รายงานตัวว่างงานช่วยให้ลูกจ้างที่อยู่ในระบบประกันสังคมมีเงินเข้าบัญชีตัวเองจากเงินประกันสังคมที่ส่งสมทบไว้จากเงินสมทบทุกเดือน ว่างงานเป็นสภาวะที่ลูกจ้างไม่อยากเจอ แต่หากคุณเป็นลูกจ้างที่อยู่ในระบบประกันสังคมมาตรา 33 ควรศึกษาวิธีการขึ้นทะเบียนว่างงานไว้ ดังนี้

วิธีลงทะเบียนว่างงานประกันสังคม และการรายงานตัวว่างงาน กรมการจัดหางาน ผ่าน E-service

รายงานตัวว่างงานออนไลน์ คืออะไร

การขึ้นทะเบียนว่างงานออนไลน์จะทำได้ก็ต่อเมื่อ

1. คุณเป็นผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม มาตรา 33 จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนว่างงาน

เงื่อนไขการว่างงานคือ

1.1) ลาออกจากงาน หรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง ได้รับเงินทดแทน 30% ของค่าจ้าง ไม่เกิน 90 วันต่อรอบปฏิทิน

ยกตัวอย่างเช่น หากค่าจ้าง 15,000 บาท (จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนว่างงาน) จะได้รับเงินทดแทนวันละ = (15,000 x 0.30 x 90) / 30 = 150 บาทต่อวัน ไม่เกิน 90 วัน

...

อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ คือ หากว่างงานในรอบปีปฏิทินนั้น จะได้เงินตั้งแต่ 150-13,500 บาท

  • ว่างงาน 1 วัน = ได้รับเงินชดเชย 150 บาท
  • ว่างงาน 7 วัน = ได้รับเงินชดเชย 1,050 บาท
  • ว่างงาน 15 วัน = ได้รับเงินชดเชย 1,500 บาท
  • ว่างงาน 30 วัน (1 เดือน) = ได้รับเงินชดเชย 4,500 บาท
  • ว่างงาน 60 วัน (2 เดือน) = ได้รับเงินชดเชย 9,000 บาท
  • ว่างงาน 90 วัน (3 เดือน) = ได้รับเงินชดเชย 13,500 บาท

(**เป็นการคำนวณแบบคร่าวๆ)

1.2) ถูกเลิกจ้าง ได้รับเงินทดแทน 50% ของค่าจ้าง ไม่เกิน 180 วันต่อรอบปฏิทิน

ยกตัวอย่างเช่น หากค่าจ้าง 15,000 บาท (จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนว่างงาน) จะได้รับเงินทดแทนวันละ = (15,000 x 0.50 x 180) / 30 = 250 บาทต่อวัน ไม่เกิน 180 วัน

อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ คือ หากว่างงานในรอบปีปฏิทินนั้น จะได้เงินตั้งแต่ 250-45,000 บาท

  • ถูกเลิกจ้าง 30 วัน (1 เดือน) = ได้รับเงินชดเชย 7,500 บาท
  • ถูกเลิกจ้าง 60 วัน (2 เดือน) = ได้รับเงินชดเชย 15,000 บาท
  • ถูกเลิกจ้าง 90 วัน (3 เดือน) = ได้รับเงินชดเชย 22,500 บาท
  • ถูกเลิกจ้าง 120 วัน (4 เดือน) = ได้รับเงินชดเชย 30,000 บาท
  • ถูกเลิกจ้าง 150 วัน (5 เดือน) = ได้รับเงินชดเชย 37,500 บาท
  • ถูกเลิกจ้าง 180 วัน (6 เดือน) = ได้รับเงินชดเชย 45,000 บาท

(**เป็นการคำนวณแบบคร่าวๆ)

2. ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม สปส.2-01/7 หรือ แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กองทุนประกันสังคม กรณีว่างงาน (คลิกที่นี่)

แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กองทุนประกันสังคม กรณีว่างงาน ดังนี้

2.1) ชื่อสกุล เลขบัตรประชาชน ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล
2.2) ยื่นคำร้องในฐานะผู้ประกันตน หรือผู้มีสิทธิ์ กรณีออกจากงาน หรือเหตุสุดวิสัย
2.3) กรอกชื่อสถานประกอบการสุดท้ายที่ว่างงาน
2.4) วันเดือนปีที่ออกจากงาน
2.5) กรอกสาเหตุที่ออกจากงาน

