ภาษาไทยมีคำศัพท์หลายคำ ที่แม้จะเขียนต่างกัน ออกเสียงต่างกัน แต่กลับมีความหมายเดียวกัน ขึ้นอยู่กับระดับภาษาและบริบทในการใช้ ซึ่งตามหลักไวยากรณ์จะเรียกคำเหล่านั้นว่า "คําไวพจน์" โดยสามารถแบ่งออกเป็นหลายประเภท บทความนี้จะพาไปทำความรู้จักกับคำไวพจน์ในชีวิตประจำวันให้มากขึ้น
"คำไวพจน์" มีความหมายว่าอย่างไร แบ่งได้กี่ประเภท?
คำไวพจน์ คือ คำที่มีความหมายเหมือนกัน ตรงกัน หรือคล้ายกันมาก แต่เขียนและออกเสียงต่างกัน เรียกอีกอย่างว่า "คำพ้อง" เช่น รอ และ คอย, คน และ มนุษย์, บ้าน และ เรือน เป็นต้น
ประเภทของคำไวพจน์ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท โดยต้องสังเกตบริบทการใช้คำๆ นั้นควบคู่ไปด้วย ดังนี้
1. คำพ้องรูป
หมายถึง คำที่เขียนเหมือนกัน แต่อาจจะออกเสียงต่างกัน ความหมายต่างกัน
ตัวอย่าง
คำว่า "เพลา" สามารถอ่านได้ 2 แบบ ได้แก่
- เพลา : แกนสำหรับสอดดุมเกวียน
- เพ-ลา : กาล, เวลา, คราว
2. คำพ้องเสียง
หมายถึง คำที่ออกเสียงเหมือนกัน แต่เขียนต่างกัน ความหมายต่างกัน
ตัวอย่าง
- คำว่า "อิฐ" อ่านว่า อิด หมายถึง ดินเผาสำหรับก่อสร้าง
- คำว่า "อิด" อ่านว่า อิด หมายถึง เหนื่อยใจ, อ่อนใจ
3. คำพ้องความ
หมายถึง คำที่ความหมายเหมือนกัน แต่เขียนต่างกัน ออกเสียงต่างกัน
ตัวอย่าง
คำว่า "พระอาทิตย์" มีหลายคำที่มีความหมายสื่อถึงพระอาทิตย์ เช่น
- ตะวัน
- สุริยา
...
หมวดหมู่ "คำไวพจน์" พร้อมความหมายที่น่ารู้
คำไวพจน์ ประเภทพ้องความหมาย เป็นคำที่พบได้บ่อยในชีวิตประจำวัน และคำเหล่านี้มักจะปรากฏในรูปแบบของบทกลอน วรรณกรรม รวมถึงงานเขียนประเภทต่างๆ การที่เราเข้าใจและรู้ความหมายของคำไวพจน์ จะช่วยให้มีความเข้าใจข้อความที่ผู้พูด ผู้เขียน ต้องการจะสื่อสารได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยขอยกตัวอย่าง ดังนี้
คําไวพจน์ น้ำ
- คงคา
- ชลธาร
- ชลธี
- ชลาลัย
- ชลาศัย
- ชโลทร
- ธารา
คําไวพจน์ ดอกไม้
- บุปผชาติ
- บุปผา
- ผกามาศ
- มาลี
- โกสุม
- บุหงา
- สุคันธชาติ
คําไวพจน์ ท้องฟ้า
- อัมพร
- ทิฆัมพร
- เวหาศ
- คคนางค์
- โพยม
- เวหา
- นภาลัย
คําไวพจน์ ป่า
- ดง
- พง
- พงพนา
- พงไพร
- พนัส
- พนา
- ชัฏ
คําไวพจน์ สวรรค์
- สุขาวดี
- สรวง
- เทวาลัย
- เทวโลก
- สุราลัย
- ศิวโลก
- สุคติ
คําไวพจน์ เทวดา
- เทพ
- เทว
- เทวัญ
- อมร
- นิรชรา
- ปรวาณ
- สุรารักษ์
คําไวพจน์ งาม
- พะงา
- โสภา
- โสภณ
- เสาวภาคย์
- บวร
- รุจิเรข
- ไฉไล
คําไวพจน์ ผู้หญิง
- กัลยา
- กัญญา
- กานดา
- จอมขวัญ
- ดรุณี
- ดวงสมร
- นงลักษณ์
คําไวพจน์ ถือเป็นความงดงามทางภาษาไทย สื่อถึงมรดกทางวัฒนธรรมภาษาที่สืบทอดต่อๆ กันผ่านงานวรรณกรรมประเภทต่างๆ ซึ่งล้วนได้รับอิทธิพลจากภาษาสันสกฤต-บาลี ผสมกลืนกลายจนกลายเป็นความสละสลวย ให้เลือกนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับภาษาระดับต่างๆ
...
ที่มา : Wordy Guru