การรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นรัฐวิสาหกิจเก่าแก่ของประเทศไทยที่มีอายุยาวนานกว่า 125 ปี และเป็นหน่วยงานที่นิยมสมัครสอบของกลุ่มผู้ที่ต้องการทำงานที่มั่นคง แต่ละปีมีตำแหน่งงานเปิดสอบช่วงต้นเดือนกันยายน มาย้อนดูประวัติการรถไฟแห่งประเทศไทย และสวัสดิการแก่พนักงาน พร้อมตำแหน่งงานที่น่าสนใจ
การรถไฟแห่งประเทศไทย 125 ปี มีที่มาอย่างไร
การเดินทางด้วยรถไฟเป็นเสน่ห์แห่งการเดินทางที่ประเทศไทยได้มีโอกาสนำเทคโนโลยีการเดินเครื่องจักรกล มาใช้ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 โดยดำเนินการจากการศึกษาเทคโนโลยีจากยุโรปมาจัดตั้งกรมการรถไฟ เพื่อสำรวจเส้นทางเดินรางรถไฟไปยังภูมิภาคต่างๆ ก่อนเปิดให้ประชาชนใช้งานจนถึงปัจจุบันนี้
รถไฟเป็นเครื่องจักรที่เริ่มใช้ครั้งแรกในสหราชอาณาจักรอังกฤษ และเข้ามาในไทยช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ในรูปแบบของเล่น ซึ่งเป็นเครื่องราชบรรณาการจากสมเด็จพระนางวิกตอเรีย โมเดลรถไฟจำลองย่อส่วนนั้นเป็นรถจักรไอน้ำ และรถพ่วงครบขบวน ภายหลังรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) จึงได้มีพระบรมราชโองการสร้างทางรถไฟสยาม กรุงเทพฯ ถึง เมืองนครราชสีมา ในพุทธศักราช 2433
...
พิธีเปิดทางรถไฟ กรุงเทพฯ - นครราชสีมา ในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพระราชพิธีเปิดการเดินรถไฟระหว่าง สถานีกรุงเทพ - อยุธยา ระยะทาง 71 กิโลเมตร และเปิดให้ประชาชนเดินทางไปมาระหว่าง กรุงเทพฯ - อยุธยา ในวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ.2439 เป็นต้นไป ในระยะแรกเดินขบวนรถขึ้นล่องวันละ 4 ขบวน มีสถานีรวม 9 สถานี คือ สถานีกรุงเทพ บางซื่อ หลักสี่ หลักหก คลองรังสิต เชียงราก เชียงรากน้อย บางปะอิน และกรุงเก่า การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงได้ถือเอา "วันที่ 26 มีนาคม" เป็นวันสถาปนากิจการรถไฟ สืบมาจนถึงปัจจุบัน
กิจการการรถไฟพัฒนาเรื่อยมา จนกระทั่งปี พ.ศ. 2494 รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้เสนอให้กรมรถไฟหลวง เปลี่ยนฐานะมาเป็นรัฐวิสาหกิจ ในชื่อว่า "การรถไฟแห่งประเทศไทย" ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2494 เป็นต้นมา เส้นทางการเดินรถไฟ แบ่งออกเป็น 4 สาย ได้แก่
ทางสายเหนือ ถึง สถานีเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ความยาว 752.077 กิโลเมตร และมีทางแยกที่สถานีชุมทางบ้านดาราจังหวัดพิษณุโลก ถึง สถานีสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ความยาว 29.007 กิโลเมตร
ทางสายใต้ จากสถานีธนบุรี - สถานีสุไหลโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ความยาว 1,144.140 กิโลเมตร, ทางแยกสถานีปาดังเบซาร์ ความยาว 43.502 กิโลเมตร, ทางแยกสถานีสุพรรณบุรี ความยาว 78.090 กิโลเมตร, ทางแยกคีรีรัฐนิคม ความยาว 31.250 กม. ทางแยกกันตัง ความยาว 92.802 กิโลเมตร และทางแยกนครศรีธรรมราช ความยาว 35.081 กิโลเมตร
ทางสายตะวันตก ถึง สถานีชุมทางหนองปลาดุก - สถานีน้ำตก จังหวัดกาญจนบุรี ความยาว 130.989 กิโลเมตร
ทางสายตะวันออก ถึง สถานีอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ความยาว 260.449 กิโลเมตร, คลองสิบเก้า-ชุมทางแก่งคอย ความยาว 81.358 กิโลเมตร, ชุมทางเขาชีจรรย์ - มาบตาพุด ความยาว 24.070 กิโลเมตร
ปัจจุบันเปิดให้จองตั๋วรถไฟออนไลน์ได้ที่ : www.dticket.railway.co.th
คลิป 125 ปี การรถไฟแห่งประเทศไทย
...
