ภาษาใต้ เป็นภาษาถิ่นที่ใช้ในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย นับตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปถึงยะลา แม้ว่าแต่ละจังหวัดก็อาจมีสำเนียง และคำศัพท์ภาษาใต้ที่แตกต่างกันออกไปบ้าง แต่ก็สามารถพูดคุยสื่อสารเพื่อให้เข้าใจตรงกันได้

รวมศัพท์ภาษาใต้น่ารู้ ที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

ภาษาใต้มีจังหวะการพูดที่ค่อนข้างเร็ว การลงน้ำหนักเสียงในแต่ละคำพูดที่เปล่งออกมา รวมถึงคำศัพท์แปลกๆ ที่อาจไม่คุ้นหูคนภาคอื่นๆ ล้วนมีส่วนทำให้ "ภาษาใต้" มีความเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งภาษาใต้เองก็มีการแบ่งออกเป็นสำเนียงถิ่นต่างๆ ทั้งภาคใต้ฝั่งตะวันออก ตะวันตก รวมไปถึงสำเนียงเจ๊ะเหของคนใต้ในจังหวัดนราธิวาส เป็นต้น

ในปัจจุบันภาษาใต้หลายๆ คำ มักถูกนำมาใช้เป็นการสื่อความหมายต่างๆ ผ่านสื่อบันเทิง และโซเชียลมีเดีย รวมถึงมีคนดังและอินฟลูเอนเซอร์หลายคนที่นำคำศัพท์ภาษาใต้มาเผยแพร่ผ่านโลกออนไลน์ ยิ่งเป็นการเพิ่มความน่าสนใจให้ภาษาไทยถิ่นใต้ บทความนี้ได้รวบรวมคำศัพท์ และตัวอย่างประโยคภาษาใต้มาฝากกัน ดังนี้

...

คิดถึง
ภาษาใต้พูดว่า หวังเหวิด

ฉันรักเธอ
ภาษาใต้พูดว่า เรารักสู

รักมาก
ภาษาใต้พูดว่า รักหนัดเหนียง

อร่อย
ภาษาใต้พูดว่า หรอย

กลับบ้าน
ภาษาใต้พูดว่า หลบเริน

วันพรุ่งนี้
ภาษาใต้พูดว่า ตอเช้า

สาระแน ยุ่งเรื่องของคนอื่น
ภาษาใต้พูดว่า ทำเฒ่า

ไม่รู้เรื่องรู้ราว
ภาษาใต้พูดว่า ไม่โร้หวัน

กินตะกละ
ภาษาใต้พูดว่า หาจก, กินแตกเลือด

ซุ่มซ่าม
ภาษาใต้พูดว่า หลาวๆ

คนไม่เต็มบาท
ภาษาใต้พูดว่า คนขาดหุ้น

เยอะมาก
ภาษาใต้พูดว่า ลุย, กองเอ

อิจฉา
ภาษาใต้พูดว่า หึงสา

สงสาร
ภาษาใต้พูดว่า เวด-นา

ขว้าง
ภาษาใต้พูดว่า ริว

เป็นอย่างไร
ภาษาใต้พูดว่า พันพรือ

ถูกใจมากๆ
ภาษาใต้พูดว่า ได้แรงอก

หิวมาก
ภาษาใต้พูดว่า เนือยอย่างแรก, เนือยอีตายแล้ว

ไม่เคย
ภาษาใต้พูดว่า ไม่หอน เช่น ไม่เคยไปกรุงเทพฯ = ไม่หอนไปกรุงเทพฯ

ไม่ได้เอามา, ไม่ได้นำมา
ภาษาใต้พูดว่า พา ใช้กับทุกวัตถุ สิ่งของ เช่น วันนี้ไม่พาโทรศัพท์มา

ปวดฉี่
ภาษาใต้พูดว่า เจ็บพุงเยี่ยว

มาคนเดียว
ภาษาใต้พูดว่า มาแต่สวน (ไม่ได้หมายความว่า มาจากสวน)

