เมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ คุณพ่อคุณแม่มักเตรียมตั้งชื่อลูกไว้แล้ว การตั้งชื่อมีผลทางกฎหมายตั้งแต่ 15 วันแรกที่คลอด โดยผู้ปกครองต้องแจ้งเกิดให้กับเด็ก และย้ายเข้าทะเบียนบ้าน ดังนั้นชื่อเด็กจึงมีความสำคัญกับการรับสิทธิทางกฎหมายในอนาคต

หลักการตั้งชื่อเด็กตามกฎหมาย

การตั้งชื่อเด็กตามกฎหมายนั้น มี 3 ชื่อ ได้แก่

"ชื่อตัว" หมายความว่า ชื่อประจำบุคคล
"ชื่อรอง" หมายความว่า ชื่อประกอบถัดจากชื่อตัว
"ชื่อสกุล" หมายความว่า ชื่อประจำวงศ์สกุล


การตั้งชื่อเด็กแรกเกิดต้องไม่ขัดกับ พระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ. 2505 ได้แก่


1. ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย หรือพระนามของพระราชินี หรือราชทินนาม
2. ต้องไม่เป็นคำหยาบหรือมีความหมายหยาบคาย
3. ต้องไม่มีเจตนาในทางทุจริต

หลักการตั้งชื่อลูกตามความนิยม

การตั้งชื่อเด็กแรกเกิดต้องไม่ขัดกับกฎหมาย ส่วนจะใช้ชื่อใดนั้น ขึ้นอยู่กับหลักความเชื่อ และไอเดียอื่นๆ อาทิ

...

  • ตั้งชื่อลูกตามวันเกิด
  • ตั้งชื่อลูกจากความหมาย
  • ตั้งชื่อลูกจากชื่อมงคล
  • ตั้งชื่อลูกตามตัวอักษร
  • ตั้งชื่อลูกตามเพศ

การตั้ง “ชื่อตัว” ส่วนหนึ่งตั้งให้คล้องกับชื่อพ่อแม่ และมีความหมายที่ดี รวมถึงเป็นชื่อที่เกี่ยวกับอาชีพและอุปกรณ์ประกอบอาชีพ ส่วน “ชื่อรอง” และ “ชื่อเล่น” จะมีหรือไม่มีก็ได้

ตั้งชื่อลูกตามวันเกิด

การตั้งชื่อลูกตามวันเกิด มักนำตัวอักษรมาคำนวณเป็นตัวเลข เพื่อคำนวณหาค่าตามหลักทักษาปกรณ์ เพื่อส่งเสริมเรื่อง บริวาร, อายุ, เดช, ศรี, มูละ, อุตสาหะ, มนตรี และไม่นิยมนำอักษรกาลกิณีมาตั้งชื่อ โดยเชื่อว่าชื่อผู้ที่เกิดในวันจันทร์ ถึงอาทิตย์ สามารถปรับให้ส่งเสริมกับเรื่องต่างๆ ตามหลักทักษาปกรณ์ได้ดังนี้

  • ตั้งชื่อเด็กเกิดวันจันทร์ ไม่ควรมีอักษรกาลกิณี ได้แก่ ศ ษ ส ห ฬ ฮ
  • ตั้งชื่อเด็กเกิดวันอังคาร ไม่ควรมีอักษรกาลกิณี ได้แก่ อ และสระทั้งหมด
  • ตั้งชื่อเด็กเกิดวันพุธ (กลางวัน) ไม่ควรมีอักษรกาลกิณี ได้แก่ ก ข ค ฆ ง
  • ตั้งชื่อเด็กเกิดวันพุธ (กลางคืน) ไม่ควรมีอักษรกาลกิณี ได้แก่ จ ฉ ช ซ ฌ ญ
  • ตั้งชื่อเด็กเกิดวันพฤหัสบดี ไม่ควรมีอักษรกาลกิณี ได้แก่ บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม
  • ตั้งชื่อเด็กเกิดวันศุกร์ ไม่ควรมีอักษรกาลกิณี ได้แก่ ด ต ถ ท ธ น
  • ตั้งชื่อเด็กเกิดวันเสาร์ ไม่ควรมีอักษรกาลกิณี ได้แก่ ย ร ล ว
  • ตั้งชื่อเด็กเกิดวันอาทิตย์ ไม่ควรมีอักษรกาลกิณี ได้แก่ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ

