ใบมอบอำนาจ และ ใบมอบฉันทะ เป็นหนังสือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นกระทำการแทนตน ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย ธุรกรรม หรือธุระส่วนตัว โดยจะต้องมีการลงลายลักษณ์อักษร และลงชื่อกำกับไว้เสมอ แม้จะมีจุดมุ่งหมายในลักษณะเดียวกัน แต่เอกสารทั้ง 2 แบบ ก็มีข้อแตกต่างที่ควรรู้ เพื่อที่จะได้จัดการธุรกรรมต่างๆ ได้อย่างถูกต้องชัดเจน
"ใบมอบอำนาจ" และ "ใบมอบฉันทะ" ต่างกันอย่างไร?
ใบมอบอำนาจ คือ หนังสือมอบอำนาจ ที่มอบหมายให้มี "อำนาจ" ในการจัดการ หรือทำแทนบุคคลใดบุคคลหนึ่ง โดยชอบตามกฎหมาย การมอบอำนาจนั้นบังคับทำเป็นหนังสือที่มีลายลักษณ์อักษร เพื่อยืนยันว่าบุคคลหนึ่งเป็นผู้ที่มีสิทธิ์ใช้อำนาจแทนตัวเองเป็นการเฉพาะเรื่องภายในขอบเขตที่กำหนด
...
ใบมอบฉันทะ คือ หนังสือมอบฉันทะ ที่มอบธุระให้ผู้อื่นไว้ด้วยความ "ไว้วางใจ" และยินยอมให้ทำธุระต่างๆ แทนตนเอง โดยจะต้องมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ใช้การมอบให้ใช้อำนาจ แต่เป็นการขอให้ดำเนินการเรื่องธุระทั่วไปให้เท่านั้น
นอกจากใบมอบอํานาจทั่วไป และใบมอบฉันทะในการทำธุระต่างๆ แล้ว ยังมีใบมอบอำนาจด้านอื่นๆ ที่จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในแต่ละเรื่อง ซึ่งอาจมีแบบฟอร์มที่เฉพาะ และแตกต่างกันออกไป ทางที่ดีควรสอบถามต้นสังกัดเพื่อความถูกต้องชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น
- ใบมอบอํานาจขนส่ง/ใบมอบอํานาจโอนรถ
ควรเข้าไปดาวน์โหลดแบบฟอร์มคำขอ ที่เว็บไซต์กรมขนส่ง www.dlt.go.th/th เพื่อดำเนินการในด้านต่างๆ ให้ถูกต้อง - ใบมอบอํานาจที่ดิน
หนังสือมอบอำนาจที่ดิน ท.ด.21 เป็นเอกสารสำคัญที่แสดงถึงการส่งมอบอำนาจที่ดินในเชิงกฎหมาย จึงควรใช้แบบฟอร์มจากกรมที่ดินโดยตรง หรือรายละเอียดเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ www.dol.go.th
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะใช้ใบมอบอำนาจ หรือใบมอบฉันทะ ก็ต้องศึกษาข้อมูลในเบื้องต้นให้ครบถ้วน เพราะล้วนมีผลทางกฎหมาย จึงควรเลือกใช้ให้ถูกต้องตามประเภท และวัตถุประสงค์
...
ที่มา : สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา