อังกะลุง เครื่องดนตรีที่คุ้นเคยในวัยเด็ก มีที่มาอย่างไร ทำไม Google Doodle จึงได้เฉลิมฉลองในวันนี้

ที่มาของอังกะลุง

อังกะลุง เป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในประเภทเครื่องตีที่เกิดจากการเขย่าเพื่อให้กระบอกไปกระทบกับรางไม้ เกิดเป็นโทนเสียงที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว อังกะลุงจึงเป็นเครื่องดนตรีที่มีความแตกต่างจากเครื่องดนตรีประเภทอื่นที่ไม่สามารถบรรเลงเป็นเพลงในตัวเองได้ต้องเล่นกันเป็นวงสลับการเขย่ากระบอกอังกะลุงแต่ละตัวตามจังหวะของตัวโน้ตนั้นๆ

อังกะลุง มีต้นกำเนิดจากอินโดนีเซีย เป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านที่มียาวนาน จนยูเนสโกได้รับรองอย่างเป็นทางการว่าอังกะลุงอินโดนีเซียเป็นมรดกโลก
อังกะลุง มีต้นกำเนิดจากอินโดนีเซีย เป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านที่มียาวนาน จนยูเนสโกได้รับรองอย่างเป็นทางการว่าอังกะลุงอินโดนีเซียเป็นมรดกโลก

...

อังกะลุง ที่มีต้นกำเนิดอยู่ในบริเวณที่เป็นจังหวัดชวาตะวันตกและจังหวัดบันเตินของประเทศอินโดนีเซียปัจจุบัน โดยชาวซุนดาเป็นผู้เล่นเครื่องดนตรีชนิดนี้มานานหลายศตวรรษ อังกะลุงและดนตรีอังกะลุงได้กลายเป็นส่วนสำคัญของอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของประชาคมชาวซุนดาในชวาตะวันตกและบันเติน การเล่นอังกะลุงในฐานะวงดุริยางค์ต้องอาศัยความร่วมมือและการประสานงานกัน เชื่อกันว่าจะส่งเสริมคุณค่าของการทำงานเป็นทีม การเคารพซึ่งกันและกัน และความกลมกลืนในสังคม

Google Doodle เฉลิมฉลอง อังกะลุง ในวันนี้ ซึ่งตรงกับวันที่ยูเนสโกประกาศให้เป็นมรดกโลก
Google Doodle เฉลิมฉลอง อังกะลุง ในวันนี้ ซึ่งตรงกับวันที่ยูเนสโกประกาศให้เป็นมรดกโลก

เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ยูเนสโก ได้รับรองอย่างเป็นทางการว่าอังกะลุงอินโดนีเซียเป็นมรดกโลก และสนับสนุนให้ชาวอินโดนีเซียและรัฐบาลอินโดนีเซียสงวนรักษา ถ่ายทอด ส่งเสริมการเล่น และสนับสนุนงานช่างฝีมืออังกะลุง จึงเป็นที่มาของการได้เฉลิมฉลองบน Google Doodle ในวันนี้

อังกะลุงในประเทศไทย

อังกะลุง เข้ามาในประเทศไทยในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงแนะนำและอนุญาตให้สมเด็จเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าพระยาภานุพันธ์ วงศ์วรเดช เสด็จประพาสยังประเทศชวา พร้อมด้วยหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ในวันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2450

สมเด็จเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าพระยาภานุพันธ์ วงศ์วรเดช เสด็จจากกรุงเทพมหานคร มุ่งไปยังเมืองได ของประเทศชวา (ประเทศอินโดนีเซีย) เป็นแห่งแรก และทรงตั้งพระทัยว่า จะเสด็จไปยังตำบลมาโตเออ เมื่อเสด็จถึงตำบลมาโตเออ พวกประชาชนประมาณ 10 หมู่บ้าน ต่างพากันต้อนรับพระองค์อย่างสมพระเกียรติ
โดยจัดดนตรีนำมาแสดงถวายให้ทอดพระเนตร ประชันกันถึง 7 วง พระองค์สนพระทัยวง อุงคะลุงเป็นพิเศษ เมื่อเสด็จกลับประเทศไทย จึงมีรับสั่งให้กงสุลไทยในชวาซื้อดนตรีชนิดนี้ส่งมา 1 ชุด ภายในปี พ.ศ. 2451 แล้วทรงนำดนตรีชนิดนี้ฝึกสอนมหาดเล็กของพระองค์ในวังบูรพาก่อน จึงเกิดมีดนตรีชนิดนี้ขึ้นในประเทศไทย ต่อมาได้แพร่หลายออกไปทั่วประเทศ ซึ่งคนไทยเรียกว่า “อังกะลุง”

