เนื้องอก “กลัยโอบลาสโตมา” (Glioblastoma) เป็นมะเร็งสมองที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้ใหญ่ สามารถแพร่กระจายอย่างรวดเร็วไปยังส่วนอื่นๆ ของสมอง ทำให้ยากต่อการรักษา ซึ่งมีข้อมูลจากสมาคมประสาทศัลยศาสตร์อเมริกัน เผยว่าการรอดชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งชนิดนี้อยู่ที่ประมาณ 40% ในปีแรกหลังการวินิจฉัย
มีความพยายามหาวิธีช่วยในการรักษามะเร็งชนิดนี้อย่างต่อเนื่อง วิธีหนึ่งที่นักวิจัยนิยมทำก็คือการพิมพ์แบบจำลองเนื้องอก 3 มิติเพื่อวางแผนสำหรับการผ่าตัด นั่นก็เป็นเพราะยิ่งเลียนแบบทางสรีรวิทยาได้มากเท่าไหร่ ก็จะทำให้มีการคาดการณ์ที่ดีขึ้นในแง่ของวิธีการรักษาด้วยยาที่จะตอบสนองได้กับเนื้องอกที่เกิดขึ้นจริงในร่างกายของผู้ป่วย ล่าสุด ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทลอาวีฟ ในอิสราเอล รายงานการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ แม้จะยังมุ่งเน้นไปที่การพิมพ์ 3 มิติ แต่ก็ต่างออกไปจากที่ผ่านๆ มา เนื่องจากพวกเขาได้สร้างเนื้อเยื่อสมองที่พิมพ์เป็น 3 มิติซึ่งใช้เซลล์ของผู้ป่วยมะเร็งสมองของตัวเอง
...
ทีมวิจัยเผยว่า ได้ใช้เซลล์ที่มีชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งสมอง “กลัยโอบลาสโตมา” เพื่อสร้างแบบจำลองของเนื้องอก ที่ตรงกับการสแกนด้วยเครื่องเอ็มอาร์ไอ (MRI) หรือเครื่องตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มาทดสอบประสิทธิภาพของการรักษาที่อาจเกิดขึ้นก่อนที่จะนำไปใช้จริงกับภายในร่างกาย และนี่อาจเป็นการเปลี่ยนอีกทางเลือกของการรักษาทางการแพทย์.