หลังจากมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่มีการเดินหน้าทางด้านกัญชาอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านตำรับแผนไทยและของอาจารย์เดชาเอง อีกทั้งทั่วทั้งโลกก็มีความสนใจในเรื่องนี้และทำให้มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แต่ปัญหาที่ตามมาคือ ความแตกต่างในความคิดเห็น

กลายเป็นหมอยังไม่มีความรู้ทางด้านกัญชา แต่คนไข้ใช้กันเยอะแล้ว โดยเฉพาะคนไข้มะเร็ง หนักกว่าคือคนไข้ไม่กล้าบอกหมอ ถ้าไม่ถามโดยตรงจะไม่บอกเพราะกลัวโดนหมอดุ ก็กลายเป็นว่าใช้ไปโดยที่หมอเจ้าของไข้ไม่ได้รู้ เช่นในโรงพยาบาลที่ลูกชายหมอทำงานอยู่ คนไข้มะเร็งขั้นสุดท้ายนั้นได้เข้ามานอนโรงพยาบาลอีกรอบหลังจากเข้ามาติดๆ กันหลายครั้ง เพราะใช้มอร์ฟีนในขนาดที่น่าตกใจเพื่อบรรเทาอาการปวด จึงไม่สามารถถ่ายได้เพราะมอร์ฟีนไปหยุดการขยับเขยื้อนของลำไส้ อุจจาระเต็มท้องและปวดท้องมากขึ้นเรื่อยๆ

ลูกชายหมอจึงถามว่าเคยใช้กัญชาไหม ถึงได้คำตอบว่าใช้มานานแล้ว แต่ไม่เคยบอกหมอ จากนั้นสิ่งที่สำคัญการซักประวัติ เช่น ต้องถามว่าใช้เป็นกัญชาอะไร (สกัดรวม, THC CBD แบบเดี่ยวหรือรวม, หรือครึ่งต่อครึ่ง) และใช้เท่าไหร่ คนไข้รายนี้ใช้สกัดรวม เข้มข้น 3 หยด ก่อนนอนเพราะช่วยบรรเทาเจ็บและทำให้หลับได้สบายขึ้น

แต่ช่วงเช้าก็จะปวดอีกเพราะใช้แค่ก่อนนอน หมอจึงแนะนำเปลี่ยนการใช้เป็น 1 หยดเช้า 3 หยดเย็น ถ้าไม่ง่วงไม่มึนเมา ก็เพิ่มเป็น 1 เช้า 1 เที่ยง 3 เย็น แล้วก็เพิ่มไปได้เรื่อยๆ ถ้าผลข้างเคียงไม่มากเกินไป

ผลคือ โดนหยุดการใช้หลังจากจดลงไปในประวัติเพราะเป็นเรื่องห้ามการใช้เพื่อความปลอดภัยของคนไข้ และอีกไม่นานก็มีหมอท่านอื่นที่ยังไม่คุ้นกับการใช้กัญชา บอกคนไข้ว่าอย่าใช้เลยลูกหมอจึงได้แต่เงียบ

การที่สังคมเดินหน้าไปอย่างรวดเร็วแต่แพทย์ยังต่อต้าน ปัญหาอาจจะอยู่ที่กัญชาเป็นน้ำมันสกัด แล้วไม่คุ้น จึงไม่อยากใช้หรือเปล่า ถ้าเป็นเช่นนั้น เดี๋ยวก็มีเป็นแบบเม็ดออกมา หรือเพราะว่าได้รับการสั่งสอนมาตลอดว่ามันเป็นยาเสพติดแล้วไม่ดี หรือว่าขาดความรู้จึงต่อต้าน

...

หมอจึงพยายามให้ความรู้แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงคนไข้ การตอบรับของพยาบาลนั้นดีมากเพราะรู้สึกว่าเป็นยาที่ปลอดภัย แต่การตอบรับในหมู่แพทย์นั้น บ้างก็ว่าไม่สมควร บ้างก็ว่าให้ได้หรือ

ในความเห็นของหมอ ถ้าเราทำเพื่อคนไข้ เพื่อจุดประสงค์ที่จะให้คนไข้ดีขึ้น โดยที่ถึงจุดนั้นได้อย่างปลอดภัย อย่างน้อยบรรเทาอาการเจ็บในคนไข้ที่กินยาแก้ปวดอยู่แล้วไม่รู้กี่ตัว ควรเป็นหน้าที่ ของพวกเราในระบบสาธารณสุขครับ ขอให้คิดว่ามันคือยาอีกตัวหนึ่ง ก็จะทำให้สามารถ แนะนำคนไข้ให้ใช้ ได้อย่างชาญฉลาด