พวกเรา
ภาษาใต้พูดว่า โบ๋เรา, โหมเรา

พวกเธอ
ภาษาใต้พูดว่า โบ๋สู, โบ๋เติ้น

ตา, ยาย
ภาษาใต้พูดว่า พ่อเฒ่า, แม่เฒ่า

ฝรั่ง
ภาษาใต้พูดว่า ชมพู่ (ส่วนชมพู่ ก็เรียกว่าชมพู่)

มะละกอ
ภาษาใต้พูดว่า ลอกอ

สับปะรด
ภาษาใต้พูดว่า ย่านัด, ลูกมะลิ

พริก
ภาษาใต้พูดว่า ดีปลี

ตะปู
ภาษาใต้พูดว่า เหล็กโคน

มอเตอร์ไซค์
ภาษาใต้พูดว่า รถเครื่อง

จักรยาน
ภาษาใต้พูดว่า รถถีบ

คำอุทานแสดงความเหนื่อยหน่ายใจ, ไม่ได้ดังใจ
ภาษาใต้พูดว่า ฮาโรย

หมายเหตุ : นอกจากคำว่า "นิ" ที่คนใต้มักใช้ลงท้ายประโยคแล้ว ยังมีอีกคำที่มักได้ยินกันบ่อยๆ คือคำว่า "ที" เป็นคำลงท้ายประโยค เพื่อบอกย้ำว่ากริยานั้นยังไม่ได้ทำ หรือยังทำไม่เสร็จสิ้น (คล้ายๆ กับคำว่า "Not yet" ในภาษาอังกฤษ) เช่น

ถาม: กินข้าวยัง?
ตอบ : ยังไม่กินที

ถาม: ทำการบ้านเสร็จยัง?
ตอบ หม้าย (ไม่) ทำไม่เสร็จที (ยังทำไม่เสร็จ)

ความหมายคำศัพท์ภาษาใต้ เมื่อทับศัพท์เป็นภาษาอังกฤษแบบฮาๆ

My Beer
ภาษาอังกฤษ เบียร์ของฉัน
ภาษาใต้ หม้ายเบี้ย (ไม่มีตังค์)

I like...
ภาษาอังกฤษ ฉันชอบ...
ภาษาใต้ ไอไหร่? (มีอะไร?)

I like Laos
ภาษาอังกฤษ ฉันชอบประเทศลาว
ภาษาใต้ ไอไหร่หล่าว? (มีอะไรอีกล่ะ?)

I like Milo
ภาษาอังกฤษ ฉันชอบไมโล
ภาษาใต้ ไอไหร่ไม่โร้ (อะไรก็ไม่รู้)

...

I like brownie
ภาษาอังกฤษ ฉันชอบบราวนี่
ภาษาใต้ ไอไหร่บ่าวนี่ (มีอะไรไอ้หนุ่มคนนี้, อะไรของมันอีกไอ้หนุ่มนี่)

Nightmare
ภาษาอังกฤษ ฝันร้าย
ภาษาใต้ ไหนแม่ (แม่อยู่ไหน)

Yeah Thanks
ภาษาอังกฤษ ใช่ ขอบคุณ
ภาษาใต้ อย่าแท่ง (อย่ากระทบ, อย่าไปโดน)

Can die
ภาษาอังกฤษ ตายได้
ภาษาใต้แปลว่า แค่นด้าย (พอใช้ได้)

นอกเหนือจากหน้าที่ในการใช้สื่อสารแล้ว ภาษาใต้ยังสามารถสะท้อนถึงวัฒนธรรม และอัตลักษณ์ในท้องถิ่นได้อีกด้วย อีกทั้งคำศัพท์ต่างๆ ยังถูกนำมาใช้ผสมผสานกลืนกลายในบริบทต่างๆ จนกลายเป็นอีกสีสันหนึ่งที่แสดงถึงความร่ำรวยทางภาษาของไทย.