ประกาศผลักดันยาฉีดชีวโมเลกุลเข้าบัญชียาหลักแห่งชาติ บรรเทาโรคสะเก็ดเงิน ทั้งนี้ ในกรณีที่ไม่มีอาการทางระบบอื่น เช่น ข้ออักเสบ การใช้ยากัญชา ครีมก่อน ก็น่าจะนำมาใช้ ถ้าไม่ได้ผล รวมทั้งยามาตรฐาน เช่น สเตียรอยด์ และยากดภูมิ ค่อยพิจารณาใช้ยาชีวโมเลกุล

ยา “มุบมิบแมบ” ที่ออกฤทธิ์โดยขัดขวางกระบวนการของภูมิคุ้มกันวิปริต แต่แน่นอนจะมีผลกระทบเชื่อมโยงในบางวงจรของภูมิคุ้มกันปกติได้ และเนื่องจากการขัดขวางบางขั้นตอนของระบบภูมิคุ้มกันและผลกระทบ ยาชีวโมเลกุลจึงต้องไม่ใช้เป็นตัวแรก ไม่ใช่ทุกคนที่ใช้ได้ ต้องติดตามผลข้างเคียงหลายอย่าง โดยเฉพาะเรื่องการติดเชื้อ การปะทุขึ้นของเชื้อที่สงบ และอื่นๆ

โรคทางสมองและระบบประสาท กล้ามเนื้อ มีการใช้เช่นกัน ทั้งโรคสมองอักเสบแบบต่างๆ เส้นประสาทอักเสบ กล้ามเนื้ออักเสบ รวมถึงกล้ามเนื้ออ่อนแรง เช่น โรค myasthenia gravis

ทั้งนี้ โรคแต่ละโรคจะมียามุบมิบแมบที่นำมาใช้หลายตัว อาทิ Rozanolixizumab-noli (สำหรับโรค myasthenia gravis ที่เป็น anti-AChR และ anti-MuSK antibodies) Belimuma Batoclimab Eculizumab Rituximab Efgartigimod alfa (ที่ขัดขวาง neonatal receptor) และอีกมากมาย เช่น ที่ตัดการกระตุ้นการอักเสบในระบบ compliment

...

แต่ในสะเก็ดเงินครีมกัญชาทำเองหรือที่ทางแพทย์แผนปัจจุบัน แผนไทย ถ้าสามารถนำมาใช้ได้น่าจะถูกกว่ามาก และเป็นการใช้โดยไม่ต้องกังวลถึงผลแทรกซ้อน ก่อนที่จะใช้ยาอื่นๆที่เริ่มมีผลข้างเคียง

ทั้งนี้ ใช้น้ำมันกัญชาผสมครีมบำรุงผิวที่ใช้อยู่แล้วก็ได้ และสามารถทำแบบที่คนป่วยจะสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยา ลองดูก่อนที่จะใช้ยาเหล่านี้ในกรณีสะเก็ดเงิน เช่น Infliximab adalimumab secukinumab Ustekinumab

อีกประการที่ต้องเรียนให้พิจารณา เนื่องจากว่า เมื่อมียาใหม่ออกมาจะมีการใช้ข้ามขั้นตอนทันที ยกตัวอย่างเช่น ปวดหัวไมเกรน อาการมากและถี่ ที่ต้องใช้ยาป้องกันไม่ให้ปวด มียากันชักบางตัว ซึ่งมีผลข้างเคียงสูง และควรจะใช้เป็นลำดับที่สาม

ถ้าระดับที่หนึ่งและสองไม่ได้ผล กลับนำมาใช้ตั้งแต่ต้น

หรือใช้ยา “มุบมิบแมบ” ที่ออกฤทธิ์สำหรับตัดขั้นตอนการอักเสบ ที่กระตุ้นไมเกรน CGRP และยาที่ออกฤทธิ์ต่อ pituitary adenylate cyclase-activating polypeptide (PACAP) เป็นต้น โดยที่ยาฉีดดังกล่าวมีราคาสูงมาก

ในสภาวะที่กองทุนสุขภาพและสวัสดิการอยู่ปริ่มน้ำ การใช้ยาตามขั้นตอน สมเหตุสมผลโดยเฉพาะพิจารณาถึงยาที่ทำเองได้น่าจะได้ประโยชน์ทั้งคนป่วยและความมั่นคงของระบบสุขภาพ.

หมอดื้อ

คลิกอ่านคอลัมน์ "สุขภาพหรรษา" เพิ่มเติม