กล่าวคือการเข้าใจโรคว่าโรคที่รักษานั้นๆเกิดขึ้นจากอะไร (pathophysio– logy) และเข้าใจว่ากัญชาออกฤทธิ์อย่างไรคอยสอดส่องผลข้างเคียง การตีกับยาอื่นที่ใช้อยู่ก็ไม่น่าจะยากเกินความสามารถ กัญชาจริงๆแล้วได้ถูกใช้ทางการแพทย์มาเกือบ 200 ปีแล้ว ในการรักษาลมชัก แก้ปวดจากโรคไขข้อ และปวดเส้นประสาท ในการแก้ปวด กลไกการแก้ปวดของมันเกิดขึ้นได้จากการออกฤทธิ์ที่ตัวรับสัญญาณในสมอง ไขสันหลัง และในร่างกาย ควบคู่ไปด้วยกัน คอยทำงานผ่านตัวรับสัญญาณ CB ซึ่งเป็นจำพวก G-protein coupled receptor

และตัวรับสัญญาณอื่นๆ มากมาย และทั้งนี้เป็นกัญชาที่ผลิตในร่างกายของตนเองที่ได้รับการกระตุ้นเตือนจากกัญชาภายนอกที่เป็นตัวออกฤทธิ์ที่สำคัญ

ในเรื่องของโรคสมองนั้น วิธีรักษาหยุดอยู่กับที่มานานมากแล้ว มีแต่การรักษาบรรเทาอาการ มิได้ช่วยในการหยุดยั้งโรคแต่อย่างใด ยาต่างๆที่ออกมาก็แค่ทำให้สบายขึ้นก่อนจะตาย กัญชาจึงเป็นที่สนใจของหมอสมองอย่างมากหลังจากได้รับการรับรองเรื่องความปลอดภัย และประสิทธิภาพในการรักษาอาการแข็งเกร็งในโรคปลอกประสาทอักเสบ (multiple sclerosis) กับโรคลมชักรุนแรงดื้อยาทุกชนิดในเด็ก (Dravet และ Lennox-Gastaut Syndromes) แต่ก็ใช้ได้ในโรคกลุ่มอื่นและอาจจะใช้ในโรคสมองอื่นๆที่ขยายขอบเขตไปอีกด้วย

บทความนี้จะเล่าถึงกัญชากับโรคทางสมองห้าโรคที่ไม่มีวิธีรักษา กับสารกัญชาหลายต่อหลายชนิด (THC, CBD, THCA, CBDA and terpenoids) ซึ่งออกฤทธิ์กับระบบกัญชาในร่างกาย (endocannabinoid mechanism) ผ่านตัวรับสัญญาณต่างๆ เช่น THC ออกฤทธิ์กับ CB1 และ CB2 จากนั้น THCA ออกฤทธิ์กับ PPAR-gamma และ CBD กับ CBDA ออกฤทธิ์กับตัวรับสัญญาณ Serotonin (5-HT1A)

...

ส่วนในร่างกายเราเองนั้นมีระบบกัญชาอยู่แล้วไม่ได้เป็นของใหม่ ความเก่งกาจของระบบนี้คือมันสามารถสั่งการได้ทั้งส่งสัญญาณไปปลายทาง (anterograde) และส่งสัญญาณกลับไปยังต้นทาง (retrograde) เพื่อที่จะปรับเปลี่ยนสมดุลระบบกัญชาในร่างกาย (feed– back mechanism)

แต่เราก็เชื่อว่าเมื่อมีการกระทบกระเทือนในระบบไม่ว่าจะเป็นจากสารเคมี หรือจากการกระทบกระทั่งนั้น จะทำให้ระบบกัญชาใน ร่างกายและในสมองไม่สมดุลและจึงเป็นที่มาของการใช้กัญชาเพื่อไปปรับสมดุลของร่างกาย ซึ่งระบบนี้ก็ไม่ได้ใช้สารกัญชาสกัดตัวเดี่ยวๆ

แต่ใช้สารหลายต่อหลายชนิดที่พบในกัญชามาปรับเปลี่ยนควบคุมสมดุลที่น่าสนใจคือถ้าใช้แบบรวมไม่ได้สกัดแยกเป็นตัวๆจะดีมากกว่า เก่งกว่า ในโรคหลายๆ โรค โดยเฉพาะโรคทางสมอง เพราะโรคทางสมองนั้นมีความซับซ้อนมาก และแต่ละสารเมื่อใช้รวมๆกันเริ่มพบว่ามีฤทธิ์ในการเกื้อกูลกัน (synergistic effect) โดยการออกฤทธิ์ในหลายระบบพร้อมๆกัน

ขณะนี้ความรู้ยังจำกัดเพราะเป็นของใหม่ แต่ในอนาคตถ้าเรามีความรู้ในเรื่องนี้มากขึ้น ไม่แน่อาจจะมีโอกาสที่จะพลิกโฉมการวิจัย การรักษาในโรคทางสมองเลยก็ได้ และอาจจะสามารถใช้ในการป้องกันหลายต่อหลายโรคก่อนจะเกิดโดยเฉพาะโรคที่ยังไม่มีวิธีรักษาได้อีกด้วย.

...

อ่านรายงานพิเศษชุด “เจาะลึกปรากฏการณ์กัญชาฟีเวอร์”