สาธารณสุขประเทศไทยได้นำแนวทางโฮมไอโซเลชั่น (Home Isolation) มาใช้ และสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้รับรองว่า ผู้เอาประกันภัยที่เข้ารับการรักษาตัวด้วยวิธีนี้ จะได้รับความคุ้มครองในกรมธรรม์ตามเดิม เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงได้เข้าถึงการรักษา ผู้ป่วยใหม่ที่ยืนยันการติดเชื้อโควิด-19 สามารถลงทะเบียนเพื่อรับยา และเข้าถึงแพทย์ด้วยวิธีการ Telemedicine ได้จนกว่าจะหาย โดยมีรายละเอียดดังนี้

โฮมไอโซเลชั่น (Home Isolation) คืออะไร

แนวทางปฏิบัติโฮมไอโซเลชั่น (Home Isolation) คือ กระบวนการรักษาตัวที่บ้านสำหรับผู้ป่วยที่เพิ่งพบเชื้อ และผู้ป่วยที่รักษาตัวในโรงพยาบาลมาแล้วอย่างน้อย 7-10 วัน ที่มีอาการดีขึ้น แพทย์ยินยอมให้กักตัวที่บ้านได้ โดยทั้ง 2 กลุ่ม จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้

1. อายุไม่เกิน 60 ปี
2. พักอาศัยอยู่คนเดียว หรืออยู่ร่วมกับคนอื่นไม่เกิน 1 คน
3. ไม่เป็นโรคที่เสี่ยงต่อการเกิดอาการรุนแรง เช่น โรคปอด, โรคไตเรื้อรัง, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคหลอดเลือดในสมอง, โรคอ้วน, โรคเบาหวาน ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์

...

กรณีเป็นผู้ป่วยใหม่มีเงื่อนไขดังนี้

1. ตรวจพบว่าเป็นโควิดจาก Antigen Test Kit หรือได้รับการยืนยันจากสถานพยาบาล
2. เป็นผู้ป่วยในกลุ่มอาการเล็กน้อย หรือ “ผู้ป่วยสีเขียว”
3. มีไข้ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป
4. ระดับออกซิเจนไม่ต่ำกว่า 96%
5. ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ
6. ไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส ตาแดง มีผื่น
7. ถ่ายเหลว
8. ไม่มีอาการหายใจเร็ว, ไม่มีอาการหายใจเหนื่อย, ไม่มีอาการหายใจลำบาก, ไม่มีอาการปอดอักเสบ

วิธีปฏิบัติ Home Isolation

เมื่อผู้ป่วยจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาตัวด้วยที่บ้านแล้ว เตรียมอุปกรณ์ป้องกันการแพร่เชื้อ ได้แก่ เจลล้างมือ, แอลกอฮอล์, หน้ากากอนามัย, น้ำยาฆ่าเชื้อโรค, ถุงขยะสำหรับแยกขยะติดเชื้อ, ยารักษาโรคประจำตัว

ลงทะเบียน Home Isolation ได้ 3 ช่องทาง

**ข้อมูล ณ วันที่ 20 ก.ค. 2564

ผู้ป่วยใหม่ ตรวจสอบช่องทางลงทะเบียนเพื่อเข้าสู่กระบวนการรักษา Home Isolation ได้แก่

1. ลงทะเบียน Home Isolation สปสช. (บัตรทอง)

ประชาชนทุกคนที่ถือสิทธิ์บัตรทอง (คลิกดูวิธีสมัครบัตรทองที่นี่) เข้ารับการรักษากับสายด่วน สปสช. 1330 กดต่อ 14 (หากต้องการกลับไปรักษาที่ต่างจังหวัด กด 1330 ต่อ 15) เพิ่มเพื่อนทาง LINE@ : @nhso กดเมนูลงทะเบียนระบบดูแลที่บ้าน Home Isolation สิ่งที่จะได้รับ ได้แก่

1. ประเมินอาการผ่านวิดีโอคอล วันละ 2 ครั้ง
2. อาหาร 3 มื้อ
3. ปรอทวัดไข้ และเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว
4. ยาฟ้าทะลายโจร และยารักษาพื้นฐาน
5. ได้รับการส่งตัวรักษาต่อ เมื่ออาการแย่ลง

2. ลงทะเบียน Home Isolation สปสช. (ประกันสังคม)

ผู้ที่มีสิทธิ์การรักษาประกันสังคมที่ต้องการเข้ารับการรักษา Home Isolation กด 1506 กด 6 สิ่งที่จะได้รับเช่นเดียวกันกับข้างต้น สิ่งที่จะได้รับ ได้แก่

1. ประเมินอาการผ่านวิดีโอคอล วันละ 2 ครั้ง
2. อาหาร 3 มื้อ
3. ปรอทวัดไข้ และเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว
4. ยาฟ้าทะลายโจร และยารักษาพื้นฐาน
5. ได้รับการส่งตัวรักษาต่อ เมื่ออาการแย่ลง

3. ลงทะเบียน Home Isolation FMCoCare

...

