ช่วงหยุดยาวในเทศกาลสงกรานต์ 2565 นี้ หากผู้ประกันตนมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 จะต้องเดินทางไกล แล้วประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยระหว่างช่วงสงกรานต์ สามารถรับสิทธิประกันสังคมได้ดังต่อไปนี้
ผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39
สิทธิประกันสังคมสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 หากประสบอุบัติเหตุระหว่างการเดินทาง หรือเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลกับโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดที่ใดก็ได้ ไม่จำกัดว่าต้องเป็นโรงพยาบาลรัฐหรือโรงพยาบาลเอกชน
ขั้นตอนการเข้ารับบริการรักษา
- ยื่น “บัตรประจำตัวประชาชน” เพื่อแสดงการเข้าใช้สิทธิ
- เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ มีสิทธิทุกที่ (UCEP) ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2560
- กรณีผู้ประกันตนประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติไม่สามารถเข้ารับบริการทางการแพทย์ในสถานพยาบาลตามสิทธิได้
หากเข้าหลักเกณฑ์ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติผู้ประกันตนไม่ต้องสำรองค่าใช้จ่าย โดยผู้ป่วยที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติต้องมีอาการดังต่อไปนี้
- หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ
- หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง หายใจติดขัดมีเสียงดัง
- ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น หรือมีอาการชักร่วม
- เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง
- แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัดแบบปัจจุบันทันด่วน หรือชักต่อเนื่องไม่หยุด
- มีอาการอื่นร่วมที่มีผลต่อการหายใจ ระบบการไหลเวียนโลหิต และระบบสมองที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต
กรณีไม่เข้าหลักเกณฑ์ฉุกเฉินวิกฤติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เดิม ผู้ประกันตนหรือสถานพยาบาลเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตามที่ประกาศคณะกรรมการแพทย์กำหนดครอบคลุม 72 ชั่วโมงไม่นับรวมวันหยุดราชการ
...
กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน/ฉุกเฉินวิกฤติ ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุดและให้รีบแจ้งสถานพยาบาลตามสิทธิเพื่อรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นภายใน 72 ชั่วโมง
ผู้ประกันตนมาตรา 40
สิทธิประกันสังคมสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 40 การรักษาพยาบาลสามารถใช้สิทธิของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ โดยมีรายละเอียดดังนี้
กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
เงื่อนไขการรับสิทธิ
ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบให้กับสำนักงานประกันสังคมไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 เดือน ก่อนเดือนที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
ทางเลือกที่ 1 และ 2
สิทธิประกันสังคมได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้
- นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป ได้รับวันละ 300 บาท
- ไม่นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล แต่มีใบรับรองแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป ได้รับวันละ 200 บาท
- ไปพบแพทย์ (ผู้ป่วยนอก) และแพทย์ไม่มีความเห็นให้หยุดพักรักษาตัว หรือ ให้หยุดพักรักษาตัวไม่เกิน 2 วัน (มีใบรับรองแพทย์มาแสดง) ได้รับครั้งละ 50 บาท ไม่เกิน 3 ครั้ง ต่อปี
*ภายใน 1 ปี ได้รับสิทธิตาม (1) และ (2) รวมกันไม่เกิน 30 วันต่อปี
ทางเลือกที่ 3
สิทธิประกันสังคมได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้
- นอนพักรักษาในโรงพยาบาลตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป ได้รับวันละ 300 บาท
- ไม่นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล แต่มีใบรับรองแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป ได้รับวันละ 200 บาท
*ภายใน 1 ปี รับสิทธิตาม (1) และ (2) รวมกันไม่เกิน 90 วัน
หมายเหตุ: สิทธิการรักษาใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ/บัตรทอง (สปสช.) หรือสิทธิเดิมที่มีอยู่
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะได้รับสิทธิประโยชน์จากประกันสังคมและ สปสช. แต่การไม่ประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยใดๆ เลย จะเป็นการดีที่สุด
อ้างอิงข้อมูล: สำนักงานประกันสังคม, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)