โดยผู้ที่ตั้งชื่อลูกก่อนคลอด มักนิยมตั้งเผื่อไว้ 7 วัน เพื่อเวลาคลอดแล้วแจ้งกับทางโรงพยาบาลได้ทันที ทางโรงพยาบาลบางแห่งมีบริการแจ้งเกิดให้

ตั้งชื่อลูกพร้อมความหมายตามวันเกิด

ผู้ที่ตั้งชื่อลูกจากความหมาย ก็จะเลือกจากความหมายที่ชอบ และนำไปผูกกับหลักทักษาปกรณ์ได้เช่นกัน เพื่อเลือกความหมายที่ส่งเสริมเรื่องต่างๆ ได้แก่

  • บริวาร ส่งเสริมให้มีความรักใคร่กันในครอบครัว เพื่อนพ้อง และสังคมที่อยู่
  • อายุ ส่งเสริมให้มีอายุยืน สุขภาพแข็งแรง
  • เดช ส่งเสริมให้มีชื่อเสียงบารมี มีอำนาจ เป็นเจ้าคนนายคน
  • ศรี ส่งเสริมความร่ำรวย เป็นมงคล
  • มูละ ส่งเสริมเรื่องทรัพย์สิน ทำมาค้าขึ้น
  • อุตสาหะ ส่งเสริมให้เป็นผู้มีความพยายาม
  • มนตรี ส่งเสริมให้ได้รับการช่วยเหลือจากผู้ใหญ่

ตั้งชื่อลูกจากชื่อมงคล

เมื่อเริ่มต้นตั้งชื่อจากความหมายที่เป็นมงคล เช่น ตั้งชื่อเสริมโชคลาภ ตั้งชื่อเสริมวาสนา ก็ใช้วิธีให้ผู้รู้ด้านภาษาช่วยเลือกชื่อที่เป็นมงคล โดยสมัยก่อนจะเป็นพระที่รู้ศัพท์เพราะๆ มาก แต่ปัจจุบันนี้มีเทคโนโลยีที่ง่าย ไม่ต้องเดินทางไปวัด ก็เปิดพจนานุกรมออนไลน์หาความหมายที่ชอบได้เลย

ข้อจำกัดในการตั้งชื่อลูก

ในการตั้งชื่อเด็กแรกเกิดนั้น มีผลที่ต้องนำมาใช้ในอนาคต จึงมักนิยมตั้งกันให้มีความหมายที่ดี เป็นคำสุภาพ จำง่าย ด้วยข้อจำกัดดังนี้

1. ชื่อเด็กต้องกรอกในเอกสารโรงพยาบาล เพื่อรอฟังเรียกชื่อรับยา และจ่ายเงิน จึงนิยมตั้งให้อ่านง่าย
2. ชื่อเด็กต้องใช้ลงทะเบียนกับโรงเรียน เพื่อให้คุณครูเรียกชื่อได้ง่าย และปักชื่อได้พอดี รวมถึงเอกสารต่างๆ ที่เด็กต้องกรอก จะได้ไม่เสียเวลาทำข้อสอบ
3. ชื่อเป็นสิ่งที่ต้องปรากฏในพาสปอร์ต และกรอกเอกสารราชการต่างๆ
4. ชื่อใช้รับสิทธิทางกฎหมาย ทั้งการเลือกตั้ง และการติดต่อกับราชการ จึงต้องตรวจสอบได้ง่าย
5. ใช้เป็นชื่อเรียกขาน เรียกแทนตัว จึงควรสุภาพ โดดเด่น จดจำง่าย จึงจะเสริมมงคลที่แท้จริง

...

สรุปแล้ว หลักการตั้งชื่อมีหลายแบบ สามารถนำมาปรับใช้ได้หลายวิธี และเป็นกิจกรรมดีๆ สำหรับครอบครัวที่จะได้ร่วมต้อนรับสมาชิกใหม่ด้วย


อ่านเพิ่มเติม