว่า โอห์ม จึงได้รับการคัดเลือกให้เป็นหน่วยของความต้านทานไฟฟ้าในระบบเอสไอ ใช้สัญลักษณ์ W ตามชื่อของ Georg Simon Ohm