การเว้นระยะห่างทางสังคม (social distancing) ไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นในสังคมมนุษย์ โดยเฉพาะยามที่เกิดโรคระบาด แต่ในสังคมของสัตว์หลายชนิดก็มีพฤติกรรมเว้นระยะห่างทางสังคมเช่นกัน เมื่อเร็วๆนี้ ทีมวิจัยนานาชาติจากมหาวิทยาลัย คอลเลจลอนดอนในอังกฤษ และมหาวิทยาลัยซาสซารีในอิตาลี ได้เผยการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมเว้นระยะห่างทางสังคมของ “ผึ้ง”

นักวิจัยเผยว่าผึ้งเป็นสัตว์สังคมเพราะพวกมันได้ประโยชน์จากการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบและการมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างการดูแลซึ่งกันและกัน ซึ่งการวิจัยใหม่ได้ประเมินถึงการปรากฏตัวของปรสิตตัวร้ายหรือไรศัตรูผึ้งอย่าง Varroa ecto parasite ว่าจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กรทางสังคมที่สามารถลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคภายในรังผึ้งได้หรือไม่ ผลวิจัยแสดงให้เห็นว่าอาณานิคมของผึ้งตอบสนองต่อการรบกวนจากไรที่เป็นอันตราย โดยผึ้งมีการปรับเปลี่ยนการใช้พื้นที่และปรับเปลี่ยนปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในรัง ด้วยการเพิ่มระยะห่างทางสังคมระหว่างผึ้งอายุน้อยและผึ้งแก่ เรียกง่ายๆ ว่าผึ้งเพิ่มการเว้นระยะห่างทางสังคมเมื่อรังของพวกมันถูกคุกคามจากปรสิตนั่นเอง

อาจสรุปได้ว่าเมื่อกิจกรรมทางสังคมจะเพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้อ ก็ดูเหมือนว่าผึ้งจะพัฒนาปรับสมดุลระหว่างความเสี่ยงและผลประโยชน์ด้วยการเว้นระยะห่างทางสังคม ดังนั้น อาณานิคมของผึ้งจึงเป็นแบบจำลองที่ช่วยในการศึกษาการเว้นระยะห่างทางสังคม และทำให้เข้าใจถึงคุณค่ารวมถึงประสิทธิผลของพฤติกรรมนี้อย่างเต็มที่.