กลยุทธ์ที่ห้า การเปิดระบบท่อน้ำเหลืองในสมองที่เรียกว่า glymphatic system ทั้งนี้ จะเป็นท่อระบายขยะที่สำคัญ รวมทั้ง น้ำส่วนเกิน และมีบทบาทในเรื่องของสมองเสื่อมต่างๆ และมีความเกี่ยวพันอย่างลึกซึ้งกับ AQP4 ในการควบคุมผนังเส้นเลือดของสมองไม่ให้รั่ว

ระบบท่อน้ำเหลืองในสมองนี้ยังเชื่อมโยงต่อเนื่องไปกับท่อระบายที่อยู่ที่เยื่อหุ้มสมองและมีการค้นพบแล้วว่าความสำคัญของท่อระบาย ไปถึงเยื่อหุ้มสมองเหล่านี้มีส่วนในการลดขนาดของก้อนเลือด ระบายเศษซากของเม็ดเลือดแดงและเร่งให้ฟื้นตัวเร็วขึ้นในสัตว์ทดลอง

ยา cilostazol เป็นยาที่เพิ่มพูนประสิทธิ ภาพของระบบนี้และดูว่าได้ผลในสัตว์ทดลองและทำต่อในมนุษย์

สรุปว่าการรักษาภาวะโรคหนึ่งนั้น ไม่ได้ตรงไปตรงมา อย่างเช่น เส้นเลือดแตกในสมองนี้ ซึ่งไม่ใช่เพียงแต่พอใจว่าสามารถผ่าตัดเอาก้อนเลือดออกไปได้ หรือใช้กระบวนการดูดเลือดที่ไม่ทำความเสียหายให้กับเนื้อสมองมากนัก และเป็นกลยุทธ์ตรงไปตรงมา แต่เมื่อผนวกกับกลไกร้ายหลายอย่างที่แสดง ทำให้ต้องมีการรักษาร่วมอย่างอื่น ซึ่งก็อาจมีความเป็นไปได้ที่จะทำให้คนป่วยนั้นไม่เสียชีวิตและการฟื้นตัวเร็วขึ้นกว่าปกติ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ยังเป็นในอนาคตอันใกล้และยังต้องเลือกระยะเวลา และมีปัจจัยที่เหมาะสมว่า กลยุทธ์ชนิดไหนจะใช้ตอนไหนและนานเท่าใดเป็นต้น แต่ถ้าเรารู้กระบวนการร้ายเหล่านี้ คงไม่เป็นการยากเกินไปที่จะต่อสู้กับภาวะนี้

...

กลยุทธ์ทั้งหมดในสองตอนที่แล้วและรวมถึงตอนนี้ ประกอบไปด้วย

หนึ่ง การบรรเทาพิษที่เกิดขึ้นจากธาตุเหล็ก โดยการพยายามยับยั้งขบวนการที่ทำให้เซลล์ตาย ที่เรียกว่า ferroptosis ซึ่งจะส่งผลเป็นลูกโซ่ทำให้เกิดการบวมและการอักเสบ ต่อมาคือ สอง กลยุทธ์ในการเร่งการลดขนาดของก้อนเลือด โดยกระตุ้นกระบวนการที่มีอยู่ตามธรรมชาติให้เม็ดเลือดขาวชนิดต่างๆ เก็บกินเม็ดเลือดแดงและเศษซากที่กระจัดกระจายออกมา และการฝึกให้รับรู้สภาพของการขาดเลือดโดย วิธีง่ายๆคือบีบคลายแบบวัดความดันโลหิตที่แขนหรือขาข้างใดข้างหนึ่ง

สาม พยายามยับยั้งการอักเสบที่เกิดขึ้น ในเวลาอันรวดเร็วหลังจากที่เส้นเลือดแตกและยืดยาวต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ ด้วยยาทั้งหลายที่ออกฤทธิ์ในระดับต่างๆของกระบวนการอักเสบที่ออกมาจากเม็ดเลือดขาว และที่ถูกควบคุมด้วยเซลล์ในสมอง

สี่ พยายามบรรเทาเนื้อสมองบวมรอบ ก้อนเลือด ด้วยการใช้ยาเบาหวาน รวมถึงยาแก้ปวด ห้า เร่งการระบายขยะออกจากสมอง โดยอาศัยความเชื่อมโยงของระบบคล้ายน้ำเหลืองในสมองที่ต่อเนื่องกับท่อน้ำเหลืองในเยื่อหุ้มสมอง

บทความนี้รวบรวมและเรียบเรียงจากวารสาร current opinion in Neurology ปี 2024 โดยคณะทำงาน Pu–Tien Chianga, Li–Kai Tsaia และ Hsin–Hsi Tsaia จาก National Taiwan University Hospital.

หมอดื้อ

คลิกอ่านคอลัมน์ "สุขภาพหรรษา" เพิ่มเติม