FammedCocare เป็นอีกหนึ่งช่องทางสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่ต้องการเข้าสู่กระบวนการรักษาตัวด้วยตัวเองที่บ้าน ผ่านช่องทางการลงทะเบียน Home Isolation ที่ LINE@ : @fammedcocare เป็นความร่วมมือจากแพทย์เครือข่ายเวชศาสตร์ครอบครัว ดูแลผู้ป่วยโควิดที่บ้านในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล

หากรักษา Home Isolation แล้วมีอาการแย่ลง

หากรักษา Home Isolation แล้วอาการแย่ลง ต้องติดต่อแพทย์เพื่อเข้าสู่ระบบการรักษาในโรงพยาบาล โดยมีอาการต่อไปนี้

1. ไข้สูงเกิน 38.5 องศาเซลเซียส
2. ท้องเสีย อาเจียน รับประทานอาหารไม่ได้
3. วัดค่าออกซิเจนปลายนิ้วได้ต่ำกว่า 96%
4. หายใจไม่สะดวก พูดเป็นประโยคยาวๆ ไม่ได้
5. ไอมากขึ้น แน่นหน้าอกต่อเนื่อง
6. มีอาการซึม เรียกไม่รู้สึกตัว หรือไม่ตอบสนอง

5 วิธีการกำจัดขยะติดเชื้อจากวิธีรักษาตัว Home Isolation

...

ผู้ป่วยโควิด-19 ที่อาการไม่รุนแรง แนวทางปฏิบัติ Home Isolation ขณะรักษาตัวที่บ้าน ควรแยกขยะติดเชื้อ นำขยะใส่ถุงขยะ 2 ชั้น และควรเลือกใช้ถุงขยะสีแดงสำหรับขยะติดเชื้อโดยเฉพาะ และควรปฏิบัติดังนี้

1. รวบรวมขยะติดเชื้อในแต่ละวัน ใส่ถุงขยะ 2 ชั้น ควรจัดวางถุงขยะในถังขยะปิดฝาได้
2. ราดน้ำยาฆ่าเชื้อโรค เช่น แอลกอฮอล์ 70% หรือน้ำยาฟอกขาว 2 ฝา ในถุงขยะชั้นแรกเพื่อฆ่าเชื้อโรค
3. รีบมัดปากถุงให้แน่นทันทีที่ราดน้ำยาฆ่าเชื้อโรค แล้วฉีดน้ำยาฆ่าเชื้อโรคบริเวณปากถุง
4. สวมถุงอีกชั้น รัดปากถุงให้แน่น แล้วฉีดน้ำยาฆ่าเชื้อโรคบริเวณปากถุง
5. ล้างมือให้สะอาด

หลังสิ้นสุดการรักษา Home Isolation มีวิธีปฏิบัติอย่างไร

เมื่อสิ้นสุดกระบวนการรักษาโฮมไอโซเลชั่น (Home Isolation) แล้ว ยังคงต้องระวังตัวเองอย่างเคร่งครัด ด้วยการเว้นระยะห่างทางสังคม สวมหน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำ หลังจากหายป่วยครบ 1 เดือน ควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น หลีกเลี่ยงการพบปะผู้สูงอายุ และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หากยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ควรเว้น 3-6 เดือนหลังวันที่ตรวจพบเชื้อ

...

ดาวน์โหลดคู่มือการแยกกักตัวที่บ้าน (ฉบับปรับปรุงใหม่ 6 ส.ค. 64) ได้ที่นี่

แนวทางปฏิบัติ Home Isolation กับเบิกประกันโควิด

  • Home Isolation กับการเคลมประกันชดเชยรายวันได้หรือไม่?

เนื่องจากการจ่ายเคลมประกันชดเชยรายวัน จะจ่ายให้แก่ผู้ที่เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาล จากคำสั่งที่ 43/2564 และ 44/2564 ตามประกาศ คปภ. วันที่ 1 ส.ค. 2564 กรมธรรม์จะให้ความคุ้มครองค่าชดเชยสูงสุด 14 วัน นับตั้งแต่ผู้ที่เข้ารับการรักษา Home Isolation และหลังจากนั้นหากผู้เอาประกันภัยต้องย้ายเข้าไปรับรักษาตัวที่สถานพยาบาล จึงจะได้รับความคุ้มครองค่าชดเชยรายวันตามเงื่อนไขของสัญญาประกันภัยที่มีอยู่

  • วิธีเคลมประกันเจอจ่ายจบ กับการรักษาแบบ Home Isolation

จากคำสั่ง คปภ. ที่ 43/2564 และ 44/2564 ระบุว่า “กรณีประกันภัยโควิด-19 แบบเจอจ่ายจบ ที่กรมธรรม์ประกันภัยไม่ได้กำหนดเงื่อนไขใดเพิ่มเติมนั้น ไม่เกี่ยวว่าจะรักษาตัวที่ไหน ถ้ามีหลักฐานที่กำหนดมาแสดงว่าติดเชื้อจริง บริษัทประกันภัยต้องจ่าย ทั้งนี้ บริษัทประกันภัยจะมาอ้างว่าเป็นกรณี Home Isolation หรือแบบ Community Isolation แล้วไม่จ่ายเคลมไม่ได้ จึงไม่ใช่กรณีที่เป็นปัญหาซึ่งจะต้องออกคำสั่งมาบังคับ เพราะเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยชัดเจนอยู่แล้ว”

เพราะฉะนั้นผู้ที่ถือประกันภัยของบริษัทต่างๆ ต้องนำสัญญามาดูว่าหลักฐานยืนยันการติดเชื้อตามสัญญาต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง เช่น ใบรับรองแพทย์, ใบรับรองจากสถานพยาบาล ดังนั้นหากคุณเข้ารับการรักษาแบบ Home Isolation หรือแบบ Community Isolation จากหน่วยงานใด จะต้องเก็บเอกสารยืนยันการเข้ารับการรักษา ไม่ว่าจะเป็นใบเสร็จ หรือหลักฐานการแจกยา โดยมีชื่อ-นามสกุล เอกสารระบุการรักษา ชื่อสถานพยาบาลและผู้รับรอง ที่ครบถ้วนตามที่กรมธรรม์ร้องขอ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเบิกเคลมประกัน ติดต่อที่บริษัทที่ท่านทำประกันภัยไว้.

ที่มา : www.nhso.go.th

X