ภาษาไทยของเรามีคำว่า ‘โอยัวะ’ หมายถึง ‘กาแฟดำร้อน’ บางทีก็เจอคำว่า ‘ยัวะ’ เฉยๆ คำนี้ในภาษาจีนแปลว่า ‘ร้อน’ ในภาษาไทยเรามาใช้หมายถึง ‘โกรธ’ ภาษาจีนมีคำว่า ‘จื้อเฮา’ ที่หมายถึง ‘เครื่องหมายการค้า’ หรือ ‘ป้าย’ คำนี้แผลงมาเป็น ‘ยี่ห้อ’ ที่หมายถึง ‘ป้าย’ หรือ ‘เครื่องหมายการค้า’ เช่นเดียวกัน
ภาษาจีนมี ‘โหลวหลัว’ ที่หมายถึง ‘ลูกกระจอกหรือลูกสมุน’ ภาษาไทยรับมาเป็น ‘ลิ่วล้อ’ ที่หมายถึง ‘ลูกสมุน’ ‘ลูกน้องของนักเลงโจรผู้ร้าย’ คำว่า ‘เหลา’ ในภาษาจีนสื่อถึง ‘คอกเลี้ยงสัตว์’ ส่วนจีนแต้จิ๋วออกเสียงว่า ‘ล้อ’ คนไทยออกเสียงว่า ‘เล้า’ ที่หมายถึง ‘คอกสัตว์หรือเล้าสัตว์’
‘ลั่ว’ ในภาษาจีนหมายถึง ‘ร่วง’ ‘หล่น’ ‘ทิ้ง’ ‘ไม่ใช้’ สำเนียงแต้จิ๋วออกเสียงว่า ‘เลาะ’ คนไทยพูดว่า โละ หมายถึง ทิ้ง ตก หล่น บางคนใช้ว่า ‘โละทิ้ง’ ภาษาจีนกลาง ‘ซื่อเจี่ยว’ แปลว่า สี่แยก สี่มุม สี่เหลี่ยม สี่แฉก สำเนียงจีนแต้จิ๋วออกเสียงว่า ‘ซี่กัก’ คนไทยนำมาใช้ว่า ‘สี่กั๊ก’ เราจึงได้ยินคำว่า ‘สี่กั๊กพระยาศรี’ นี่ก็คือ ‘สี่แยกพระยาศรี’ นั่นเอง
หมึกจีนที่เป็นแท่งหรือก้อน ภาษาจีนกลางออกเสียงว่า ‘มั่ว’ ส่วนสำเนียงกวางตุ้งออกเสียงว่า ‘หมัก’ ภาษาจีนแต้จิ๋วออกเสียงว่า ‘บั๊ก’ ดังนั้น คำว่า ‘หมึก’ ในภาษาไทยที่หมายถึง ‘น้ำสีดำเข้มหรือสีอื่นที่ใช้เขียนหรือพิมพ์หนังสือ’ จึงน่าจะมาจากภาษาจีนสำเนียงจีนกวางตุ้งครับ
...
ปู่ย่าตายายของผมที่เมืองไทยเรียกภาชนะสานทรงสูงสำหรับใส่สิ่งของว่า ‘หลัว’ คำนี้มาจากภาษาจีนว่า ‘หลัว’ เหมือนกันครับ แต่คนไทยทั่วไปเรียกภาชนะที่ว่านี้ว่า ‘เข่ง’.
นิติการุณย์ มิ่งรุจิราลัย
pasalok1998@gmail.com
อ่านข่าวเพิ่มเติม