การศึกษาเพนกวินจักรพรรดิในทวีปแอนตาร์กติกาเป็นความท้าทายของนักวิทยาศาสตร์ เนื่องจากห่วงโซ่อาหารในพื้นที่นั้นมีขนาดค่อนข้างเล็ก การเปลี่ยนแปลงใดๆกับสายพันธุ์ที่อยู่ต่ำกว่าในห่วงโซ่อาหาร ก็อาจส่งผลต่อสุขภาพของเพนกวินจักรพรรดิที่อยู่ในฐานะผู้ล่า ดังนั้น การเรียนรู้เพิ่มเติมว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจส่งผลกระทบต่อสัตว์ที่อาศัยอยู่ในทวีปแอนตาร์กติกอย่างไร จึงเป็นเรื่องสำคัญไม่ต่างไปจากพื้นที่อื่นๆในโลก

เมื่อเร็วๆนี้ โครงการมารีน แอนิมอล รีโมท เซนซิงก์ แล็ป (Marine Animal Remote Sensing Lab-MARE) ที่ได้รับทุนจากสถาบันสมุทรศาสตร์วูดส์โฮล องค์กรที่ไม่แสวงหากำไรในสหรัฐอเมริกา ซึ่งโครงการได้มุ่งเน้นติดตามตำแหน่งของเพนกวินจักรพรรดิในแอนตาร์กติกา โดยส่ง ECHO หุ่นยนต์โรเวอร์สีเหลือง ที่ควบคุมจากระยะไกลจากหอสังเกตการณ์เพนกวิน Single Penguin Observation and Tracking observatory ผ่านการเชื่อมต่อกับดาวเทียม ไปสอดแนมอาณาจักรเพนกวินจักรพรรดิในอ่าวอัตกา หุ่นยนต์ ECHO เคลื่อนไหวได้ช้ามากและใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ผ่านเสาอากาศในตัวเอง สามารถจับร่องรอยของเพนกวินแต่ละตัวได้

ตั้งแต่ปี 2560 นักวิจัยจากโครงการ MARE ได้ติดตามลูกเพนกวิน 300 ตัวต่อปี ขณะนี้มีเพนกวินมากกว่า 1,000 ตัวที่กำลังติดตามในถิ่นของเพนกวินที่มีอยู่ราว 26,000 ตัว หุ่นยนต์ ECHO ได้รวบรวมข้อมูลมากว่า 8 สัปดาห์แล้ว ซึ่งโครงการ MARE วางแผนที่จะติดตามเพนกวินในอีก 30 ปีข้างหน้าโดยข้อมูลแรกจะเสร็จสมบูรณ์ในปี 2569 ข้อมูลจะนำไปวิเคราะห์เพื่อกำหนดภาวะโดยรวมของแอนตาร์กติกาและวิธีที่เพนกวินกำลังปรับตัว.

Credit : Woods Hole Oceanographic Institution