เนื่องด้วย วันที่ 6 เมษายนของทุกปี เราชาวไทยให้ความสำคัญกับวันนี้ เพราะเป็นวันรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และมหาจักรีบรมราชวงศ์ 

1. วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จปราบดาภิเษกขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และทรงสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงของประเทศไทย

2. ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ในปี พ.ศ. 2416 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 4 พระองค์ ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (ร.1) พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (ร.2) พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.3) และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.4) เพื่อประดิษฐานไว้ให้พระมหากษัตริย์องค์ต่อมา พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ

3. และประชาชนได้ถวายบังคมระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณเป็นธรรมเนียมปีละครั้ง และโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้บนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท แต่มีการย้ายสถานที่ในการประดิษฐานหลายครั้ง เช่น พระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท และพระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาท เป็นต้น ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายพระบรมรูปมาไว้ ณ ปราสาทพระเทพบิดร ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พร้อมกับพระบรมรูปของรัชกาลที่ 5 พระบรมชนกนาถ

...

4. ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2461 มีการปรับปรุงซ่อมแซมก่อสร้างและประดิษฐานพระบรมรูปทั้ง 5 รัชกาล ให้สำเร็จลุล่วง และได้มีพระบรมราชโองการประกาศตั้งพระราชพิธีถวายบังคมพระบรมรูป ในวันที่ 6 เมษายนปีนั้น และต่อมาโปรดฯ ให้เรียกวันที่ 6 เมษายนว่า “วันจักรี”


5. ในอดีต หากเป็นวันที่ 6 เมษายน ของทุกปี เนื่องในวันจักรี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ไปเป็นประธานในพิธีทางศาสนา เพื่อบำเพ็ญพระราชกุศลให้กับบูรพมหากษัตริย์ ณ พระอุโบสถวัดพระแก้ว พร้อมกับทรงสักการะพระบรมรูปของทั้ง 8 รัชกาล ซึ่งเป็นสมเด็จพระบูรพมหากษัตริย์ ณ ปราสาทพระเทพบิดร ซึ่งเป็นกิจกรรมหลักๆ ของวันนี้เลยทีเดียว 

6. และเมื่อ 236 ปีที่แล้ว ท่านทรงสถาปนา กรุงรัตนโกสินทร์ ขึ้นเป็นราชธานีและทรงทำนุบำรุงสยามประเทศ สร้างรากฐานแห่งความเจริญรุ่งเรืองนับตั้งแต่บัดนั้นจนเป็นมรดกตกทอดมาจนถึงบัดนี้

7. แถมให้อีกข้อหนึ่ง ในวันนี้ประชาชนทั่วไป 



ร่วมพิธีวางพวงมาลา
เพื่อไม่ให้พิธีการของวันจักรี เลือนหายไป การเข้าร่วมงาน วางพวงมาลา บริเวณหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ณ บริเวณเชิงสะพานพุทธ ก็เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่หลายคนน่าจะอยากมีส่วนร่วม

อย่างไรก็ตาม เพื่อรักษาธรรมเนียมนี้ไว้ เราก็ควรชักชวนกัน โดยถือเป็นกิจกรรมที่ร่วมส่งเสริมลูกหลาน ให้ได้จดจำและรู้จักในวันสำคัญและขนบธรรมเนียมในวันต่างๆ ได้