"คำนำ" เป็นส่วนแรกที่เราจะได้เห็นเมื่อเปิดอ่านรายงานสักเล่ม ถือเป็นส่วนสำคัญที่ผู้เขียนไม่ควรมองข้าม เพราะคำนำจะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจภาพรวมแบบกว้างๆ เกี่ยวกับรายงานมากยิ่งขึ้น การเขียนคำนำให้น่าสนใจทำได้ไม่ยาก หากรู้จักนำเทคนิคต่อไปนี้ปรับใช้ให้เหมาะสม
รู้จัก "คำนำ" คืออะไร?
คํานํา คือ ส่วนแรกของรายงานที่อธิบายให้ผู้อ่านเห็นภาพรวมว่าจะทำรายงานเกี่ยวกับอะไร เกริ่นถึงวัตถุประสงค์ ที่มาที่ไป ขอบเขตของการทำรายงาน รวมถึงประโยชน์ที่ผู้อ่านจะได้รับ ในส่วนท้ายของคำนำมักกล่าวขอบคุณอาจารย์ผู้สอนและผู้ที่มีความเกี่ยวข้อง การเขียนบทคำนำที่ดีจะช่วยให้ผู้อ่านมีความสนใจและติดตามอ่านรายงานของเรามากขึ้น
8 วิธีเขียนคํานํารายงานแบบง่ายๆ เขียนอย่างไรให้น่าอ่าน?
การเขียนคํานํารายงานมีหลายวิธีด้วยกัน ขึ้นอยู่กับเนื้อหาของรายงานที่เราทำ การนำเทคนิคการเขียนและการเล่าเรื่องมาปรับใช้ จะช่วยให้เริ่มต้นเขียนคำนำได้ง่ายขึ้น
1. การเขียนคำนำแบบอธิบายชื่อเรื่อง
2. การเขียนคำนำแบบเล่าเรื่อง
3. การเขียนคำนำแบบอธิบายความหมายของเรื่อง
4. การเขียนคำนำแบบบอกจุดประสงค์ของเรื่องที่เขียน
5. การเขียนคำนำแบบบอกใจความสำคัญของเรื่องที่เขียน
6. การเขียนคำนำแบบใช้คำพังเพย หรือสุภาษิตที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่อง
7. การเขียนคำนำแบบตั้งคำถามถึงปัญหาที่สนใจ
8. การเขียนคำนำแบบขึ้นต้นด้วยคำกล่าวของบุคคลสำคัญ
สิ่งที่ไม่ควรทำในการเขียนคำนำ
- ไม่ควรเขียนอธิบายแก่นสำคัญของเนื้อหา จนทำให้ผู้อ่านไม่สนใจเนื้อหาในเล่ม
- ไม่ควรเขียนอธิบายความเยิ่นเย้อเกินไป ยาวเกินไปจับประเด็นไม่ได้
- ไม่ควรเขียนประโยคซ้ำๆ กัน ทั้งในส่วนต้นและส่วนท้ายของคำนำ
- ไม่ควรเขียนถึงสิ่งที่ไม่ได้อยู่ในเนื้อหา หรือไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา
...
ตัวอย่างการเขียนคํานํา
ในหน้าคำนำ ควรมีตัวอักษรคำว่า "คำนำ" เขียนไว้ส่วนบนกึ่งกลางของหน้ากระดาษ เว้นระยะขอบข้างบนให้เหมาะสม หลังจากนั้นในส่วนเนื้อหาให้บอกถึงเนื้อหาที่เขียน วัตถุประสงค์ในการเขียน จัดทำรายงานเล่มนี้เพื่ออะไร และปิดท้ายด้วยการกล่าวของคุณผู้ที่เกี่ยวข้อง พร้อมลงชื่อผู้จัดทำและวันที่ ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น
รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยมีจุดประสงค์ในการศึกษาและรวบรวมสำนวนไทย ที่ใช้บ่อยในชีวิตประจำวัน เพื่อให้ผู้อ่านได้รู้ความหมายที่ถูกต้อง รวมถึงสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
ผู้จัดทำได้เลือกหัวข้อสำนวนไทยในการทำรายงาน เนื่องจากเป็นเรื่องที่สนใจ และเห็นว่ามักมีผู้นำสำนวนไทยไปใช้อย่างผิดความหมายบนสื่อสังคมออนไลน์ ผู้จัดทำต้องขอขอบคุณ (ชื่อครูผู้สอนและผู้ที่เกี่ยวข้อง) ที่ให้คำปรึกษา หวังว่ารายงานฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน
อย่างไรก็ตาม แม้คำนำจะไม่ใช่เนื้อหาหลัก แต่ก็เป็นส่วนประกอบสำคัญของรายงานที่ไม่ควรมองข้าม ผู้เขียนสามารถเพิ่มเทคนิคการเขียนอื่นๆ เพื่อให้คำนำมีความน่าสนใจขึ้นได้
ที่มา : www.msu.ac.th