กลยุทธ์ที่สามก้อนเลือดสามารถกระตุ้นกระบวนการ Nod–like receptor family pyrin domain–containing 3 (NLRP3) inflammasome ที่กระพือการอักเสบเหนี่ยว นำเม็ดเลือดขาวและทำให้สมองบวมยิ่งขึ้นในสัตว์ทดลอง
การยับยั้งกระบวนการนี้พบว่าสมองบวมและอาการดีขึ้น TPSO 18kDa trans locator protein เป็นตัวเหน่ียวนำการอักเสบเช่นเดียวกัน และการใช้ยา Etifoxine พบว่าช่วยให้อาการดีขึ้น รวมทั้งสมองบวมในสัตว์ทดลอง ในกลไกของการอักเสบนั้นยังมีการกระตุ้นระบบ complement ยาที่ใช้ยับยั้งระบบนี้ในสัตว์ทดลองพบว่าดีขึ้นและการสะสมเหล็กในช่องโพรงสมองที่เลือดแตกเข้าไปลดลง
ผนังปราการที่กั้นไม่ให้เลือดรั่วผ่านหลอดเลือดออกไปในสมองนั้น มีตัวคุมพิเศษ จากระยางของเซลล์ astrocyte ที่มีโปรตีน AQP4 ทั้งนี้ยา edavarone สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของผนังกั้นนี้ได้ แต่กระนั้นยังมีตัว IL 15 ที่เป็นตัวร้าย แต่ก็มี IL 33 ตัวดีที่ต้านทานไว้ได้และทำให้สัตว์ทดลองดีขึ้น
เช่นเดียวกับ IL27 ซึ่งผลิต lactoferrin จากเม็ดเลือดขาวสามารถลดสมองบวม ลดเซลล์สมองตาย และเร่งให้อาการดีขึ้น รวมทั้งการกระตุ้น PD-1/PD-L1 จะทำให้อาการดีขึ้นได้ด้วย
กลยุทธ์ที่สี่ ลดบวมรอบก้อนเลือด ทั้งนี้เนื่องจากการรักษาที่ใช้อยู่ปัจจุบัน เช่น การให้สารที่มีความเข้มข้นสูง (mannitol/hypertonic saline) มีข้อจำกัดและผลข้างเคียง ดังนั้นการยับยั้งสาร thrombin ในกระบวนการของการแข็งตัวของเลือดด้วยการใช้ argatroban ดูได้ผลในหนู
ยาเบาหวาน glibenclamide ซึ่งสามารถยับยั้ง Sur1–TRMP4 channels พบว่าลดบวมได้ในสัตว์ทดลอง และได้ทำการศึกษาในผู้ป่วยที่เป็นเส้นเลือดใหญ่ตัน 77 ราย ซึ่งโดยปกตินั้นจะทำให้สมองบวมอย่างรุนแรงพบว่าได้ผล แม้ว่าหลังจากนั้นการฟื้นคืนตัวการทำงานของสมองจะเท่ากัน
...
การศึกษาระยะที่สามซึ่งประกอบด้วยผู้ป่วย 585 ราย ไม่พบความเปลี่ยนแปลงในทางดีขึ้นชัดเจนหลังจากสามเดือน แต่เมื่อทำการวิเคราะห์ ปริมาตรของสมองที่เสียหายในปริมาณ 120 มิลลิลิตรหรือน้อยกว่า พบว่าผู้ป่วยดีขึ้น และเมื่อทำการศึกษาผู้ป่วยที่เป็นเส้นเลือดแตกจำนวน 200 ราย ไม่พบว่าได้ผลเมื่อทำการประเมินที่ 90 วันและยังสุ่มเสี่ยงต่อน้ำตาลในเลือดต่ำเช่นเดียวกับอีกการศึกษาที่มีผู้ป่วย 92 ราย ไม่พบว่าดีขึ้น
การใช้ยาแก้ปวดแก้อักเสบ celecoxib ได้ผลในสัตว์ทดลองและการศึกษาในมนุษย์ 44 ราย พบว่าการให้ยาดังกล่าวภายใน 24 ชั่วโมง สามารถลดการบวมรอบก้อนเลือดไปได้เมื่อประเมินที่เจ็ดวันและมีการศึกษาต่อเนื่องโดยใช้ยานี้
การใช้ยาลดไขมัน statin โดยยึดคุณสมบัติการต่อต้านอักเสบในหนูพบว่าได้ผลแต่ในมนุษย์นั้นไม่สามารถสรุปผลได้อย่างชัดเจน การวิเคราะห์ผลในผู้ป่วย 1,275 ราย พบว่ากลับมีสมองบวมมากขึ้นและคนป่วยที่ได้รับยาลดไขมันตัวนี้อยู่แล้วก็ไม่ได้มีอาการดีขึ้นกว่าคนที่ไม่ได้รับยาไขมันก่อนหน้า ขณะนี้ยังมีการศึกษาโดยใช้ยาลดไขมันอยู่ในระยะที่สาม
การใช้ยาต้านฮอร์โมน vasopressin เพื่อเพิ่มความเข้มข้นของเลือดและระดับเกลือโซเดียมพบว่าไม่ได้ผลในมนุษย์และเสี่ยงต่อผลข้างเคียง.
หมอดื้อ
คลิกอ่านคอลัมน์ "สุขภาพหรรษา" เพิ่มเติม