ความจำเป็นในการพัฒนาวัสดุก่อสร้างที่ยั่งยืนนั้น มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ และในทุกวันนี้ การผลิตปูนซีเมนต์ เหล็ก คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 15% ของการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลกในแต่ละปี และการผลิตอิฐทนไฟ รวมถึง การทำปูนและซีเมนต์ก็มีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก สิ่งเหล่านี้ทำให้นักวิจัยพยายามหาทางเลือกสร้างวัสดุที่ยั่งยืน มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาวัสดุก่อสร้างที่ทำจากของเสีย
เมื่อเร็วๆนี้ นักเคมีอินทรีย์จากมหาวิทยาลัยฟลินเดอร์ส ในออสเตรเลีย เผยว่า ได้ใช้วัตถุดิบที่มีต้นทุนต่ำเพื่อสร้างวัสดุโพลิเมอร์ที่มีน้ำหนักเบา แต่ทนทานคล้ายกับอิฐ สามารถเชื่อมติดกันด้วยปฏิกิริยาเคมีที่ปราศจากกาว นั่นหมายความว่าพวกมันสามารถเชื่อมติดกันโดยไม่ต้องใช้ปูนเหมือนวิธีการสร้างแบบเดิม หลังจากการทดสอบอิฐชนิดใหม่ที่ผลิตได้จากน้ำมันที่ใช้แล้วทิ้ง ผสมกับกำมะถันและไดไซโคลเพนทาไดอีน (Dicyclo pentadiene-DCPD) ซึ่งสารทั้ง 2 ชนิดนี้เป็นผลพลอยได้จากการกลั่นปิโตรเลียม
งานวิจัยชิ้นนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่มากขึ้น ในการก้าวไปสู่การส่งเสริมสภาพแวดล้อมยั่งยืน แถมยังประหยัดเงินและทรัพยากรได้ด้วย.
(ภาพประกอบ Credit : Flinders University)