การลดความจำเป็นในการเก็บเกี่ยว ขนส่ง และแปรรูปพืชผลสำหรับการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ ยา และผลิตภัณฑ์อื่นๆ เป็นเป้าหมายของ รศ.แคร์ ฮาร์ทวิก เจนเซ่น นักฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยเทคนิคแห่งเดนมาร์ก ซึ่งได้พัฒนาวิธีการใหม่ในการสกัดสารที่จำเป็นที่เรียกว่าแพลนท์ เมแทบอไลต์ (plant metabolite) ซึ่งสารประกอบทางเคมีในพืชมีความสำคัญอย่างยิ่งมากมายต่อการนำมาพัฒนา เช่น ทำยาต้านมาลาเรียอย่างอาร์ตีมิซินิน
ทว่าสารเมแทบอไลต์จากพืชส่วนใหญ่จะถูกแยกออกจากเซลล์แต่ละเซลล์ ดังนั้น วิธีการสกัดสารเมแทบอไลต์จึงมีความสำคัญไม่น้อย เพราะขั้นตอนการสกัดไม่ว่าจะเป็นการบด ปั่น เหวี่ยง หรือใช้วิธีทางเคมีด้วยตัวทำละลาย ต่างส่งผลต่อความบริสุทธิ์และผลผลิตของผลิตภัณฑ์ ก่อเกิดมลพิษจำนวนมาก ทำให้ต้นทุนการเงินและการประมวลผลด้านสิ่งแวดล้อมพุ่งสูง แต่หากนำหุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ (Artificial Intelligence) ตัวเล็กให้สามารถทำงานแทน เพื่อให้ได้มาซึ่งเชื้อเพลิงชีวภาพโดยไม่ต้องโค่นหรือทำลายต้นไม้ดูจะเป็นวิธีที่ดีกว่า
ทีมพัฒนาหุ่นยนต์เอไอ เผยว่าได้ใช้เทคโนโลยีถ่ายโอนการเรียนรู้และเครือข่ายประสาทเทียมที่มีอยู่ ในการจดจำวัตถุต่างๆ ในภาพ โดยการแสดงภาพใหม่จำนวนหนึ่งกับคอมพิวเตอร์ด้วยเซลล์ที่ทำเครื่องหมายด้วยตนเอง และปรับพารามิเตอร์ของเครือข่ายเพื่อให้รับรู้เซลล์ที่อุดมด้วยสารเมแทบอไลต์ด้วยกล้องจุลทรรศน์ จากนั้น ก็ใช้หุ่นยนต์จิ๋วมาแยกสารเคมีออกจากพืชโดยอัตโนมัติ โดยส่วนอื่นๆที่เหลือของพืชไม่ได้ถูกคุกคามหรือทำลาย.
ภาพ Credit : Kaaro Hartvig Jensen http://jensen-research.com