อังกะลุง ที่นำเข้ามาในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้นมี 5 เสียง ตามระบบเสียงดนตรีของชวา ทำด้วยไม้ไผ่ทั้งหมดทั้งตัวอังกะลุงและราง ต่อมาสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แห่งราชวงศ์จักรี ได้มีการพัฒนาอังกะลุงเพิ่มเป็น 3 กระบอก ลดขนาดให้เล็กและน้ำหนักเบาลง เพิ่มเสียงจนครบ 7 เสียง และได้พัฒนาการบรรเลงจากการไกวเป็นการเขย่าแทน นับเป็นต้นแบบของการบรรเลงอังกะลุงของไทยในปัจจุบัน

ทำไมจึงนิยมให้เด็กนักเรียนเล่นอังกะลุง

ความพิเศษของ อังกะลุง ที่แตกต่างจากเครื่องดนตรีประเภทอื่น คือ ไม่สามารถบรรเลงเป็นเพลงในตัวเดียวได้ เพราะอังกะลุง 1 ตัวเท่ากับเสียงตัวโน้ตแค่ 1 เสียง การบรรเลงดนตรีอังกะลุง จึงต้องเล่นกันเป็นวง สลับการเขย่ากระบอกอังกะลุงตามจังหวะของตัวโน้ตนั้นๆ ผู้บรรเลงถือตัวโน้ตเสียงใดก็เขย่าให้ต่อเนื่องไล่ลำดับทำนองของดนตรีไป จนกลายเป็นทำนองเพลงที่ไพเราะเสนาะหูของเครื่องดนตรีประเภทตีชนิดนี้

...

อังกะลุง มักใช้เล่นในโรงเรียน เพื่อการฝึกหัดดนตรีให้กับนักเรียน เล่นได้ตั้งแต่ระดับอนุบาลเป็นต้นไป
อังกะลุง มักใช้เล่นในโรงเรียน เพื่อการฝึกหัดดนตรีให้กับนักเรียน เล่นได้ตั้งแต่ระดับอนุบาลเป็นต้นไป

โดยส่วนมาก อังกะลุง มักใช้เล่นในโรงเรียน เพื่อการฝึกหัดดนตรีให้กับนักเรียน เล่นได้ตั้งแต่ระดับอนุบาลเป็นต้นไป ผู้ผลิตอังกะลุงสามารถทำอังกะลุงตั้งแต่กระบอกเล็กๆ สำหรับเด็กอนุบาลฝึกหัด ไปจนถึงขนาดที่ผู้ใหญ่ใช้ได้อย่างชนิดที่เสียงไพเราะไม่ต่างกัน ที่นิยมนำมาฝึกสอนในโรงเรียนสำหรับเด็กนักเรียนนั้นก็เพราะว่า เป็นเครื่องดนตรีที่เล่นไม่ยากจนเกินไป เด็กๆ เรียนรู้ และเข้าใจง่าย พร้อมทั้งเป็นกุศโลบายที่จะแทรกคุณธรรมให้เด็กๆ เรียนรู้ที่จะมีความสามัคคี กลมเกลียวเป็นหนึ่งเดียวกัน เปรียบดังการบรรเลงดนตรีอังกะลุงที่หากไม่พร้อมใจกันบรรเลงเสียงตัวโน้ตเพี้ยนไปเพียงหนึ่งเสียง ก็จะทำให้ไม่เกิดความไพเราะในการบรรเลงได้

...

อ้างอิงข้อมูล: ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน)