ในปี 2564 ทั่วโลกเจอศึกหนักจากโรคระบาดทางเดินหายใจ โดยเฉพาะ โควิดรอบ 2 ที่มาพร้อมกับการระบาดที่เร็วและพบผู้ติดเชื้อมากกว่ารอบแรก ทำให้ประกันสังคมต้องวางแผนเตรียมพร้อมรับมือเยียวยาลูกจ้างว่างงาน และลูกจ้างทั้งหมดในระบบ ให้ผ่านวิกฤตินี้ไปได้ วันนี้ไทยรัฐออนไลน์รวบรวม 6 มาตรการเยียวยาที่ประกันสังคมช่วงโควิดเพื่อมอบให้กับลูกจ้างในระบบ มาให้คุณศึกษาได้ที่นี

6 ช่องทางเยียวยาจากประกันสังคม ช่วงโควิดรอบ 2

1. ประกันสังคมช่วยค่าเลี้ยงลูกเดือนละ 800 บาท

ค่าใช้จ่ายส่วนนี้เรียกว่า “เงินสงเคราะห์บุตร” เด็ก 1 คนจะได้รับตั้งแต่เดือนที่เกิด จนถึงอายุครบ 6 ปี ในจำนวนเดือนละ 600 บาท แต่เดือนมกราคม-เมษายน 64 จะได้รับ 800 บาท ผู้ประกันตน 1 คนต่อบุตรตามกฎหมายไม่เกิน 3 คน หากคุณมีลูกแล้วยังไม่ได้ยื่นขอรับเงิน ให้ติดต่อประกันสังคมใกล้บ้าน

ใครได้บ้าง : ลูกจ้างที่มีบุตรไม่เกิน 3 คน
มีผลบังคับใช้วันที่ : 1 ม.ค. 2564
จำนวนเงินที่ได้รับต่อปี (รอบปีปฏิทิน) : 800 x 4 = 3,200 บาท (อัปเดต 5 ม.ค. 2564)

2. ประกันสังคมช่วยค่าคลอด 15,000 บาท

ลูกจ้างที่กำลังตั้งครรภ์ เมื่อคลอดในปี 2564 นี้จะได้รับค่าคลอดจากประกันสังคม 15,000 บาท ต่อครั้ง จากแต่เดิมที่ประกันสังคมจ่าย 13,000 บาท จะเพิ่มมาอีก 2,000 บาท

ในส่วนเงินสงเคราะห์การหยุดงาน จะได้ 50% ของเงินเดือน (ฐานเงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาท) เป็นเวลา 90 วัน ไม่เกิน 2 ครั้ง จะได้เฉพาะผู้ประกันตนหญิงที่หยุดงานเท่านั้น ผู้ประกันตนชายเบิกส่วนนี้ไม่ได้

ใครได้บ้าง : ลูกจ้างเพศหญิงที่กำลังตั้งครรภ์, ลูกจ้างเพศชายที่มีภรรยาตั้งครรภ์
มีผลบังคับใช้วันที่ : 1 ม.ค. 2564
จำนวนเงินที่ได้รับต่อปี (รอบปีปฏิทิน) : 15,000 บาท ต่อครั้ง

...

3. ประกันสังคมช่วยค่าฝากครรภ์ 1,500 บาท

ลูกจ้างที่ตั้งครรภ์มีโอกาสเข้าถึงการฝากครรภ์ เพื่อให้เช็กและตรวจสอบความแข็งแรงของเด็กในครรภ์ ประกันสังคมจึงช่วยค่าฝากครรภ์เพิ่มอีก 500 บาท เป็น 1,500 บาท ตลอดอายุครรภ์ ทั้งนี้ต้องยื่นเอกสารที่สำนักงานประกันสังคม พร้อมใบรับรองแพทย์ และใบเสร็จยืนยันการฝากครรภ์แต่ละไตรมาส ดังนี้

1. อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ จ่ายตามจริงไม่เกิน 500 บาท
2. อายุครรภ์ 12 - 20 สัปดาห์ จ่ายตามจริงไม่เกิน 300 บาท
3. อายุครรภ์ 20 - 28 สัปดาห์ จ่ายตามจริงไม่เกิน 300 บาท
4. อายุครรภ์ 28 - 32 สัปดาห์ จ่ายตามจริงไม่เกิน 200 บาท
5. อายุครรภ์ 32 - 40 สัปดาห์ขึ้นไป จ่ายตามจริงไม่เกิน 200 บาท

ใครได้บ้าง : ลูกจ้างที่กำลังตั้งครรภ์
มีผลบังคับใช้วันที่ : 1 ม.ค. 2564
จำนวนเงินที่ได้รับต่อปี (รอบปีปฏิทิน) : 1,500 บาท ต่อ 5 ครั้ง

