ชวนเช็กลำดับขั้นยศของเจ้าหน้าที่ตำรวจว่ามียศใดบ้าง มีทั้งหมดกี่ตำแหน่ง และหน้าที่ของแต่ละฝ่ายทั้งหมดทำอะไรบ้าง

ตำรวจ หนึ่งในอาชีพที่ทุกคนใฝ่ฝันในวัยเด็ก ซึ่งเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่มีเส้นทางการทำงาน และความก้าวหน้าในอาชีพ (Career Path) ที่น่าสนใจไม่ใช่น้อย เพราะอาชีพตำรวจนั้นมียศ ตำแหน่ง และหน้าที่มากมายที่แตกต่างกันออกไป โดยยศตำรวจนั้นได้มีการประกาศให้ใช้อย่างเป็นสากลเมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 จนมาถึงในสมัยรัชกาลที่ 8 ให้มีการแยกยศ และบรรดาศักดิ์ออกจากกัน ทำให้มีการใช้ลำดับยศเรื่อยมาในบรรดา 4 เหล่าทัพของประเทศไทย

ตำแหน่งต่างๆ ของข้าราชการตำรวจนั้นขึ้นอยู่กับความถนัด การสอบบรรจุ และผลงาน รวมไปถึงหากมียศ มีตำแหน่งที่สูง การประสบความสำเร็จในอาชีพ สวัสดิการ และฐานเงินเดือนก็จะยิ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามลำดับ นอกจากเส้นทางของความก้าวหน้าในอาชีพแล้ว ยศ และตำแหน่งเหล่านี้ยังช่วยในการจัดระเบียบ การดูแล หน่วยงานตำรวจให้ง่ายขึ้นเช่นกัน

ลำดับยศของข้าราชการตำรวจ

ชั้นประทวน : ยศตำรวจชั้นประทวนเป็นจุดเริ่มต้นลำดับแรกของข้าราชการตำรวจ โดยจะต้องผ่านการฝึกอบรบจากนายร้อยตำรวจ จนจบมาเป็นเป็นพลตำรวจ โดยจะต้องสอบผ่านการคัดเลือกมาจาก อธิบดีกรมตำรวจ เพื่อการบรรจุข้าราชการเป็นยศตำรวจชั้นประทวน 

1. ดาบตำรวจ (ด.ต.) - Police Senior Sergeant Major

2. จ่าสิบตำรวจ (จ.ส.ต.) - Police Sergeant Major

3. สิบตำรวจเอก (ส.ต.อ.) - Police Sergeant

4. สิบตำรวจโท (ส.ต.ท.) - Police Corporal

5. สิบตำรวจตรี (ส.ต.ต.) - Police Lance Corporal

ชั้นสัญญาบัตร : ข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรนั้น จะมีเงื่อนไขในการบรรจุ คือ ข้าราชการที่จบการศึกษาชั้น ป.ตรี ขึ้นไป, มียศร้อยตำรวจตรีขึ้นไป หรือข้าราชการระดับชั้นประทวนที่มีการสอบเลื่อนขั้น ซึ่งตำรวจชั้นสัญญาบัตรนี้จะต้องมีทั้งความสามารถ และความรู้ของข้าราชการตำรวจในเชิงลึกที่มากยิ่งขึ้น

...

1. พลตำรวจเอก (พล.ต.อ.) - Police General

2. พลตำรวจโท (พล.ต.ท.) - Police Lieutenant General

3. พลตำรวจตรี (พล.ต.ต.) - Police Major General

4. พันตำรวจเอก (พ.ต.อ) - Police Colonel

5. พันตำรวจโท (พ.ต.ท.) - Police Lieutenant Colonel

6. พันตำรวจตรี (พ.ต.ต.) - Police Major

7. ร้อยตำรวจเอก (ร.ต.อ.) - Police Captain

8. ร้อยตำรวจโท (ร.ต.ท.) - Police Lieutenant

9. ร้อยตำรวจตรี (ร.ต.ต.) - Police Sub-Lieutenant

ตำแหน่งของข้าราชการตำรวจ

ตำแหน่งของข้าราชการตำรวจจะทำหน้าที่ไม่เหมือนกันแล้วแต่หน่วยงาน และสำนักงานที่ได้รับมอบหมาย เช่น กองคดีอาญา กองการต่างประเทศ กองสารสนเทศ และอีกมากมาย โดยทุกตำแหน่งมีหน้าที่หลักในการดูแลประชาชนเป็นสำคัญ ตามความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ แต่ส่วนหน้าที่ตามตำแหน่งก็จะมีความรับผิดชอบมาก และน้อยตามตำแหน่งที่ได้รับ ยิ่งมีตำแหน่งที่สูงภาระหน้าที่ก็จะสูงตามไปด้วย

1. ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) 

2. จเรตำรวจแห่งชาติและรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) 

3. ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผู้ช่วย ผบ.ตร.) 

4. ผู้บัญชาการ (ผบช.) 

5. รองผู้บัญชาการ 

6. ผู้บังคับการ และพนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญพิเศษ

7. รองผู้บังคับการ และพนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญ 

8. ผู้กำกับการ และพนักงานสอบสวนผู้ทรงคุณวุฒิ 

9. รองผู้กำกับการ และพนักงานสอบสวนผู้ชาญการพิเศษ 

10. สารวัตร และพนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการ 

11. รองสารวัตร และพนักงานสอบสวน 

12. ผู้บังคับหมู่ 

13. รองผู้บังคับหมู่

ข้อมูล : royalthaipolice