E-service รายงานตัวว่างงาน

เงินสมทบที่จ่ายทุกเดือนจะถูกแบ่งไว้ร้อยละ 0.5 เพื่อจ่ายทดแทนเมื่อว่างงานจากการลาออก หรือถูกเลิกจ้าง โดยผู้ประกันตนต้องยื่นเอกสารที่สำนักงานประกันสังคม และลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ https://e-service.doe.go.th เพื่อรับรหัสผ่านไปกดรายงานตัว

วิธีเข้าสู่ระบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนและรายงานตัวกรณีว่างงานผ่านอินเทอร์เน็ตครั้งแรก ดังนี้

1. เข้าเบราว์เซอร์ Google Chrome พิมพ์ empui.doe.go.th เลือก “กรณีใช้บริการจากที่บ้านหรือสถานที่อื่นที่ไม่ใช่สำนักงาน” หรือ “กรณีเดินทางมาใช้บริการที่สำนักงาน”

...

2. เลือก “ลงทะเบียน” หรือ “ลงชื่อเข้าใช้งาน”

2.1) ลงทะเบียน สำหรับผู้ใช้ใหม่
2.2) ลงชื่อเข้าใช้งาน เพื่อใส่เลขบัตรประชาชน และรหัสผ่านที่เคยได้รับแล้ว

3. อ่านรายละเอียด และกดยอมรับและเข้าใช้งาน

4. กรอกข้อมูลจากบัตรประชาชน ใช้ข้อมูลด้านหน้า และด้านหลังบัตรประชาชน

5. อัปโหลดรูปและกรอกข้อมูลส่วนบุคคลอื่นๆ

6. คลิกดำเนินการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงาน

7. เลือกเมนูขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงานทางด้านซ้ายของจอ ได้แก่ สถานที่ทำงานล่สุด วันที่ออกจากงาน สาเหตุที่ออกจากงาน ข้อมูลนายจ้างหรือสถานประกอบการ ตำแหน่ง เงินเดือนล่าสุด

...

8. เมื่อกรอกข้อมูลหมดแล้ว คลิกข้อมูลขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน ตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้อง หากต้องการแก้ไขคลิกที่ “ข้อมูลส่วนตัว”

9. รับเอกสาร “หนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงาน” และ “วันที่นัดรายงานตัวของผู้ประกันตน” สามารถพิมพ์ออกมาเก็บไว้ได้ และตรวจสอบวันรายงานตัวว่างงาน 8 ครั้ง

10. หากต้องการหางาน สามารถคลิกค้นหาตำแหน่งเพิ่มเติม ที่ช่อง “งานแนะนำ” และกด “สมัครงาน Smart Job”

Q & A ข้อสงสัยเกี่ยวกับขั้นตอน “รายงานตัวว่างงาน”

...

Q : ออกจากงานกี่วันถึงแจ้งว่างงานได้
A : ผู้ประกันตนยื่นขึ้นทะเบียนว่างงานได้ตั้งแต่วันที่ลาออก หรือถูกเลิกจ้างภายใน 30 วัน และต้องยื่นเรื่องรับเงินภายใน 1 ปี ไม่เช่นนั้นจะไม่ได้รับสิทธิทดแทนกรณีว่างงาน

Q : เอกสารขอรับประโยชน์ทดแทนว่างงาน ใช้อะไรบ้าง
A : 1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส.2-01/7) หรือ สปส.6-09 หรือ หนังสือหรือคำสั่งของนายจ้างให้ออกจากงาน (ถ้ามี)
2. บัตรประจำตัวประชาชนพร้อมสำเนา
3. รูปถ่าย 1 นิ้ว 1 รูป
4. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ประกันตน ได้แก่

ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน), ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน), ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน), ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน), ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

Q : รายงานตัวว่างงานก่อนกําหนด กี่วันได้เงิน
A : เมื่อผู้ประกันตนขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานแล้วในระบบ กรมการจัดหางานจะกำหนดวันที่นัดรายงานตัวว่างงาน 6 ครั้ง โดยผู้ประกันตนสามารถเข้าสู่ระบบมากดรายงานตัวก่อนได้ ส่วนเงินจะได้เมื่อไหร่นั้นขึ้นอยู่กับรอบการโอนเข้าบัญชี

ที่มา : empui.doe.go.th