เป้าหมายแรกของ Project CETI (Cetacean Translation Initiative) คือการรวบรวมชุดการคลิกที่เรียกว่าโคดา (coda) ที่วาฬสเปิร์มใช้ในการสื่อสาร เพื่อเปรียบเทียบแบบจำลองภาษาและทำนายผลการเรียนรู้เชิงลึกเกี่ยวกับการที่วาฬสเปิร์มสื่อสารกัน

เมื่อเร็วๆนี้ ทีมนักวิทยาศาสตร์ตั้งเป้า หมายว่าจะใช้ Project CETI เพื่อถอดรหัสและสื่อสารกับวาฬสเปิร์ม ด้วยการใช้ปัญญาประดิษฐ์ หรือเอไอ (Arti ficial Intelligence-AI) โดยหวังจะทำความเข้าใจภาษาของวาฬสเปิร์ม และสิ่งที่ต้องทำคือถอดรหัสเสียงคลิก หรือโคดา ผ่านการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural language processing-NLP) ทีมนักวิทยาศาสตร์เผยว่าดูเหมือนการทำงานจะเป็นไปได้ดีและค่อนข้างง่าย ทว่าก็มีอุปสรรคใหญ่อย่างหนึ่งคือพวกเขายังต้องการข้อมูลโคดาจากวาฬอีกเป็นจำนวนมาก

ทั้งนี้ หาก Project CETI บรรลุภารกิจที่ยากลำบากเหล่านี้ ก็มีความเป็นไปได้ที่แบบจำลองภาษาจะสามารถพัฒนาการสื่อสารกับวาฬได้มากขึ้น รวมถึงอาจเปลี่ยนแปลงวิธีที่มนุษย์รับรู้และปฏิบัติต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความเคารพต่อโลกและสิ่งมีชีวิตอื่นๆมากขึ้น.