พิธียกเสามังกร ดร.อรรชกา.

“ความเป็นจีนและไทย ที่หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกันได้ในครอบครัว ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่งดงามที่สุด”...เจ้าบ้านชาวจีนหนานจิ้ง กล่าวต้อนรับคณะสมาคมนักธุรกิจหนานจิ้งประเทศไทย และสมาพันธ์ชาวหนานจิ้งประเทศไทย ภายใต้การนำของ ฉฏา สีบุญเรือง และ ดร.อรรชกา สีบุญเรือง ที่พาลูกหลานตระกูลสีบุญเรือง 58 ชีวิต กลับไปเยือนถิ่นบ้านเกิดของบรรพบุรุษ “ตระกูลเซียว” ถึงดินแดนต้นกำเนิดในเมืองหนานจิ้ง มณฑลฝูเจี้ยน สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อย้อนรำลึกถึงจุดเริ่มต้นของการสร้างรากฐานอันเป็นปึก แผ่นของตระกูลมังกรในแดนสยามเมืองยิ้ม

เป้าหมายของการเดินทางครั้งนี้ นอกจากจะมุ่งกระชับความสัมพันธ์ระหว่างชาวไทยและจีนให้แนบแน่นยิ่งขึ้น ยังมีการพัฒนาเส้นทางการค้าการลงทุนในมิติใหม่ๆ ระหว่างกัน โดยจะมีการลงทุนเปิดฟาร์มจระเข้ ที่เมืองหนานจิ้ง และส่งผลไม้ไทยจากจันทบุรีไปจำหน่าย รวมทั้งเปิดเส้นทางการท่องเที่ยวแบบวัฒนธรรมที่ “ถู่โหลวหนานจิ้ง” หรือ “บ้านดินหนานจิ้ง” บ้านที่สร้างจากดินอายุมากกว่า 700 ปี ของชาวจีนฮะก้า หรือฮกเกี้ยน ซึ่งกลายเป็นมรดกโลกสำคัญอันเลื่องลือ

...

ผู้บริหารเมืองหนานจิ้งให้การต้อนรับ ดร.อรรชกา สีบุญเรือง อย่างอบอุ่น.
ผู้บริหารเมืองหนานจิ้งให้การต้อนรับ ดร.อรรชกา สีบุญเรือง อย่างอบอุ่น.

ชาวจีนในตระกูล “เซียว” ยังถือโอกาสจัดพิธีไหว้บรรพบุรุษแบบโบราณ และทำพิธียกเสามังกรศักดิ์สิทธิ์ เพื่อเชิดชูเกียรติ “ดร.อรรชกา” ในฐานะลูกหลานที่ประสบความสำเร็จในโพ้นทะเล โดยเสามังกรนี้ตั้งตระหง่านอยู่หน้าศาลเจ้าประจำตระกูล เคียงคู่กับเสามังกรของเหล่าบรรพบุรุษตระกูลเซียว ที่มีอายุกว่า 100 ปี นับเป็นภาพประทับใจยิ่งนักเมื่อลูกหลานชาวไทยเชื้อสายจีนของตระกูลสีบุญเรือง ได้ร่วมกันไหว้บรรพบุรุษอย่างอบอุ่นพร้อมหน้า เพื่อแสดงความกตัญญูรู้คุณต่อต้น ตระกูลเซียว

งานนี้ “ตุนท์ มหาดำรงค์กุล” ลูกชายคนโตของ “ดารารัตน์ มหาดำรงค์กุล” แห่งค่ายโทรคาเดโร กรุ๊ป ที่มาแทนคนตระกูลเซียวรุ่นใหม่ บอกเล่าถึงรากเหง้าว่า นามสกุลเดิมคุณแม่คือ “สีบุญเรือง” มีบรรพบุรุษชื่อว่า “เซียว ฮุดเส็ง สีบุญเรือง” ต้น ตระกูลของเราเป็นเจ้าของบรรณาธิการโรงพิมพ์หนังสือพิมพ์ภาษาไทย-จีนยุคแรก เมื่อปี 2450 ตรงกับปลายรัชกาลที่ 5 การได้เดินทางมากราบไหว้บรรพบุรุษในครั้งนี้ถือเป็นมงคลอย่างมากของชีวิต

ด้าน “ดร.อรรชกา” ผู้นำคณะ เผยความรู้สึกว่า ทวดของตนคือ “เซียว ฮุดติ้ง” เป็นคนตระกูลเซียว สายสีบุญเรือง ก่อนหน้านี้ได้พยายามค้นหาว่าต้นตระกูลมาจากที่ไหน จนพบว่าอยู่ที่ “หนานจิ้ง” พวกเราจึงรวมตัวญาติพี่น้องเดินทางมาที่นี่ เพื่อรำลึกถึงบุญคุณของบรรพบุรุษ ถ้าไม่มีพวกเขาก็คงไม่มีเราในวันนี้.

เสามังกรสลักชื่อของ ดร.อรรชกา.
เสามังกรสลักชื่อของ ดร.อรรชกา.

...

ตุนท์ มหาดำรงค์กุล ยืนคู่ เสามังกรของทวด.
ตุนท์ มหาดำรงค์กุล ยืนคู่ เสามังกรของทวด.