ชวนรู้จักโรค NCDs กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่ไม่ได้มาจากเชื้อโรค และไม่สามารถแพร่จากคนสู่คนได้ โดยจะแฝงมากับมนุษย์ ในลักษณะด้านพันธุกรรม และอุปนิสัยในการดำรงชีวิต ซึ่งมีความสำคัญ และอันตรายต่อสุขภาพร่างกายอย่างยิ่ง

โรค NCDs หรือ non-communicable diseases เป็นชื่อเรียกกลุ่มโรคที่ไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งไม่ได้เกิดจากการรับเชื้อ และไม่สามารถแพร่ออกไปสู่คนได้ 

โดยกลุ่มโรคนี้จะเกิดจากการสะสมมาเรื่อยๆ จากการดำรงชีวิต จนเกิดการลุกลาม และมีอาการที่หนักขึ้น จนถึงขั้นมีอาการเรื้อรังของโรค โดยใช้ระยะเวลานานกว่าจะสามารถรักษาให้หายขาดได้ หรือไม่สามารถหายได้ ในบางครั้งโรคในกลุ่ม NCDs ก็มาจากพันธุกรรมที่ได้รับติดตัวมาจากครอบครัวได้เช่นกัน  

โรค NCDs ถึงแม้จะไม่ใช่โรคติดต่อ แต่ก็มีอันตราย และน่าเป็นห่วงอย่างมาก โดย องค์การอนามัยโลกได้เผยข้อมูลว่า ที่ผ่านมากลุ่มโรค NCDs เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทย โดยมีผู้ป่วยด้วยโรค NCDs ถึง 14 ล้านคน และเสียชีวิตกว่า 300,000 คนต่อปี ซึ่งคาดการณ์ว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในทุกๆ ปี โดยส่วนใหญ่จะเสียชีวิตก่อนอายุ 60 ปี

โรค NCDs มีอะไรบ้าง

  • โรคมะเร็ง
  • โรคทางระบบหัวใจ 
  • โรคที่เกี่ยวกับเลือด
  • โรคหลอดเลือดในสมอง
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคไต
  • โรคเบาหวาน
  • โรคตับ
  • โรคอ้วน
  • โรคสมองเสื่อม

พฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเป็นโรค NCDs

โรค NCDs เป็นโรคที่ไม่สามารถติดต่อกันได้ แต่ขึ้นอยู่กับการใช้ชีวิตของแต่ละบุคคล ส่วนมากจะเกิดจากการสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ออกกำลังกาย ทานอาหารที่มีสารอาหารไม่ครบถ้วน ทานยาสะเปะสะปะ นอนดึกเป็นประจำ ทานอาหารรสจัด และความเครียด เป็นต้น หากมีพฤติกรรมการดำรงชีวิตในรูปแบบนี้จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว

...

การที่มีโรคแฝงมากับพันธุกรรมที่ส่วนใหญ่จะตรวจพบเจอในครอบครัว เช่น เบาหวาน ความดัน โรคสมองเสื่อม ที่หากควบคู่กับการใช้ดำรงชีวิตอย่างที่กล่าวมาข้างต้น อาการก็จะกำเริบเร็วขึ้นกว่าเดิม

วิธีป้องกัน และปรับพฤติกรรมให้ห่างไกลจากโรค NCDs

  • ทานอาหารที่มีประโยชน์ เลี่ยงอาหารรสชาติจัด
  • พักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6 - 8 ชั่วโมง
  • ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย ไม่เครียด หากิจกรรมที่ชอบทำ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • งดบุหรี่
  • งดตากแดดจัด
  • พนักงานออฟฟิศ ไม่ควรนั่งในท่าเดิมนาน ให้มีการเปลี่ยนอิริยาบถ และขยับร่างกายบ่อยๆ
  • หากต้องรับประทานยา ควรรับประทานให้ครบโดส หรือตามที่แพทย์สั่ง
  • ตรวจสุขภาพเป็นประจำ
  • หากมีความเสี่ยงด้านพันธุกรรม ควรปรึกษาแพทย์
  • หากมีอาการที่เกี่ยวข้อง ควรปรึกษาแพทย์

ถึงแม้ว่าโรค NCDs จะไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เพราะมักจะเกิดการสะสมจากของร่างกาย หากอายุเยอะขึ้น ร่างกายเริ่มสึกหรอ ก็สามารถจะมีโรคเหล่านี้ที่แสดงอาการ หรือติดตัวมาด้วย การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และดูแลร่างกายตนเองอย่างสม่ำเสมอ สามารถช่วยชะลอ และสร้างภูมิคุ้มกันที่สามารถกดทับโรคในกลุ่ม NCDs ให้มีผลข้างเคียงที่ไม่รุนแรง หรือโชคดีก็ไม่เกิดโรคได้เลยเช่นกัน

ข้อมูล : สสส., โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์