4. ลดเงินสมทบ 3 เดือน ลูกจ้างที่ยังอยู่ในระบบ

ลูกจ้างที่ยังอยู่ในระบบประกันตน ทั้งมาตรา 33 ลดเงินสมทบเหลือ 3% และมาตรา 39 ลดเงินสมทบเหลือ 278 บาท

ใครได้บ้าง : ลูกจ้างมาตรา 33 และ 39 ที่ยังอยู่ในระบบ
มีผลบังคับใช้วันที่ : 1 ม.ค. 2564
จำนวนเงินที่ได้รับต่อปี (รอบปีปฏิทิน) : ลดเงินสมทบ ม.ค.-มี.ค. 64

5. ว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย ได้เพิ่มจาก 30% เป็น 50%

ตามปกติแล้วผู้ที่จะได้รับเงินกรณีว่างงาน จากประกันสังคม จะต้องเป็นผู้ที่ส่งสมทบมาเกิน 180 วัน จึงจะเกิดสิทธิ์ และได้รับเงินชดเชยว่างงาน 30% จากฐานเงินเดือนสูงสุด 15,000 บาท ได้สูงสุด 90 วันต่อปี เท่านั้น วิธีคิด คือ 15,000 x 0.3 x 3 เดือน = 13,500 บาท

เพราะฉะนั้น ผู้ที่ลาออกโดยสมัครใจ และว่างงานจากการสิ้นสุดสัญญาจ้างตามกำหนดก็จะไม่เข้าข่ายว่างงานจากเหตุสุดวิสัย

แต่หากคุณว่างงานตั้งแต่ 19 ธ.ค. 63 เนื่องจากมีคำสั่งระบุให้กักตัวหรือคำสั่งปิดพื้นที่ ให้กรอกกรอกใบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01/7) ส่งให้นายจ้าง ยื่นไปยังประกันสังคมที่สถานประกอบการตั้งอยู่ ผ่านระบบ e-Service ของสำนักงานประกันสังคม โดยจะได้รับเงินชดเชยว่างงาน 30% จากฐานเงินเดือนสูงสุด 15,000 บาท ได้สูงสุด 90 วันต่อปี เท่านั้น วิธีคิด คือ 15,000 x 0.5 x 3 เดือน = 22,500 บาท

ใครได้บ้าง : ลูกจ้างมาตรา 33
มีผลบังคับใช้วันที่ : 19 ธ.ค. 2563 ยื่นคำร้องได้ตั้งแต่ 4 ม.ค. 64
จำนวนเงินที่ได้รับต่อปี (รอบปีปฏิทิน) : สูงสุด 22,500 บาท (ลาออกเองได้ชดเชยสูงสุด 13,500 บาท)

6. ถูกเลิกจ้างประกันสังคมจ่ายเท่าไร

ในกรณีถูกเลิกจ้าง จะได้รับเงินชดเชย ร้อยละ 50 ของฐานเงินเดือนสูงสุด 15,000 บาท แต่แตกต่างจากการว่างงาน ตรงที่ได้รับชดเชยต่อปีสูงสุด 180 วัน เพราะฉะนั้นผู้ที่ถูกเลิกจ้างจะได้รับการชดเชย ตามวิธีคิดดังนี้ 15,000 x 0.5 x 6 เดือน = 45,000 บาท

ใครได้บ้าง : ลูกจ้างมาตรา 33 ที่ถูกเลิกจ้าง
มีผลบังคับใช้วันที่ : ยังคงยึดตามหลักเกณฑ์เดิมก่อนปี 64
จำนวนเงินที่ได้รับต่อปี (รอบปีปฏิทิน) : 45,000 บาท

เอกสารที่ใช้ติดต่อประกันสังคม กรณีว่างงาน ถูกเลิกจ้าง

...

  • แบบคำร้อง สปส. 2-01/7
  • สำเนาบัตรประชาชน
  • หนังสือรับรองการว่างงาน, ออกจากงาน จากที่ทำงาน เรียกว่า สปส.6-09
  • หนังสือหรือคำสั่งของนายจ้างให้ออกจากงาน
  • สำเนาสมุดบัญชีออมทรัพย์ หน้าแรกที่มองเห็นเลขบัญชี และชื่อผู้ประกันตน ของธนาคารต่อไปนี้

- ธนาคารกรุงไทย
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
- ธนาคารไทยพาณิชย์
- ธนาคารกสิกรไทย
- ธนาคารทหารไทย
- ธนาคารธนชาต
- ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย
- ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
- ธนาคารอื่นๆ รอติดตามจากประกันสังคม

...

ทั้งนี้ หากได้งานก่อน ก็จะคิดตามวันที่ถูกนำรายชื่อเข้าระบบประกันสังคมกับที่ทำงานใหม่ โดยคุณต้องรายงานตัวผ่านเว็บไซต์กรมการจัดหางาน หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม ตรวจสอบที่ตั้งและเบอร์ติดต่อประกันสังคมใกล้บ้านได้ที่นี่

...


ที่มา : sso.go.th