ซื้อของออนไลน์โดนหลอกอีกแล้ว เห็นภาพในโฆษณาโพสต์ขายพอได้มาแล้วไม่ตรงปก หรือได้มาไม่ครบ คืนเงินไม่เต็มจำนวน แบบนี้เราในฐานะลูกค้าจะขอคืนเงินได้หรือเปล่า.. ทราบหรือไม่ว่าเคสแบบนี้เราฟ้องได้เองไม่ต้องใช้ทนาย มาอ่านกลโกงของพวกมิจฉาชีพ และวิธีการฟ้องร้องให้ได้เงินคืนไปพร้อมๆ กัน
ซื้อของออนไลน์ไม่ให้โดนหลอก ต้องระวังอะไรบ้าง
ศูนย์รับร้องเรียนปัญหาออนไลน์ 1212 OCC ได้สรุปกลวิธีที่มิจฉาชีพมักใช้บ่อย ได้แก่
- ซื้อรอบแรกส่งตรงเวลา ตอบไว หลังจากนั้นปิดเพจเชิดเงินหนี
- ซื้อของทางเน็ตแล้วไม่ได้ของ เพราะมิจฉาชีพใช้วิธีเมื่อใกล้ถึงกำหนดส่งบอกว่าของมีตำหนิ ยืดเวลาส่งไปอีก หรือให้
- สั่งอย่างอื่นแทน สุดท้ายโอนเงินแล้วไม่ส่งของ
- โดนหลอกโอนเงินโดยมิจฉาชีพมักโพสต์ระบุค่าเก็บเงินปลายทางให้แพง ให้ลูกค้ารู้สึกอยากโอนตรงเร็วๆ
- ให้ระวังข้อความดึงดูดใจให้รีบโอน เช่น เหลือ 2 ชิ้นเท่านั้น, ให้คนที่โอนก่อน, โอนวันนี้พรุ่งนี้ถึงมือ
- อย่าเห็นแก่ภาพสวย ราคาถูก เพราะบางร้านเอารูปร้านอื่นมาลง
...
วิธีป้องกันตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพซื้อของทางเน็ตแล้วไม่ได้ของ
1. Search Google
เลือกใช้คีย์เวิร์ดค้นหา โดยใช้ “ชื่อร้าน, ชื่อแม่ค้า, เบอร์โทร, เลขบัญชี” ตามด้วยคำว่า “โกง” เช่นใส่คำว่า "บริษัท XXX โกง" ถ้าร้านไม่มีประวัติ ก็เลื่อนดูโพสต์ในร้านต่อไปได้
2. นำเว็บไซต์ร้าน หรือชื่อเฟซบุ๊ก ไปตรวจสอบ e-Marketplace
เมื่อต้องการซื้อของผ่านทางเฟซบุ๊กที่เป็นการโอนเงินเข้าบัญชีร้านโดยตรง ก็อาจเปลี่ยนวิธีชำระเงินไปซื้อบน e-Marketplace อาทิ Lazada, Shopee, JD Central, lnwshop และเจ้าอื่นๆ ที่มีระบบดูแลลูกค้าหลังการขาย สามารถส่งเรื่องร้องเรียน ขอคืนเงินได้เบื้องต้น
3. ดูความน่าเชื่อถือของร้านค้าจากภาพและข้อความ
ภาพที่ดูสวย ดูดี ราคาถูกเกินไปอาจเข้าข่ายหลอกลวง ต้องดูข้ออื่นๆ ประกอบด้วย ควรขอดูรูปสินค้าจริงก่อนจะสั่งซื้อ
คดีซื้อของออนไลน์ ต้องไปที่ไหน
โทรขอคำปรึกษา 1212
หากเกิดเหตุเกี่ยวกับการซื้อของออนไลน์ แล้วยังไม่อยากดำเนินคดีความ แต่อยากได้ที่ปรึกษา โทรหา 1212 เพื่อขอคำแนะนำเบื้องต้นได้ และดำเนินการประสานยังไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่
- สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)
- สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
- กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ( DBD )
- กองป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (ปท.)
- กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.)
ไปสถานีตำรวจใกล้บ้านที่เกิดเหตุ ภายใน 3 เดือน
ขั้นตอนการฟ้องร้องขอเงินคืน เพื่อแจ้งความ โดนหลอกโอนเงิน โดยต้องแจ้งกับเจ้าหน้าที่ตำรวจว่า “ประสงค์ขอแจ้งความดำเนินคดีตามกฎหมาย” ไม่ใช่แค่ลงบันทึกประจำวัน โดยเตรียมหลักฐาน ดังนี้
- 1. บัตรประชาชนของผู้แจ้ง/ผู้เสียหาย
- 2. หน้าประกาศ/ข้อความโฆษณาขายสินค้าใน Web Board, Page, facebook, instagram, Line ที่โพสต์ขายสินค้าและทำให้หลงเชื่อ
- 3. หลักฐานการโอนเงิน เช่น สลิปโอนเงิน, statement, mobile banking
- 4. หลักฐานในการติดต่อซื้อขายสินค้า พูดคุยต่างๆ เช่น ข้อความแชต(chat) ที่สั่งซื้อสินค้า, หมายเลขโทรศัพท์, ข้อความ(sms), email address ,Line ,messenger facebook เป็นต้น
- 5. ข้อมูลผู้ขายสินค้าหรือผู้ร่วมขบวนการ เช่น ชื่อสกุล , หมายเลขบัญชีธนาคารที่โอนเงินไปให้, หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ, ที่อยู่ เป็นต้น
- 6. หลักฐาน/ข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ในการดำเนินคดี
...
ไปศาลที่มีอำนาจในเขตพื้นที่บ้านของคุณ
เพียงคุณรวบรวมหลักฐานจากการถ่ายภาพ และไปที่ศาลในเขตพื้นที่อำนาจใกล้บ้านของคุณ โดยจะมีเจ้าหน้าที่ศาลเป็นผู้เขียนคำร้องให้ตามกฎหมายคุ้มครองบริโภคที่กำหนดว่าเจ้าหน้าที่ศาลจะดำเนินการเขียนคำร้อง พร้อมกับนัดโจทก์มาไกล่เกลี่ยกับเราภายใน 30 วัน
หากเรื่องราวสามารถตกลงได้ในขั้นไกล่เกลี่ยได้ที่ศาลก็จะได้รับเงินคืนตามข้อตกลง รวมถึงค่าเสียเวลาที่สามารถเรียกร้องได้
ที่มา : 1212occ.com, กองปราบปราม