เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 90 พรรษา และในโอกาสครบรอบ 60 ปี แห่งการก่อตั้งมูลนิธิช่วยคนปัญญาอ่อนแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ดร.สายสม วงศาสุลักษณ์ ประธานมูลนิธิช่วยคนปัญญาอ่อนแห่งประเทศไทยฯ ได้จัดกิจกรรม “อบรมอาสาสมัครในโครงการพระราชดำริ เฉลิมพระเกียรติ 90 พรรษา สมเด็จพระบรม ราชชนนีพันปีหลวง” ณ ห้องประชุมหทัยนเรศวร์ ชั้น 7 มูลนิธิช่วยคนปัญญาอ่อนแห่งประเทศไทยฯ เมื่อเร็วๆนี้

การจัดอบรมอาสาสมัครในโครงการพระราชดำริครั้งนี้ เป็นการบูรณาการในเชิงความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ และมากประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องในการดูแลผู้พิการทางสติปัญญา โดยได้รับความกรุณาจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิร่วมบรรยาย อาทิ พญ.มธุรดา สุวรรณโพธิ์ ผอ.รพ.ศรีธัญญา บรรยายเรื่อง “ภาวะปัญญาอ่อน” ว่า อาการที่แสดงภาวะบกพร่องทางสติปัญญาต้องแสดงก่อนอายุ 18 ปี อย่างไรก็ตาม เด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ขวบ ที่มีอาการแสดงภาวะบกพร่องทางสติปัญญายังไม่ควรได้รับการวินิจฉัยว่ามีความบกพร่องทางสติปัญญา แต่ควรได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะบกพร่องทางพัฒนาการมากกว่า จากนั้นจึงคอยติดตามผล และเมื่อเด็กมีอายุมากขึ้นจึงจะมีการวินิจฉัยความบกพร่องทางสติปัญญา ซึ่งหน้าที่ของจิตอาสาที่สำคัญคือ “การฟังและการให้กำลังใจ” การช่วยเหลือบุคคลที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา เน้นการฟื้นฟูสมรรถภาพของสมองและร่างกายมากกว่าการรักษาด้วยยาเพียงอย่างเดียว การวินิจฉัยให้เร็วที่สุด และการฟื้นฟูสมรรถภาพทันทีที่วินิจฉัยได้จะช่วยหยุดยั้งความพิการมิให้เพิ่มขึ้น

...

ส่วนแนวทางการฟื้นฟูสมรรถภาพทำได้ด้วยทางการแพทย์ ทางการศึกษา ทางอาชีพ และการป้องกันภาวะบกพร่องทางสติปัญญาในช่วงระยะก่อนตั้งครรภ์ ระยะตั้งครรภ์ และหลังคลอด พร้อมกันนี้ยังได้ฝากข้อคิดในการดูแลรักษาบุคคลที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาว่า เราต้องให้บุค คลที่มีภาวะบก พร่องทางสติ ปัญญาสามารถเรียนรู้ ดำเนินชีวิตอย่างทัดเทียมและมีความสุขในสังคมได้เช่นเดียวกับบุคคลปกติ ถ้าสังคมเปิดโอกาสและให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสม จะช่วยเอื้ออำนวยให้บุคคลที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาได้ใช้ชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีและมีคุณค่า.