การสวดมนต์ก่อนนอนเป็นวิธีสงบจิตใจให้เข้าสู่ห้วงนิทราราตรีได้ดีที่สุด หากคุณมีปัญหานอนไม่หลับ คิดไม่ตก การสวดมนต์จะช่วยลดความกังวลต่างๆ ได้ แต่โดยเนื้อแท้ของพระธรรมจะต้องพิจารณาพาจิตใจให้เข้าถึงความหมายของบทสวดมนต์ด้วย วันนี้ไทยรัฐออนไลน์ รวบรวมบทสวดมนต์ก่อนนอนยอดนิยมมาฝากกัน

มาเตรียมพร้อมพนมมือและกล่าวไปพร้อมๆ กัน

บทสวดมนต์ก่อนนอนสั้นๆ แบบที่ 1
บูชาพระรัตนตรัย + แผ่เมตตา

ตั้งนะโม 3 จบ เพื่อสักการะพระพุทธเจ้า

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (กล่าว 3 ครั้ง)

กล่าวบทสักการะพระรัตนตรัย

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)

สุปฏิบันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ (กราบ)


บทแผ่เมตตา (ให้ตนเอง)

อะหัง สุขิโต โหมิ
นิททุกโข โหมิ
อะเวโร โหมิ
อัพยาปัชโฌ โหมิ
อะนีโฆ โหมิ
สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ

(ความหมาย : ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข ปราศจากทุกข์ ปราศจากเวร ปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง ปราศจากความทุกข์ทางกายทางใจ มีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด)

บทแผ่เมตตา (ให้ผู้อื่นและสัตว์โลก)


สัพเพ สัตตา
อเวรา โหนตุ จงเป็นสุขๆ เถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
อัพยาปัชฌา โหนตุ
อะนีฆา โหนตุ
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ

...

บทเสกหมอนเพื่อรู้ตัวก่อนมีภัย

"ฆะเฏสิ ฆะเฏสิ กิงการะณา ฆะเฏสิ อะหังปิ ตัง ชานามิ ชานามิ"

บทสวดนี้เหมาะสำหรับคนที่หลับลึก และเดินทางค้างแรมแปลกที่นอน หลังสวดจบให้ตบหมอน 3 ครั้ง เชื่อว่าจะรู้สึกตัวตื่นก่อนมีภัย เช่น ขโมยขึ้นบ้าน

บทสวดมนต์ก่อนนอนชินบัญชร (หลวงปู่โต พรหมรังสี)

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (กล่าว 3 ครั้ง)


ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง
อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา
อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ


ชะยาสะนากะตา พุทธา เชตวา มารัง สะวาหะนัง
จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภา.


ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเกเต มุนิสสะรา.


สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน
สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร.


หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะทักขิเณ
โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะ วามะเก.


ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะ ราหุโล
กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก.


เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร
นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว

กุมาระกัสสโป เถโร มะเหสี จิตตะ วาทะโก
โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิคุณากะโร.


ปุณโณ อังคุลิมาโร จะ อุปาลี นันทะ สีวะลี
เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเต ติละกา มะมะ.


เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา
เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา
ชะลันตา สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา.


ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะ สุตตะกัง
ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง


ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะ สุตตะกัง
อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา


ชินา นานาวะระสังยุตตา สัตตัปปาการะ ลังกะตา
วาตะปิตตาทะสัญชาตา พาหิรัช ฌัตตุปัททะวา.


อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะ เตชะสา
วะสะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร.


ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะฮี ตะเล
สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา.


อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข
ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว
ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ
สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย
สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะ ปัญชะเรติ.


บทสวดมนต์ก่อนนอนพาหุงมหากา

ตามความเชื่อการสวดบทพาหุงนี้มาจากคำสอนของหลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน ที่กล่าวถึงการสะเดาะห์เคราะห์ของคนที่ไปดูหมอดู บทสวดนี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้ผู้สวดตั้งสติได้ ในแต่ละบทมีความหมายซ่อนไว้เพื่อให้ชนะทิฏฐิมานะ ไปจนถึงชนะศัตรูหมู่มาก ชนะเล่ห์เหลี่ยมกุศโลบายต่างๆ และชนะการกลั่นแกล้งจากผู้อื่น

...

โดยเริ่มต้นตั้งนะโม 3 จบ สวดระลึกถึงพระพุทธเจ้าและพระรัตนตรัย และพุทธชัยมงคลคาถา แล้วจึงสวดบทพาหุง ดังนี้


พาหุงสะหัส สะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง
ครีเมขะลัง อุทิตะโฆ ระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

มาราติเร กะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง
โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง
ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง
ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

กัตตะวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา
จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะยะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกาวาทะเกตุง
วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง
ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง
พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฉฐะคาถา โย
วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ
โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ

...


บทมหาการุณิโก

มหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง ปูเรตวา
ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
โหตุ เต ชะยะมังคะลังฯ
ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง
นันทิวัฑฒะโน เอวัง ตะวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล
อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร อะภิเสเก สัพพะ
พุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติฯ สุนักขัตตัง สุมังคะลัง
สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะ
จารีสุ ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง
มโนกัมมัง ปะณิธี เต ปะทักขิณา ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัดเถ ปะทักขิเณฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะพุทธา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต*
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะธัมมา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต*
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะสังฆา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต*

* ถ้าสวดให้คนอื่นใช้คำว่า เต สวดให้ตัวเองใช้คำว่า เม (เต แปลว่าท่าน - เม แปลว่าข้าพเจ้า)

กราบ 3 ครั้ง เสร็จแล้วสวดเฉพาะพุทธคุณ ดังนี้


อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชา จาระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อะนุตตะโร ปุริสะทัม มะสาระถิ สัตถาเทวะ มะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ
ให้สวดพุทธคุณเกินอายุ 1 จบ เช่น อายุ 50 ปี ให้สวด 51 จบ
เมื่อสวดพุทธคุณครบตามจำนวนจบที่ต้องการแล้ว จึงตั้งจิตแผ่เมตตาและอุทิศส่วนกุศล

ในกรณีที่จำบทสวดไม่ได้ หรือไม่สันทัดภาษาบาลี แนะนำให้ตั้งนะโม 3 จบ และสวดบทบูชาพระรัตนตรัย (อะระหัง..) แล้วตามด้วยการตั้งจิตอธิษฐานแผ่เมตตาให้ตนเองและสัตว์โลก กล่าวคำขอพรให้ปราศจากทุกข์ภัย เป็นภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวันก็ได้ ไม่ผิดหลักธรรมใดๆ และช่วยให้จิตใจสงบเช่นกัน

...

อ่านเพิ่มเติม