เมื่อเข้าสู่เว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชันที่ต้องใช้ข้อมูลส่วนตัวสำคัญ มักจะมีระบบการยืนยันตัวตนโดยขึ้นหน้าจอขอให้กรอก OTP ปรากฏขึ้นมา ผู้ใช้งานครั้งแรกมักสงสัยว่า OTP คืออะไร ตัวเลขหรือตัวอักษรชุดนี้ เราไม่ควรบอกบุคคลอื่น และควรลบทิ้งทันทีเมื่อใช้งานเสร็จ เพื่อป้องกันการโจรกรรมข้อมูล ทำให้เสียหายสูญเสียทั้งเงินทั้งข้อมูลไปหลายคนแล้ว มาดูกันว่ารหัส OTP คืออะไร
รหัส OTP คืออะไร
กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) ได้ให้ความหมายของ OTP ไว้ว่า เป็น ชุดรหัสผ่านใช้งานครั้งเดียว ที่ระบบสร้างขึ้นเพื่อความปลอดภัยในการทำธุรกรรมทางอินเทอร์เน็ต โดยส่งเป็น Email, SMS หรือส่งเข้าแอปพลิเคชันเพื่อใช้ตรวจสอบยืนยันการเป็นเจ้าของบัญชี
ขอรหัส OTP มาจากไหน
เมื่อคุณขอเข้าใช้งานเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันที่ต้องการยืนยันตัวตน ต้นทางจะแจ้งว่ารหัส OTP มีกี่หลัก แล้วคุณก็ต้องนำเลขที่ได้มากรอกบนหน้าเว็บหรือแอปฯ โดยรหัส OTP มาเป็นตัวเลขหรือตัวอักษร ด้วยการส่งเป็น SMS ทางกล่องข้อความ หรือส่งมาทางอีเมลที่คุณแจ้งไว้
...
รหัส OTP ดูตรงไหน
หลักการของ OTP คือส่งรหัสให้กับผู้ใช้งานทราบเพียงคนเดียวเท่านั้น เพราะฉะนั้นอายุของรหัสจะถูกกำหนดไว้สั้นๆ เพื่อป้องกันการนำรหัสมาใช้งานภายหลัง ยกตัวอย่าง รหัส OTP เราไม่ทิ้งกัน ระบบจะส่ง OTP ไปที่เลขหมายโทรศัพท์มือถือของผู้ใช้งาน และผู้ใช้ต้องกลับมากรอกบน Browser เว็บไซต์ภายใน 5 นาที
ตัวอย่าง OTP ที่ส่งมาทางโทรศัพท์มือถือ จะแจ้งเป็นตัวเลข เช่น
- OTP ของคุณคือ 814963 ใส่รหัสนี้ในการเข้าสู่ระบบ
- ใช้ OTP 4855 เพื่อเข้าสู่ Microsoft Account Security Code
- รหัสยืนยันสำหรับเข้าสู่ระบบคือ 158961 ห้ามบอกรหัสนี้แก่ผู้อื่น
การใช้งานที่มักต้องใช้ OTP ยืนยันตัวตน ได้แก่
- ขอรหัสผ่านเพื่อเข้าใช้งาน Internet Banking หรือ Mobile Banking
- ยืนยันตัวตนเพื่อเข้าใช้งานแอปพลิเคชันใดแอปพลิเคชันหนึ่ง
- ยืนยันตัวตนเพื่อชำระสินค้าด้วยบัตรเดบิตหรือบัตรเครดิต
- ยืนยันตัวตนเพื่อขอรหัสผ่านใหม่
- ยืนยันตัวตนเข้าใช้งาน E Wallet
- ยืนยันตัวตนเพื่อเข้าใช้งาน Email แบบ 2 step verification
รหัส OTP ไม่เข้า
ยกตัวอย่างการลงทะเบียนเราไม่ทิ้งกันที่ผ่านมาเจอปัญหารหัส OTP ไม่เข้า และรหัส OTP มาช้า เนื่องจากการใช้งานจำนวนมาก ทำให้การส่งสัญญาณข้อมูล OTP ต้องใช้เวลามากขึ้น กว่ารหัสจะถูกส่งไปยังเลขหมายก็เกิน 5 นาทีไปแล้ว สิ่งที่ทำใหม่ได้ก็คือ ขอรหัส OTP ใหม่ เมื่อได้มาแล้วต้องยืนยันรหัส OTP
รหัส OTP หมดอายุต้องทำอย่างไร
รหัส OTP หมดอายุแล้วก็ขอใหม่ได้ ระบบส่วนใหญ่ให้ขอใหม่ได้ไม่กำหนด
ปัญหาที่พบบ่อยทำให้เข้าสู่ OTP ไม่ได้
- จำเบอร์โทรศัพท์เลขหมายที่ให้ไว้กับระบบไม่ได้ ตัวอย่างเช่น สมัครแอปฯ ธนาคารไว้ แต่ไม่ได้อัปเดตเลขหมายปัจจุบันแก่ธนาคาร จึงส่ง OTP ไปที่เบอร์เก่า
- สัญญาณรับ OTP ล่าช้าทำให้รหัสผ่านหมดอายุต้องขอใหม่
- โทรศัพท์มือถือปิดการแจ้งเตือน SMS จึงต้องไปเปิดการแจ้งเตือนเสียก่อนจึงจะเห็นรหัสผ่าน
หากกดขอรหัสผ่าน OTP ไปหลายครั้งแล้วยังไม่ได้รับเลขสักที สามารถสอบถามไปยังผู้ให้บริการโดยตรง และเมื่อได้ OTP มาแล้วก็ไม่ควรบอกใคร เพราะเสี่ยงสูญเงินหมดบัญชีได้ในกรณีที่คนร้ายเอาไปโจรกรรมทำธุรกรรมออนไลน์
ที่มา : www.tcsd.go.th