ในช่วงรอยต่อปี 2564-2565 โควิด-19 ยังคงระบาดอยู่ และมีแนวโน้มว่าจะเป็นโรคประจำถิ่นที่ต้องฉีดวัคซีนซ้ำทุกปี เพื่อให้ร่างกายปรับตัวตามสายพันธุ์ ปัจจุบันเดลตาเป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดอยู่ และโอมิครอนก็เป็นสายพันธุ์ที่กำลังแพร่กระจาย ติดตามเช็กอาการโควิดล่าสุด 2565/2022 ได้ที่นี่

เช็กอาการโควิดล่าสุดรอบใหม่ ต้นปี 2565/2022

อาการโควิดเดลตาล่าสุด

ปัจจุบันอาการโควิดเดลตาในผู้ป่วยจำนวนหนึ่งยังคงมีอาการรุนแรงที่ต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล อาการโควิดเดลตาล่าสุด ลักษณะ 5 อาการของผู้ติดเชื้อโควิดเดลตามีดังนี้

1. ปวดศีรษะ
2. เจ็บคอ
3. น้ำมูกไหล
4. เป็นไข้
5. ไอบ่อย

...

อาการโควิดโอมิครอนล่าสุด

กรมการแพทย์เผยลักษณะอาการของโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน พบอาการไอมากที่สุด รองลงมาคือเจ็บคอ ส่วนอาการได้กลิ่นลดลงนั้นพบน้อยที่สุด อาการโควิดโอมิครอนล่าสุดมีดังนี้

1. ไอ 54%
2. เจ็บคอ 37%
3. ไข้ 29%
4. ปวดกล้ามเนื้อ 15%
5. มีน้ำมูก 12%
6. ปวดศีรษะ 10%
7. หายใจลำบาก 5%
8. ได้กลิ่นลดลง 2%

**อัปเดต 29 ธันวาคม 2565

ความแตกต่างระหว่างอาการโควิดโอมิครอน และเดลตา

โอมิครอนเป็นโควิดกลายพันธุ์ที่พบจุดเริ่มต้นที่ประเทศแอฟริกา แต่ในปัจจุบันได้กลายเป็นโควิดสายพันธุ์หลักในสหรัฐอเมริกาแทนสายพันธุ์เดลตาแล้ว การตรวจสอบโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน และสายพันธุ์เดลตา ยังใช้วิธีการตรวจสอบด้วย PCR และ Antigen Test Kit ได้

อาการโควิดโอมิครอนมีข้อบ่งชี้บางอย่างให้ผู้เชี่ยวชาญได้ต้องติดตาม ข้อมูลมาจากบริษัทประกันสุขภาพเอกชนรายใหญ่ของแอฟริกาที่สังเกตเห็นอาการโควิดโอมิครอนที่แตกต่างในผู้ป่วยแอฟริกามีอาการคัน เจ็บคอ คัดจมูก ไอแห้ง ปวดกล้ามเนื้อ และปวดหลังส่วนล่าง แต่อาการเหล่านี้ก็เป็นอาการที่พบในผู้ป่วยเดลตา ซึ่งเร็วเกินไปถ้าจะบอกว่าเป็นความแตกต่างระหว่างอาการโอมิครอนและสายพันธุ์ก่อนหน้า

ความแตกต่างระหว่างอาการ “โอมิครอน” และ “เดลตา” ที่มีโอกาสเป็นไปได้มากที่สุด คือการสูญเสียรสชาติและการได้กลิ่น การติดตามอาการโควิดในหลายประเทศพบอาการนี้น้อยลง ยังไม่มีผลยืนยันที่ชัดเจนว่ามาจากการได้รับวัคซีนมาก่อนหรือไม่ เนื่องจากแต่ละบุคคลมีสถานะการรับวัคซีนที่แตกต่างกันออกไป จึงแยกได้ยากว่าเป็นการติดเชื้อเดลตา หรือโอมิครอน

ความแตกต่างระหว่าง “โอมิครอน” กับสายพันธุ์อื่น

แม้ว่าอาการโอมิครอนจะใกล้เคียงกับเดลตา แต่ความแตกต่างที่ชัดเจนกับสายพันธุ์อื่นๆ คือระยะฟักตัวที่สั้นกว่า หลังจากบุคคลนั้นรับเชื้อแล้วใช้เวลาเพียง 3 วันก็จะเกิดอาการ และใช้เวลา 4-6 วัน แสดงผลการตรวจเป็นบวก ซึ่งอาจหมายถึงการปรับตัวของเชื้อไวรัสที่เข้าไปในเซลล์ได้เร็วขึ้น

ข้อมูลอาการโอมิครอนของผู้ติดเชื้อโควิดในแอฟริกา พบว่ามีอาการรุนแรงจนต้องนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลน้อยกว่าผู้ติดเชื้อสายพันธุ์อื่น แต่การติดเชื้อระยะแรกที่ดูมีอาการน้อยก็อาจจะแปรเป็นอาการรุนแรงในระยะหลังได้

เพจไทยรู้สู้โควิด เผยข้อมูลจากแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน และศาสตราจารย์รับเชิญของวิทยาลัยสาธารณสุขสถาบันมิลเคน แห่งมหาวิทยาลัยจอร์จวอชิงตัน เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันโอมิครอนว่าแนะนำให้ใช้หน้ากากอนามัยทางการแพทย์แทนการสวมหน้ากากผ้า

อาการโควิดสายพันธุ์ใหม่ ป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน

แม้ว่าโควิด-19 จะเป็นโรคระบาดใหม่ แต่ก็ป้องกันความรุนแรงของโรคได้ด้วยการฉีดวัคซีนโควิด ผู้ที่มีโรคประจำตัวและกังวลผลข้างเคียงจากวัคซีนโควิดควรปรึกษาแพทย์ก่อนเข้ารับวัคซีน และอย่าลืมนัดติดตามฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นเข็มถัดไป

...

อาการโควิดที่มีความรุนแรงลดน้อยลง จนคล้ายกับอาการไข้หวัดใหญ่ ผู้ที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิดจะมีอาการหายใจลำบาก ไอ ดังนั้นหากเข้าไปในพื้นที่เสี่ยงแล้วมีอาการใกล้เคียงที่กล่าวมาข้างต้นใน 3-6 วัน ควรเข้ารับการตรวจสอบเชื้อด้วยตนเองผ่าน Antigen Test Kit หรือ PCR กับสถานพยาบาลที่ยืนยันผลได้ เพื่อเข้ารับการรักษาต่อไป

อ้างอิง 

1. https://www.nytimes.com/2021/12/21/well/live/omicron-variant-symptoms-covid.html
2. https://www.nbcnews.com/health/health-news/omicron-symptoms-covid-what-to-know-rcna9469