การรถไฟแห่งประเทศไทย งานรัฐวิสาหกิจที่มีผู้สนใจสมัครสอบมากต่อปี
การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดสมัครสอบช่วงต้นเดือนกันยายนของทุกปี โดยตำแหน่งที่เปิดรับสมัครต่างๆ นั้นครอบคลุมการทำงานทั่วประเทศไทย ยกตัวอย่างเช่น
- พนักงานการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย
ตำแหน่งพนักงานการเดินรถ มีตั้งแต่หน้าที่คนขับรถไฟ นายสถานี พนักงานกั้นถนน อยู่สังกัดฝ่ายปฏิบัติการเดินรถ เป็นอาชีพที่สนุก ได้เดินทางไปยังภาคต่างๆ และต้องมีทักษะการติดต่อสื่อสารกับนายสถานี และการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเมื่อมีเหตุสุดวิสัยบนรางรถไฟ
- พนักงานขบวนรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย
พนักงานขบวนรถ สังกัดฝ่ายต่างๆ ทำหน้าที่จัดการขบวนรถ ทั้งเรื่องตรวจตั๋ว ดูแลผู้โดยสาร ดูแลการจัดคลังสินค้าขนส่ง รวมถึงตำแหน่งพนักงานห้ามล้อ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่การเดินรถ
- วิศวกร การรถไฟแห่งประเทศไทย
วิศวกรของการรถไฟแห่งประเทศไทย สังกัดฝ่ายการช่างกล, สังกัดฝ่ายการอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม, ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้างต่างๆ ถือเป็นตำแหน่งสำคัญอย่างยิ่งของการเดินรถไฟ เนื่องจากรถไฟเป็นเครื่องจักรกล และการก่อสร้างรางต้องใช้ความรู้ทางวิศวกรรม เพื่อความปลอดภัยจึงต้องมีตำแหน่งวิศวกรอยู่ทุกพื้นที่
...
การรถไฟแห่งประเทศไทย เงินเดือนเท่าไร
ตัวอย่าง ปริญญาตรี ตำแหน่ง พนักงานการเดินรถ หรือคนขับรถไฟ พบว่าเงินเดือนเริ่มต้น 16,830 บาท รับสาขาทางบัญชี การบริหาร รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ อาชีวอนามัยและความปลอดภัย คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งถือว่ามีความหลากหลายมาก
ส่วนตำแหน่งวิศวกรรม ที่รับวุฒิวิศวกรรม ระดับปริญญาตรี เงินเดือนเริ่มต้น 16,830 บาท เช่นกัน ทั้งนี้ไม่รวมสวัสดิการและอื่นๆ ที่อาจได้รับ
สมัครสอบการรถไฟแห่งประเทศไทย
ขั้นตอนการสมัครสอบเข้าทำงานกับการรถไฟแห่งประเทศไทย ต้องผ่านการสอบข้อเขียน การตรวจสอบคุณสมบัติ และการสอบสัมภาษณ์ ดูตำแหน่งที่เปิดสมัครสอบการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ที่นี่ https://railway.thaijobjob.com/202110/index.php
สวัสดิการ การรถไฟแห่งประเทศไทย
สิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย ประกอบด้วย
- วัน เวลาทำงาน
- เงินเดือน ค่าจ้าง
- ค่าล่วงเวลา
- ค่าทำงานในวันหยุด
- เงินทดแทนต่างๆ
- ค่าชดเชย
- ค่ารักษาพยาบาลเนื่องจากการทำงาน และมิใช่เนื่องจากการทำงาน
- ค่าช่วยเหลือการศึกษาของบุตร
- ค่าช่วยเหลือบุตร
- วันหยุดพักผ่อน
- การลาป่วย
...
ประโยชน์อื่นที่การรถไฟแห่งประเทศไทยจัดให้ ประกอบด้วย
- เบี้ยเลี้ยงทำการนอกเขตหรือสถานที่
- เบี้ยเลี้ยงทำการเดินรถ
- ค่ารอทำขบวน
- ค่าตอบแทนการทำงานเกินเวลาทำงานปกติ
- ค่าเช่าที่พัก
- ค่าพาหนะ
พนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทยไม่มีบำนาญ แต่มีบำเหน็จความชอบเป็นกรณีพิเศษแก่ลูกจ้างที่ปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยงภัยจังหวัดชายแดนภาคใต้
สวัสดิการอื่นๆ
- ลูกจ้างและครอบครัวประสบภัยธรรมชาติ
- ลูกจ้างประสบอันตรายจากผู้ก่อการร้าย และเมื่อมีเหตุอันเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ
- ลูกจ้างประสบอันตรายถึงแก่ความตาย
วันลา
- เจ็บป่วยธรรมดาไม่เกิน 30 วันทำงาน
- เจ็บป่วยเนื่องจากการปฏิบัติงานในหน้าที่ไม่เกิน 120 วันทำงาน
- ประสบอันตราย เนื่องจากการทำงาน พักรักษาตัวติดต่อกันไม่เกิน 180 วันทำงาน ถ้าเกินกว่านั้นขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์รถไฟ
สุดท้ายนี้หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการสมัครสอบ หรือตำแหน่งในการรถไฟแห่งประเทศไทย โทรสอบถามได้ที่ 02-257-7159 กด 3 วันจันทร์ถึงศุกร์ 08.30 - 17.30 น. และที่เว็บไซต์ https://railway.thaijobjob.com
ที่มา : ระเบียบการรถไฟแห่งประเทศไทย ฉบับที่ ๑, ๒ ว่าด้วยลูกจ้างเฉพาะงานการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๖๒
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :