เรื่องของหัวใจยังไงก็สำคัญ ต้องดูแลทุกวันให้แข็งแรง...
ปฏิเสธไม่ได้ใช่ไหมว่าการเป็นโรคหัวใจ ส่งผลโดยตรงกับการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น เดินเดี๋ยวเดียวก็เหนื่อยง่าย อึดอัดตรงหน้าอก หายใจลำบาก บางทีอาจมีอาการหอบจนต้องตื่นขึ้นมากลางดึก เป็นลมหมดสติไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งโรคเหล่านี้ปิดกั้นโอกาสที่คุณจะได้ทำตามความฝันไปตั้งหลายอย่างจริงไหม? เช่น อยากจะออกไปเที่ยวกับครอบครัวก็ต้องคอยกังวลว่าจะเดินทางได้ไหม ระหว่างเดินทางจะเกิดเหตุไม่คาดฝันหรือเปล่า งานอดิเรกที่ชอบทำก็อาจจะไม่ได้ทำ การขับรถไปไหนมาไหนก็คงต้องงด หรือแม้แต่อยากออกไปสังสรรค์กับเพื่อนๆ วัยเดียวกัน ก็อาจจะทำไม่ได้
แม้ว่าเรื่องโรคภัยเราอาจหลีกเลี่ยงได้ยาก แต่เราสามารถอยู่กับโรคเหล่านี้ได้อย่างมีความสุข รพ.รามคําแหง เล็งเห็นถึงความสำคัญของการใช้ชีวิตได้อย่างใจฝัน จึงจัดตั้งแผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด ครั้งแรก! ที่ร่างกายกับหัวใจ จะทำตามฝันไปพร้อมกัน
แผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอดคืออะไร?
แผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด (Cardiac Rehabilitation) คือ แผนกเฉพาะทางเรื่องการฟื้นฟูและดูแลสมรรถภาพหัวใจและปอด ป้องกันไม่ให้กลับมาเกิดโรคนี้อีก แผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด อยู่ภายใต้การดูแลของ ผศ.ดร.สิทธา พงษ์พิบูลย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ปอด และเบาหวาน และยังเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา ซึ่งจบการศึกษาระดับปริญญาโท ด้านการออกกำลังกายเพื่อรักษาโรค จาก University of Pittsburgn, USA ปัจจุบันดำรงตำแหน่งคณบดี คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อีกทั้งยังเป็นผู้เชี่ยวด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด การออกกำลังกายเพื่อรักษาโรค, วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย ประจำที่โรงพยาบาลรามคำแหง แผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด อีกด้วย
นอกจากนี้ แผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด ยังมีบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางเรื่องการฟื้นฟู มาดูแลสุขภาพด้วยการออกกำลังกาย รวมถึงให้ความรู้แก่ผู้ป่วยในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและปอด โดยการฟื้นฟูจะมุ่งเน้นการออกกำลังกาย ด้วยอุปกรณ์การออกกำลังกายที่ทันสมัย เหมาะสมกับผู้ป่วย ควบคู่ไปกับการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย และเครื่องมือทางการแพทย์ที่ช่วยเฝ้าระวังความผิดปกติ ระหว่างออกกำลังกาย ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากที่จะช่วยให้ผู้ป่วยโรคหัวใจ และผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวคลายความวิตกกังวล และมีความมั่นใจว่าจะสามารถใช้ชีวิตประจำวัน ออกกำลังกายได้อย่างปกติ ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพื่อให้คุณได้กลับไปทำฝันที่หัวใจต้องการได้
ใครบ้างที่ควรเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด?
⦁ ผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด หรือเคยทำการสวนหัวใจ เช่น การขยายหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยบอลลูนและการดามขดลวด
⦁ ผู้ป่วยที่เคยได้รับการผ่าตัดหัวใจ เช่น การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (Bypass)⦁ ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
⦁ ผู้ป่วยที่ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้า
⦁ ผู้ป่วยที่ใส่เครื่องกระตุกหัวใจ
⦁ ผู้ที่ต้องการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด
⦁ ผู้ป่วยโรค NCDs เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน โรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ถุงลมโป่งพอง โรคไต โรคอ้วนลงพุง โรคมะเร็งต่างๆ เป็นต้น
⦁ นักกีฬาที่ต้องการวางแผนการฝึกซ้อมเพื่อการแข่งขัน
⦁ ผู้ที่สนใจดูแลรักษาสุขภาพโดยการออกกำลังกายได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย
แผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด ต่างจากฟิตเนสทั่วไปอย่างไร?
แม้ว่าการออกกำลังกายจะเป็นวิธีที่ดีในการดูแลสุขภาพ แต่ในกรณีผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs อาจมีข้อจำกัดบางประการในการออกกำลังกาย ที่ไม่สามารถออกกำลังกายได้แบบคนปกติ อย่างผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง หากมีการออกกำลังกายไม่เหมาะสมกับสมรรถภาพร่างกาย อาจเกิดอาการผิดปกติ หรือมีอาการกำเริบ เช่น ชีพจรเต้นเร็วหรือใจสั่น เจ็บหรือแน่นหน้าอก หายใจลำบาก หน้าซีด ตัวเย็น เป็นต้น ทำให้การออกกำลังกายของผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ และจำเป็นต้องได้รับคำแนะนำที่ถูกต้อง เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถออกกำลังกายสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกาย และดูแลตนเองได้อยากถูกวิธี ผลลัพธ์ที่ตามมา คือ ผู้ป่วยสามารถลดการใช้ยา ร่างกายสามารถควบคุมความดัน และเบาหวานได้ดีมากขึ้น รวมไปถึงอัตราการเสียชีวิตลดลงอีกด้วย
ซึ่งแผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด รพ.รามคําแหง สามารถตอบโจทย์เรื่องของการออกกำลังกายเพื่อรักษาโรคได้อย่างตรงจุด เพราะทุกครั้งที่เข้ารับการรักษา จะมีแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ คอยดูแลอย่างใกล้ชิดคอยตรวจสภาพร่างกาย วัดระดับความดันโลหิต และสามารถแนะนำชนิด ความหนัก เบา ในการออกกำลังกายได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
แผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด ออกแบบด้วยความใส่ใจ เพื่อดูแลหัวใจของคุณ
แผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด เป็นโปรแกรมที่ได้รับการออกแบบมาเป็นอย่างดี เพื่อช่วยให้คนที่เป็นโรคหัวใจ หรือมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ ฟื้นตัวเร็วขึ้น กลับคืนสู่สภาวะปกติและทำกิจวัตรประจำวันได้เหมือนเดิม โดยจะทำการออกแบบและวางแผนการออกกำลังกายให้ผู้ป่วยเป็นรายบุคคลโดยเฉพาะ ช่วยให้ผู้ป่วยรู้จักวิธีการออกกำลังกายอย่างถูกต้องและปลอดภัย ซึ่งการออกกำลังกายนี้เป็นองค์ประกอบสำคัญของขบวนการการฟื้นฟู ช่วยให้ผู้ป่วยที่มีภาวะโรคต่างๆ มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงขึ้น จิตใจผ่อนคลาย สามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวัน และสามารถออกกำลังกายควบคุมอาการของโรคได้ อย่างไม่มีอาการผิดปกติ ลดโอกาสการเกิดโรคซ้ำในอนาคต และลดภาวะแทรกซ้อนของโรคต่างๆ ภายใต้ความดูแลจากผู้เชี่ยวชาญด้านฟื้นฟูบำบัดหัวใจและปอด มาพร้อมอุปกรณ์ออกกำลังกายที่ทันสมัย และเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพแบบครบวงจร เช่น
Telemetry cardiac rehab management system อุปกรณ์ที่ใช้ติดตามการออกกำลังกายของผู้ป่วยโรคหัวใจและโรคอื่นๆ ซึ่งสามารถเก็บข้อมูล วิเคราะห์ และสรุปผลของการออกกำลังกาย เพื่อเป็นข้อมูลในการติดตามความก้าวหน้าของอาการ และประกอบการรักษาของผู้ป่วยได้
ECG telemetry transmitter อุปกรณ์สำหรับเฝ้าระวัง ตรวจสอบ และติดตามภาวะผิดปกติของหัวใจ โดยการดูคลื่นไฟฟ้าหัวใจในขณะที่มีการออกกำลังกาย เพื่อเฝ้าระวังและติดตามภาวะผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในขณะออกกำลังกาย
Leg ergometer + BP + spO2 จักรยานออกกำลังกายที่เชื่อมต่อกับระบบ cardiac rehab management system ใช้สำหรับการออกกำลังกายของผู้ป่วย โดยที่จักรยานจะถูกควบคุมความหนักและปริมาณงานที่ให้ผู้ป่วยในขณะที่ผู้ป่วยกำลังออกกำลังกาย เครื่องจะวัดและเก็บข้อมูลของความดันโลหิตและเปอร์เซ็นต์ของออกซิเจนในเลือดว่ามีความสมดุลกับการออกกำลังกายหรือไม่ จักรยานออกกำลังกายเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยสร้างเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาให้ผู้ป่วย ตลอดจนฟื้นฟูและส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีสมรรถภาพหัวใจที่แข็งแรงขึ้นด้วย ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี
Arm ergometer + BP + spO2 จักรยานแขนออกกำลังกายที่เชื่อมต่อกับระบบ cardiac rehab management system ใช้สำหรับการออกกำลังกายของผู้ป่วย โดยที่จักรยานแขนจะถูกควบคุมความหนักและปริมาณงานที่ให้ผู้ป่วยในขณะที่ผู้ป่วยกำลังออกกำลังกาย เครื่องจะวัดและเก็บข้อมูลของความดันโลหิตและเปอร์เซ็นต์ของออกซิเจนในเลือดว่ามีความสมดุลกับการออกกำลังกายหรือไม่ จักรยานแขนเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยสร้างเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขน หัวไหล่ หน้าอก หลัง และลำตัวให้แข็งแรง รวมถึงความอดทนของกล้ามเนื้อ ตลอดจนฟื้นฟูและส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีสมรรถภาพหัวใจที่แข็งแรงขึ้นด้วย ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี
Treadmill ลู่เดินและวิ่ง เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ออกกำลังกายเพื่อทำให้ผู้ป่วยมีความอดทนต่อระบบการทำงานต่างๆ ในร่างกายดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการไหลเวียนโลหิต หรือการเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ตลอดจนทำให้การทรงตัวและการเคลื่อนไหวดีขึ้น และยังช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพหัวใจให้มีความแข็งแรงขึ้นด้วย
Hoist fitness multi station gym อุปกรณ์เสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยสามารถใช้อุปกรณ์นี้บริหารกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ได้หลายส่วน โดยสามารถกำหนดท่าออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างและพัฒนากล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ได้ตามที่ต้องการ
Rowing machine อุปกรณ์ออกกำลังกายที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยต้องใช้แขนและขาในการออกกำลังกายควบคู่กันไป การเคลื่อนไหวของร่างกายจะมีทั้งการดึงของแขนและการใช้ขาเพื่อถีบตัวออก ทำให้ผู้ป่วยได้บริหารกล้ามเนื้อทั้งส่วนบนและส่วนล่างของร่างกายไปพร้อมๆ กัน
Nustep T4R recumbent อุปกรณ์ออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกต่ำ เหมาะกับผู้สูงอายุ ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน และผู้ที่มีการทรงตัวไม่ดี ผู้ที่ออกกำลังกายจะต้องใช้ทั้งแขนและขาเคลื่อนไหวในการออกกำลังกายไปพร้อมๆ กัน อุปกรณ์นี้ช่วยในการสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนและขา รวมถึงฟื้นฟูและส่งเสริมให้สมรรถภาพหัวใจแข็งแรงมากขึ้นอีกด้วย
Impetus air bike เป็นอุปกรณ์จักรยานออกกำลังกายแบบที่มีแรงกระแทกต่ำ เหมาะกับผู้สูงอายุ ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน และผู้ที่มีการทรงตัวที่ไม่ดี ผู้ที่ออกกำลังกายจะต้องใช้ทั้งแขนและขาเคลื่อนไหวในการออกกำลังกายไปพร้อมๆ กัน อุปกรณ์นี้ช่วยในการสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนและขา รวมถึงฟื้นฟูและส่งเสริมให้สมรรถภาพหัวใจแข็งแรงมากขึ้นอีกด้วย
มาดูแลหัวใจง่ายนิดเดียว
แผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด เปิดให้บริการที่ อาคาร 3 ชั้น 10 โรงพยาบาลรามคำแหง ตั้งแต่เวลา 07.00-20.00 น. ทุกวัน โทร. 027439999 ต่อ 3040 ขั้นตอนการเข้ารับบริการก็ง่ายมากๆ เพียง
1.ลงทะเบียน
2.วัดสัญญาญชีพเบื้องต้น พร้อมติดเครื่องมือ
3.แพทย์สอบถามอาการคนไข้เบื้องต้น เพื่อประเมินสมรรถภาพทางกาย และดูว่าคนไข้สามารถทำกิจกรรมใดได้บ้าง
4.เจ้าหน้าที่พาคนไข้เดินวอร์มอัพเพื่อให้ร่างกายมีความพร้อมสำหรับทำกิจกรรม
5.แพทย์พาคนไข้ไปยังเครื่องมือที่จะออกกำลังกาย โดยจะมีเจ้าหน้าที่เป็นผู้ควบคุมโปรแกรม และทีมมีแพทย์ดูแลคนไข้ตลอดเวลา นอกจากนี้ยังมีการวัดความดัน วัดออกซิเจนในเลือด วัดชีพจร ขณะออกกำลังกายเป็นระยะๆ ด้วย
เพราะเรามีหัวใจมีแค่ดวงเดียว จึงต้องดูแลให้ดีที่สุด เพื่อความฝันที่ยังไม่ได้ทำ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถ กลับคืนสู่สภาวะปกติ และทำกิจวัตรประจำวันที่เคยทำได้เหมือนเดิม เราจึงต้องดูแลหัวใจให้แข็งแรงอยู่เสมอ หรือเลือกโรงพยาบาลที่รักษาตรงจุด ดูแลตรงใจ เท่านี้ เราก็สามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้อีกยาว