ในช่วงเวลานี้เรามักเห็นกราฟจากคุณหมอหลายๆ ท่านออกมาพูดถึงยอดผู้ติดเชื้อไปจนถึงอัตราผู้เสียชีวิต หนึ่งในบรรดากราฟที่น่าสนใจเป็นข้อมูลอัตราการฟื้นตัว (Recovery Rate) ของผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 ที่ระบาดมาตั้งแต่ปี 2019 บางประเทศที่มียอดผู้ติดเชื้อสูงนั้น นักวิจัยสามารถเก็บสถิติต่างๆ ที่เกิดขึ้นเพื่อใช้วิเคราะห์เหตุการณ์ในอนาคตได้ ทีมวิจัยบางแห่งใช้วิธีเปรียบเทียบกับโรคซาร์สที่มีลักษณะคล้ายกัน เมื่อศึกษาผลวิจัยต่างๆ พอสรุปเป็นข้อเท็จจริงที่อ่านแล้วเบาใจได้บ้าง ยกตัวอย่างเช่น

- แม้จะมีจำนวนผู้ติดเชื้อสูงมาก แต่ก็มีผู้ป่วยที่ฟื้นตัวหายจากการติดเชื้อโควิด-19 นี้สูงมากเช่นกัน
- มีการศึกษาที่แตกต่างกันออกไปมากมาย แต่หนึ่งในนั้นค้นพบว่ายังคงพบเชื้อโควิด-19 ในผู้ป่วยที่มีอาการฟื้นตัวแล้ว
- ยังคงมีคำถามในเคสผู้ป่วยที่ติดเชื้อซ้ำอีกหลายข้อที่ยังอธิบายไม่ได้

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อโควิด-19 จะฟื้นตัวกลับมาเป็นปกติอย่างสมบูรณ์ได้ แต่ก็ต้องกักตัวเพื่อดูอาการสักระยะ ขึ้นอยู่กับวินิจฉัยของแพทย์ เพราะยังไม่มีข้อมูลระบุได้ว่าจะสามารถแพร่เชื้ออีกได้หรือเปล่า ซึ่งผู้ที่หายป่วยแล้วต้องระมัดระวังตัวเองเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม

กราฟแสดงจำนวนผู้ป่วยที่ติดเชื้อรายใหม่ กับผู้ที่หายแล้ว

ภาพจาก Worldometer
ภาพจาก Worldometer

...

ในกราฟนี้แสดงถึงจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ เปรียบเทียบกับจำนวนผู้ติดเชื้อที่หายแล้ว จากประเทศจีน (ข้อมูลจาก Worldometer)

“การพูดถึงกรณีที่ผู้ป่วยที่ฟื้นตัวหายจากโรคโควิด-19 นี้ในยุโรปและอเมริกา ซึ่งเป็นเมืองที่จำนวนผู้ติดเชื้อแตะจุดสูงสุดไปแล้วนั้น เป็นเพียงการบอกว่าคลื่นลูกแรกกำลังจะผ่านไป” Chris Gough วิสัญญีแพทย์จาก Oxford สหราชอาณาจักร เป็นผู้เผยแพร่ผ่านทวิตเตอร์ถึงประสบการณ์ที่น่ากลัวนี้ว่า “วันที่ 6 รู้สึกเหมือนดีขึ้น หรือคิดว่าเป็นอย่างนั้น แต่หลังจากนั้นก็หลับบนโซฟาต่อได้เป็นชั่วโมง จนไม่อยากออกจากบ้าน ซึ่งหวังว่าพรุ่งนี้พลังงานคงจะกลับมามากขึ้น”

(ที่มาจากผู้ใช้งานทวิตเตอร์ @GoughCJ)

นั่นก็แสดงให้เห็นว่าคนที่หายไข้แล้วอาจจะแสดงอาการบางอย่างหลงเหลืออยู่ ซึ่งเราเรียนรู้ผ่านเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศจีนที่มียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นและผู้ป่วยที่หายแล้ว ได้เป็นแนวทางหาคำตอบใน 5 คำถามนี้ได้ดังนี้

1) เราเจอตัวเลขอัตราการฟื้นตัวหายไข้หรือยัง
ถ้ายืนยันตามสถานการณ์ในวันที่ 20 มีนาคม 2563 พบว่าอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ร้อยละ 4 แต่ข่าวดีก็คือตัวเลขที่แท้จริงน่าจะต่ำกว่านี้เนื่องจากมีผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง โดย Chris Whitty หัวหน้าเจ้าหน้าที่แพทย์ของสหราชอาณาจักรได้โต้แย้งตัวเลขผู้เสียชีวิตที่ทาง WHO ยืนยันไว้ที่ร้อยละ 3.4 ว่าน่าจะอยู่ที่ร้อยละ 1 โดยพิจารณาจากระยะเวลาที่เกิดการระบาดครั้งแรกในประเทศจีน ซึ่งมีมาตรการกักกันอย่างเคร่งครัดจากจำนวนผู้ป่วยที่ฟื้นตัวหายแล้วดีกว่าจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ อันเป็นแนวทางที่ประเทศตะวันตกได้ทำตาม และคาดหวังว่าอัตราผู้หายจากการติดเชื้อจะเป็นไปลักษณะเช่นเดียวกับจีน

2) ถ้าเราหายไข้แล้วเรายังติดเชื้ออยู่หรือเปล่า
มีความเป็นไปได้สูงมากว่าผู้ที่หายแล้วจะยังคงมีเชื้ออยู่ในร่างกาย ทั้งนี้เป็นสิ่งที่ต้องศึกษากันไปอีกนาน แต่ข้อมูลวิจัยเพียงเล็กน้อยจากเยอรมนีพบว่าการติดเชื้อ COVID-19 มีทิศทางตรงกันข้ามกับโรคซาร์ส ที่เกิดขึ้นในปี 2546 พบว่าในช่วง 10 วันแรก ผู้ป่วยที่ฟื้นตัวอาการจะไม่รุนแรง และมีความเสี่ยงว่ามีเชื้อในร่างกายต่ำกว่าตอนพบเชื้อในครั้งแรก

ในขณะเดียวกันผู้เชี่ยวชาญ 4 ท่าน สังกัดโรงพยาบาลอู่ฮั่น ได้กล่าวว่า ร่องรอยของเชื้อไวรัสนี้จะอยู่ในร่างกายของผู้ที่หายแล้วไปได้อีกสองสัปดาห์ เนื่องจากผู้ป่วยไม่มีอาการไอหรือจามที่ถือเป็นลักษณะของการส่งเชื้อ

แต่ก็เพิ่งมีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ The Lancet ว่ามีผู้ป่วยชาวจีนรายหนึ่งที่ติดเชื้อในร่างกายนานถึง 37 วัน ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของโรคนี้ที่อยู่ที่ 24 วัน

3) ถ้าเคยเป็น COVID-19 แล้วเป็นอีกได้หรือเปล่า
เมื่อติดเชื้อโควิด-19 ไปแล้วหมายความว่าร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาต่อสู้ได้ชั่วขณะ หรือสร้างขึ้นมาต้านทานได้ต่อเนื่อง แต่การติดเชื้อซ้ำนี้พบในหญิงชาวญี่ปุ่นวัย 40 ปี ที่ได้รับอนุญาตให้กลับบ้านได้จากโรงพยาบาลโอซาก้าได้ และพบในเคสของผู้โดยสารเรือ Diamond Princess และอีกคนเป็นชาวเกาหลีใต้ แต่ที่น่ากังวลก็คือ พบผู้ป่วยที่กลับมาตรวจพบเชื้อโควิด-19 รอบสองถึง 14% ในมณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน

อย่างไรก็ตาม ถือว่าเร็วเกินไปที่จะสรุปได้ว่าหากติดเชื้อแล้วจะติดซ้ำอีก เพราะไม่ได้ตรวจแบบยืนยัน หรืออาจเกิดข้อผิดพลาดในการตรวจ หรืออาจเป็นเพราะไวรัสหยุดออกฤทธิ์ไปชั่วขณะ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (CDC) ก็ยังไม่สามารถสรุปอย่างชัดเจน ซึ่งต้องศึกษากันต่อไป

...

ส่วนผลกระทบด้านสุขภาพอื่นๆ ได้มีข้อสังเกตว่าผู้ป่วยโควิด-19 จะมีความจุของปอดลดลง และโรงพยาบาลในฮ่องกงตั้งข้อสังเกตพบว่า ผู้ป่วยสองในสาม มีการทำงานของปอดลดลง 20-30% และบางส่วนสามารถกลับมารักษาได้ด้วยวิธีกายภาพบำบัด

4) ภูมิคุ้มกัน COVID-19 อยู่ได้นานแค่ไหน
“ถ้าคุณติดเชื้อทั่วไป ร่างกายของคุณจะมีภูมิคุ้มกันไวรัสนั้น” Dr. Keiji Fukuda ผู้อำนวยการโรงเรียนการแพทย์มหาวิทยาฮ่องกงได้กล่าวไว้ใน The LA Times “หากต้องติดเชื้อซ้ำแปลว่าผิดปกติ ยกเว้นว่าการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของคุณจะทำงานไม่ถูกต้อง” แต่สำหรับ COVID-19 คำตอบยังคลุมเครืออยู่มาก

มีผู้พยายามตอบคำถามนี้ด้วยการวิเคราะห์เซรุ่มโรคซาร์ส (SARS-CoV2) กับโรคโควิด แต่นั่นก็ยังระบุอะไรไม่ได้มาก เพราะยังไม่มีการทดสอบกับมนุษย์

5) เราจะกลับมาทำงานได้อีกเมื่อไหร่
สิ่งสุดท้ายที่คนทั่วโลกอยากรู้ก็คือ หากเราเป็นโรคโควิด-19 แล้วเราจะกลับมาทำงานได้อีกเมื่อไหร่ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (CDC) ได้กำหนดว่าคนไข้จะออกจากโรงพยาบาลได้ก็ต่อเมื่อ 

  • ตรวจไม่พบไข้ และไม่ต้องใช้ยาลดไข้ 3 วัน
  • ไม่มีอาการของระบบทางเดินหายใจ เช่น การไอ หรือจาม เป็นระยะเวลา 7 วัน 
  • ผลตรวจยืนยันการติดเชื้อด้วยวิธี Swab Test* เป็นลบ 2 ครั้ง

ซึ่งแต่ละเคสก็ใช้เวลาไม่เท่ากัน ทั้งหมดนี้ถึงจะถือว่าหายและพร้อมกลับไปทำงานได้ตามแพทย์สั่งเท่านั้น ในทางปฏิบัติรัฐบาลและบริษัทหลายแห่งก็ยังคงให้ทำงานที่บ้าน ทั้งผู้ที่หายจากการติดเชื้อแล้วและผู้ที่มีสุขภาพดี และหากคุณเป็นผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย ก็ควรกักตัวเอง 14 วัน โดยนับจากวันที่ผู้ป่วยมีอาการวันแรกด้วย

...

หมายเหตุ *Swab Test คือการตรวจด้วยการใช้ไม้พันสำลีกวาดสารคัดหลั่งของผู้ป่วยตามคำวินิจฉัยของแพทย์

ที่มา :
ข้อมูลส่วนหนึ่งจาก weforum.org